LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ปัญหาหนี้ครู

  • 27 พ.ย. 2558 เวลา 09:37 น.
  • 2,746
ปัญหาหนี้ครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

หมายเหตุสีบานเย็น
ปัญหาหนี้ครู

ครูหลายคนบอกว่า เงินเดือนที่ได้รับเมื่อหักค่าใช้จ่ายสารพัดแล้วจะมีเหลือไม่เกิน 30% ขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างแพงขึ้นมาก หนี้ที่เคยมีก็ยิ่งพอกพูน

“หนี้ครู” เป็นปัญหาที่หมักหมมมานานหลายสิบปีทีเดียว โดยเมื่อปี 42 มีครูกว่า 90% ของทั้งระบบการศึกษาที่เป็นหนี้ รวมมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านบาท

ผ่านไป 16 ปี ปรากฏว่าครูทั่วประเทศกว่า 4.6-4.7 แสนราย ก็ยังคงเป็นหนี้ โดยเป็นหนี้ที่อยู่ในระบบ โดยยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบที่ว่ากันว่าเมื่อรวมกันแล้วมีมากกว่า 1 ล้านล้านบาทกันเลยทีเดียว

โดยในจำนวนนี้พบว่าเป็นหนี้กับธนาคารออมสินมากถึง 4.7 แสนล้านบาท และก็เป็นหนี้ที่มีมานาน ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาทางช่วยเหลือ หาทางแก้ไข

สาเหตุสำคัญที่ทุกฝ่ายเห็นเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามเป็นเงา ทั้งค่ากินค่าใช้จ่ายค่าเป็นอยู่ ค่าเล่าเรียนลูก ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่

ครูหลายคนบอกว่า เงินเดือนที่ได้รับเมื่อหักค่าใช้จ่ายสารพัดแล้วจะมีเหลือไม่เกิน 30% ขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างแพงขึ้นมาก หนี้ที่เคยมีก็ยิ่งพอกพูน ที่ไม่เคยมีหนี้ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้จ่ายในแต่ละวัน

แม้ว่าที่ผ่านมาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาทางช่วยเหลือ หาทางแก้ไข ทั้งการลดดอกเบี้ย การพักชำระหนี้ และอีกสารพัดวิธี

แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาเหล่านี้ยังแก้ไขได้ไม่เบ็ด เสร็จ ไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาลก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ และยิ่งมาเจอกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เฟื่องฟู ก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาซ้ำเติมให้อีก

ล่าสุด ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับภาระในเรื่องหนี้สินของครูจำนวนมาก ก็ได้พยายามหาทางที่จะลดหนี้ก้อนนี้ ด้วยการขอเจรจากับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อขอหักหนี้ครูในอัตรา 50% ให้มาชำระหนี้กับธนาคารออมสินด้วย เพื่อลดภาระการจ่ายหนี้คืนให้กับครู

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่ทุกฝ่ายจะปล่อยเลยผ่านไป หรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินเจ้าหนี้เท่านั้น เพราะหากครูถูกฟ้องร้อง ถูกดำเนินคดี ก็ต้องถูกให้ออกจากราชการ ก็จะมีปัญหามากมายตามมา

ขณะที่การขอปรับขึ้นเงินเดือนให้กับครู โดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาของเด็กมาเป็นตัวตัดสิน ก็อาจสายเกินไป เพราะเป็นหนี้ก้อนใหญ่ และจะกลายเป็นการขว้างงูไม่พ้นคอ

แต่ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับ “ครู” หรือ “ลูกหนี้” เป็นสำคัญ ที่ตั้งใจแก้ไขปํญหาหนี้ของตัวเองให้หมดไปหรือไม่?.

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 1:00 น.
 
  • 27 พ.ย. 2558 เวลา 09:37 น.
  • 2,746

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^