LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ.

  • 21 ก.ย. 2558 เวลา 21:00 น.
  • 14,830
แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แฉพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้กยศ. ผู้จัดการ กยศ.แจงยึดทรัพย์เป็นไปตามกฏหมาย วอนอย่าอ้างติดต่อกยศ.ไม่ได้ แฉสาเหตุเด็กไม่คืนเงิน เพราะคิดว่ารัฐให้ฟรี -ใครคืนเงินโง่ ขณะที่สกศ. เผยผลกรณีศึกษาพบรุ่นพี่สอนน้องเบี้ยวหนี้

วันนี้(21 ก.ย.) น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้สัมภาษณ์กรณีหลายฝ่ายออกมาระบุว่ามาตรการยุดทรัพย์ผู้กู้ค้างชำระและจะนำรายชื่อผู้กู้ค้างชำระเข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตบูโรในปี 2561 นั้นรุนแรง ว่า กยศ.ต้องขอชี้แจงก่อนว่าการที่กยศ.จะมีมาตรการอะไรออกมานั้นต้องผ่านการพิจารณาและเป็นมติของคณะกรรมการกองทุน กยศ. ซึ่งกรณียึดทรัพย์ผู้กู้ค้างชำระนั้นก็ไม่ใช่ว่าค้างกัน1-2 ปีจะดำเนินการยึดทรัพย์เลย แต่มีการให้โอกาสให้หลายปี โดยให้มาไกล่เกลี่ย และเปิดโครงการรณรงค์ชำระหนี้กองทุน กยศ. ที่จ่ายเงินคืนจะลดเบี้ยปรับ ลดดอกเบี้ยให้ แต่ผู้กู้ค้างชำระก็ไม่สนใจ และเท่าที่ดูมีมาติดต่อ 10 % ของผู้กู้ค้าชำระ ดังนั้น กยศ.ต้องดำเนินการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปบังคับยึดทรัพย์ผู้กู้ 

"กยศ. ไม่ต้องการที่ใช้มาตรอะไรที่รุนแรงกับผู้กู้ค้างชำระเลย แต่เมื่อผู้กู้ค้างชำระไม่ยอมทำตามสัญญาที่เคยตกลงกันไว้เราต้องดำเนินการ ที่สำคัญตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157 กำหนดไว้ชัดเจนว่าเจ้าที่หน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการตามที่กฏหมายกำหนด แต่ถ้าไม่ดำเนินการตามจะมีความผิด ถือว่าเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ และการยึดทรัพย์จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาตนได้ยินมาตลอดว่าผู้กู้ค้างชำระไม่ยอมมาจ่ายหนี้ เพราะยังมีความคิดที่ว่าเงินที่กู้ยืมไปเป็นเงินของรัฐ ต้องไม่จ่ายคืนก็ได้ รัฐไม่เอาจริง และถ้าใครเอาเงินมาคืนถือว่าโง่ ซึ่งเป็นคววามคิดที่ผิด ในเมื่อสัญญากันไว้แต่แรกว่าต้องคืน เมื่อจบต้องนำมาคืน และเรื่องนี้ กยศ.ก็ขอความร่วมมือให้สถานศึกษาช่วยกันรณรงค์ให้มีการใช้หนี้คืน กยศ.อย่างจริงจัง และขณะนี้ กยศ.ได้เปิดช่องทางให้ติดต่อกยศ.หลายที่ ดังนั้นสามาารถติดต่อได้ตลอดเวลา และขอให้ผู้กู้ค้างชำระ หรือครบกำหนดเวลาในการชำระก็ให้รีบมาชำระตั้งแต่แรก เป็นหนี้ปกติ อย่างปล่อยค้างไว้ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการเสียเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยที่สูง"  น.ส.ฑิตติมา กล่าว 

ด้าน รศ.ดร.ชวนี ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) กล่าวว่า ช่วงที่ตนอยู่ในตำแหน่งรองเลขาธิการ สกศ. ได้มีการศึกษาสภาพและผลการกู้ยืมเงิน กยศ. ว่าเป็นไปตามเจตนารมย์ของกองทุน ฯ หรือไม่ โดยได้เลือกจังหวัดขอนแก่น เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผู้กู้ยืมกยศ.สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดจัดสรรมากถึง 3% ของวงเงินกองทุนฯ และเป็น 1 ในจังหวัดเป้าหมายที่ สำนักงาน กยศ.ให้มีการจัดกิจกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมก่อนฟ้องคดี หรือ เป็นพื้นที่ที่มีผู้กู้คืนเงินกองทุนฯน้อย ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค.2556 พบว่า ผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้คืนกองทุนตั้งแต่ปี 2542 มีทั้งสิ้น 127,265 คน เป็นผู้ค้างชำระบางส่วน สูงถึง 76% ของผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้คืน และค้างชำระทั้งจำนวน 27% 


รศ.ดร.ชวนี กล่าวต่อว่า จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 4,184 คน จำแนกเป็นผู้กู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา 3,566 คน สำเร็จการศึกษาแล้ว 625 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 62 คน ได้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ไม่ชำระเงินคืนเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้หนี้ บางคนเข้าใจว่าไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะมีการสอนกันมาระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง สำหรับการติดตามและชำระหนี้เงินกู้ พบว่า นักศึกษา 70-79% เห็นด้วยที่จะให้มีการบันทึกประวัติผู้กู้ในเครดิตบูโร ส่วนการให้กรมสรรพากร เป็นผู้ติดตามหนี้ โดยให้หนี้เงินกู้มีลักษณะเสมือนหนี้ภาษีอากรค้างที่เจ้าหน้าที่สามารถ บังคับหนี้ อายัด ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการของศาล พบว่า ผู้กู้เห็นด้วยเพียง 50-59% เท่านั้น อย่างไรก็ตามเชื่อว่าถึงตอนนี้ผู้กู้ค้างชำระน่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก กยศ.มีการรณรงค์มากขึ้น ส่วนการยึดทรัพย์นั้นถือว่าเป็นไปตามกระบวนการทางกฏหมาย ฝากผู้กู้ยืมกยศ. อย่าคิดว่ามีเงินเดือนแล้วเอาไปใช้อย่างอื่นก่อน เนื่องจากเรียนจบแล้ว เพราะเป็นความคิดที่ผิด ขอให้นำเงินมาใช้คืน เพื่อเปิดโอกาสให้รุ่นน้องได้กู้ยืมเรียนต่อได้

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2558 เวลา 14:32 น.
 
  • 21 ก.ย. 2558 เวลา 21:00 น.
  • 14,830

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^