LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

สมศ.ชี้แจงผลประเมินในรอบ 15 ปี 5 ปัญหาจากโรงเรียนสามหมื่นกว่าแห่ง

  • 02 ธ.ค. 2558 เวลา 10:54 น.
  • 1,893
สมศ.ชี้แจงผลประเมินในรอบ 15 ปี 5 ปัญหาจากโรงเรียนสามหมื่นกว่าแห่ง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สมศ.ชี้แจงผลประเมินในรอบ 15 ปี 5 ปัญหาจากโรงเรียนสามหมื่นกว่าแห่ง

          ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)หรือสมศ.เปิดเผยว่าจากข้อมูลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามที่ผ่านมาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศกว่า33,736แห่งมีสถานศึกษาขนาดเล็กจำนวน24,805แห่งซึ่งบริบทของสถานศึกษาขนาดเล็กส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่นอกเขตเมืองหรือในพื้นที่ห่างไกลนักเรียนส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนนอกจากนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีค่านิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาในอำเภอเมืองหรือตัวจังหวัดหรือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าทำให้โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเท่าที่ควรโดยจากการประเมินคุณภาพภายนอกของสมศ.ตลอดระยะเวลา15ปีที่ผ่านมาพบ5ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสถานศึกษาขนาดเล็กดังนี้

          1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำโดยจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสมศ.พบว่านักเรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กยังมีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพโดยเสริมทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ขณะเดียวกันครูก็ต้องพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนทั้งที่เป็นสื่อเทคโนโลยีสื่อพื้นฐานและสอนให้นักเรียนเรียนรู้การใช้สื่อดังกล่าวด้วยตามลำดับความสามารถที่แตกต่างกันของผู้เรียนเอง

          2.ขาดแคลนงบประมาณเนื่องจากสถานศึกษาขนาดเล็กได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในจำนวนจำกัดจึงส่งผลต่อจำนวนบุคลากรครุภัณฑ์และสื่อการเรียนการสอนต่างๆรวมไปถึงการก่อสร้างอาคารสถานที่ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่อย่างไรก็ตามงบประมาณไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเสมอไปถ้าบุคลากรในสถานศึกษานั้นๆมีประสิทธิภาพและเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          3.จำนวนบุคลากรครูมีไม่เพียงพอจากปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียนสถานศึกษาจึงจัดการเรียนรวมระหว่างชั้นเรียนทำให้

          นักเรียนไม่ได้รับความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละชั้นเรียนหรือในบางท้องที่ที่มีสถานศึกษาขาดแคลนครูหลายแห่งอยู่ใกล้ๆกันสามารถรวมชั้นเรียนระหว่างสถานศึกษาใกล้ๆกันเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูแต่ระบบการบริหารจัดการควรจะแตกต่างไปจากการบริหารปกติดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้ครูอยากเป็นครูในโรงเรียนขนาดเล็กหรือให้ทุนการศึกษาแก่คนที่รักการเป็นครูเพื่อกลับมาเป็นครูสอนในพื้นที่

          4.ขาดระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพจากข้อมูลการประเมินสถานศึกษาของสมศ.พบว่า อัตราการเข้าถึงสื่อสารสนเทศของสถานศึกษาขนาดเล็กยังอยู่ในระดับต่ำระบบสารสนเทศของโรงเรียนขนาดเล็กเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลระบบเครือข่ายฯลฯส่วนใหญ่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่มีประสิทธิภาพมากพอทำให้การจัดเก็บข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ของสถานศึกษาทั้งงบประมาณหลักสูตรการเรียนการสอนข้อมูลบุคลากรและนักเรียนฯลฯไม่ได้

          รับการจัดเก็บที่ถูกต้องและไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและ5.สถานศึกษาขาดการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกมาใช้ปรับปรุงพัฒนา

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันพุธ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
  • 02 ธ.ค. 2558 เวลา 10:54 น.
  • 1,893

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^