LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

จี้ทปอ.ปรับข้อสอบเข้ามหา'ลัยรับลดเวลาเรียน

  • 11 ก.ย. 2558 เวลา 09:38 น.
  • 1,272
จี้ทปอ.ปรับข้อสอบเข้ามหา'ลัยรับลดเวลาเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จี้ทปอ.ปรับข้อสอบเข้ามหา'ลัยรับลดเวลาเรียน "ดาว์พงษ์" แนะสกอ.ทำแผนอุดมศึกษาให้สังคมยอมรับ แจงเลิกเรียนวิชาการ 14.00 น.ไม่กระทบเนื้อหาสาระ "ธีระเกียรติ" ถกทปอ.ปรับข้อสอบเข้ามหา’ลัยรับลดเวลาเรียน ชี้การคัดเลือกเข้าเรียนต่อไม่ปรับปฏิรูปการศึกษาไม่เกิด 

วันนี้ (10 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศธ. ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหาร สกอ. โดย พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ขอให้ สกอ.กลับไปดูแผนและทิศทางการทำงานว่าสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ รวมถึงแผนงานอื่นๆ ก็ควรประสานสอดคล้องกับแต่ละองค์กรหลักของ ศธ. ซึ่งนายกรัฐมนตรีอยากให้เห็นภาพว่า ในปี 2559 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้นการกำหนดแผนในระยะแรกควรจะเห็นผลชัดเจนว่าเดือนกันยายน ปี2559 จะเห็นอะไรบ้าง และระยะต่อไปจะเห็นผลอะไร โดยแผนจะต้องมีความสมบูรณ์และถือเป็นคัมภีร์ในการกำกับดูแลภาพรวมทั้งหมด อาทิ โครงการคุรุทายาทที่ สกอ.เสนอเป็นโครงการสำคัญ จะต้องฉายภาพให้เห็นว่า เป็นการผลิตครูได้ตรงกับความต้องการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ซึ่งเป็นผู้ใช้  ไม่ใช่ สกอ.คิดไปเองทั้งหมด ทั้งนี้ ทราบว่า สกอ.กำลังทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ซึ่งแผนกับนโยบายของรัฐควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตอบโจทย์ได้ครอบคลุม และเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งถ้าแผนมีความชัดเจน ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนแผนได้ 


รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณี ศธ.มีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้  ให้เลิกเรียนวิชาการเวลา 14.00 น. ซึ่งผู้ปกครองกังวลว่า เมื่อลดเนื้อหาวิชาการลง แต่มหาวิทยาลัยยังคงสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบเดิม เด็กจะต้องไปเร่งกวดวิชาตั้งแต่ระดับประถมนั้น จากการรับฟังรายงานของ สพฐ. พบว่า เนื้อหาสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนควรใช้เวลาเรียนอยู่ที่ 840 ชั่วโมงต่อปี หรือ 200 วัน คิดเป็นวันละ 5คาบเรียน แต่ปัจจุบันโรงเรียนทุกแห่งเรียน 7 คาบต่อวัน หรือ คิดเป็น 1,400 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเกินมามาก ดังนั้นแม้จะเลิกเรียนวิชาการเวลา 14.00 น. และการสอบเข้าเรียนต่อออกข้อสอบในเนื้อหา 8 กลุ่มสาระ ก็จะไม่กระทบอะไร อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อกังวลเกิดขึ้นก็ต้องมาดูว่าการสอบเข้าเรียนต่อในแต่ละระดับทั้ง ม.1, ม.4 และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องปรับเนื้อหาข้อสอบ หรือต้องให้เหตุผลที่เหมาะสมว่า ทำไมต้องออกข้อสอบในรูปแบบนั้นๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจและได้เตรียมความพร้อม เพื่อลดการกวดวิชาลง แต่ยังสามารถคัดคนเข้าเรียนต่อในสาขาที่ต้องการได้ ซึ่ง สกอ.ก็ต้องต้องไปคุยกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 


ด้าน นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า เรื่องการปรับปรุงการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ตนจะหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ว่า ศธ.มีการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อทำให้บรรลุภารกิจในการปฏิรูปการศึกษาแล้ว  ทปอ.จะปรับปรุงการประเมินอย่างไร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อคลายความทุกข์ของผู้ปกครอง และควรมีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตมาใช้ในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อให้เด็กสอบน้อยลง แต่หากการคัดเลือกเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยไม่มีการปรับปรุงก็จะไม่เกิดผลอะไรในการปฏิรูปเลย.

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์วันพฤหัสที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 15:10 น.
 
  • 11 ก.ย. 2558 เวลา 09:38 น.
  • 1,272

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^