LASTEST NEWS

19 มี.ค. 2567“สุรินทร์” ผู้ช่วยเลขาธิการกพฐ.ป้ายแดง เผยการเลื่อนสอบบรรจุครู ว16 ว17 และ ว14 ไม่กระทบการเรียนการสอนของเด็ก ยืนยันบรรจุครูทันเปิดเทอมแน่นอน 17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ 

ส่อแววครูหนี้เน่าพุ่งกระฉูด

  • 23 ก.ย. 2558 เวลา 13:55 น.
  • 4,252
ส่อแววครูหนี้เน่าพุ่งกระฉูด

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ส่อแววครูหนี้เน่าพุ่งกระฉูด แฉหนี้ครูกู้ธนาคารออมสินส่อแนวโน้มเอ็นพีแอลพุ่งพรวดกว่า 6 หมื่นราย หลังกองทุนพิเศษ สกสค.เลิกอุ้ม หยุดผ่อนชำระแทน เหตุครูจำนวนมากเบี้ยวหนี้ เผยบางรายเบี้ยวจ่ายตั้งแต่งวดแรก ๆ ไม่กลัวเป็นหนี้เน่า เพราะรู้ว่ามีกองทุนพิเศษคอยช่วยเหลืออยู่ 

เป็นข่าวสั่นสะเทือนวงการครูไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลกำลังมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครูไทย โดยเฉพาะครูที่กู้ยืมเงินจากธนาคารออมสินในโครงการเงินกู้ช.พ.ค.หลังจากสำนักงาน  สกสค.ได้มีหนังสือไปถึงธนาคารไม่อนุญาตให้หักเงินจากกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.เพื่อชำระหนี้แทนครูตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.2558 ที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ครูที่ค้างชำระหนี้โครงการเงินกู้ช.พ.ค.กว่า 6 หมื่นรายจะกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลทันที 


นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาหนี้สินครูว่า รัฐบาลและรมว.ศึกษาธิการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.ที่หลายฝ่ายมองว่ามีส่วนทำให้ครูเป็นหนี้มากขึ้นโดยเฉพาะโครงการเงินกู้ต่าง ๆ นั้น ยอมรับว่า สกสค.มีโครงการเงินกู้หลายโครงการจริง แต่ก็ได้พยายามแก้ไขปัญหาอยู่  อย่างไรก็ตามเท่าที่รวบรวมข้อมูลโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ที่ทำร่วมกับธนาคารออมสินมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีครูร่วมโครงการถึงกว่า 4 .6 แสนราย รวมเป็นวงเงินกู้กว่า 4 แสนล้านบาท 


“ที่ผ่านมาครูที่เข้าร่วมโครงการจะมีทั้งที่มีวินัยการชำระหนี้ตามปกติ ขณะเดียวกันก็มีจำนวนหนึ่งที่ไม่ชำระ ซึ่งเท่าที่ทราบสาเหตุหนึ่งเพราะเป็นหนี้หลายทาง แต่อีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเห็นว่ามีกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ชำระแทนให้”นายพินิจศักดิ์กล่าว 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. เป็น กองทุนที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. และธนาคารออมสิน ในการจัดสวัสดิการโครงการเงินกู้ ช.พ.ค. โดยมีเงื่อนไขว่า สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. จะได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินโครงการตั้งแต่โครงการที่ 2-7  โดยโครงการที่ 2-3 ได้ค่าตอบแทนร้อยละ 0.50  โครงการที่ 4 ได้ร้อยละ 0.75 โครงการที่ 5 ได้ ร้อยละ 1 โครงการที่ 6 ร้อยละ 0.75 และโครงการที่ 7 ได้ร้อยละ 0.50 ซึ่ง สำนักงาน สกสค.จะนำเงินส่วนนี้มาใช้ในการบริหารโครงการ และกันส่วนหนึ่งเพื่อใช้สำรองจ่ายหนี้ชำระแทนครู ซึ่งพบว่าบางรายเจตนาไม่ชำระตั้งแต่งวดแรก ๆ  


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงาน  สกสค.ได้มีหนังสือไปถึงธนาคารไม่อนุญาตให้หักเงินจากกองทุนฯแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.2558 ที่ผ่านมา ซึ่งการไม่อนุญาตให้หักเงินดังกล่าวจะทำให้ครูมีหนี้ค้างชำระสะสมจำนวนมาก โดยข้อมูลหนี้สะสมค้างชำระล่าสุด ณ วันที่ 31 ส.ค.2558 อยู่ที่ 64,197 ราย เป็นเงิน 5,388 ล้านบาท ขณะที่ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค.2558 อยู่ที่ 62,466 ราย เป็นเงิน 5,196ล้านบาท ในขณะที่ข้อมูลครูที่ค้างการชำระหนี้และถูกทางธนาคารฟ้องร้องดำเนินคดีก่อนหน้านี้มีเพียงประมาณ 1,000 ราย เท่านั้น 


ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 23 กันยายน 2558 เวลา 6:00 น. 
 
  • 23 ก.ย. 2558 เวลา 13:55 น.
  • 4,252

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^