LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

สพฐ.ยันลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาจัดกิจกรรมสร้างทักษะชีวิต

  • 02 ก.ย. 2558 เวลา 06:39 น.
  • 3,486
สพฐ.ยันลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาจัดกิจกรรมสร้างทักษะชีวิต

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.ยันลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาจัดกิจกรรมสร้างทักษะชีวิต

สพฐ.ยันลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ แต่กลับบ้านเวลาเดิม เผย 4 กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต มีครูดูแลใกล้ชิด รร.สังกัด สพฐ.หมื่นโรงสนใจให้สอนอาชีพ ย้ำไม่เก็บเงินเพิ่ม เตรียมรายงาน "ดาว์พงษ์" เร่งทำคู่มือจัดการลดเวลาเรียน ตารางกิจกรรมให้ครู เล็งเปิดเว็บไซต์ให้ นร.แสดงความเห็นอยากได้แบบไหน ด้าน ผอ.สมศ.ชี้ควรมีวิชาชีพ-วิชาที่เด็กชอบ ออกแบบให้เหมาะกับพื้นที่ ระบุช่วงเปลี่ยนเข้มงวดเป็นอิสระ ไม่ปล่อยทันที เด็กจะเสีย เลขาฯ กช.ขานรับนโยบายจัดกิจกรรมนอกห้อง เน้นพหุปัญญา 8 ด้าน เสริมความถนัดของ นร.

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดกรอบกิจกรรมตามนโยบาย "ปรับลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ว่า กิจกรรมในช่วงบ่ายน่าจะเป็นไปใน 4 รูปแบบ คือ 1.กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ที่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยกิจกรรมจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ในช่วงเช้า เพื่อให้เด็กมีทักษะและลงมือปฏิบัติจริง อาทิ การทำโครงงาน การวาดรูป เล่นละครประวัติศาสตร์ เป็นต้น 2.กิจกรรมเสรี ให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสมและความพร้อม อาทิ ชมรมจิตอาสา ชมรมกีฬา ฯลฯ 3.กิจกรรมสอนอาชีพ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.กว่าหมื่นโรงมีความต้องการเรื่องดังกล่าว โดยโรงเรียนอาจชักชวนผู้ปกครอง หรือครูภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาร่วมให้ความรู้และสอนอาชีพแก่นักเรียน รวมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตด้วย และ 4.กิจกรรมสอนเสริมวิชาการ ซึ่งไม่ใช่การติวเด็ก แต่เป็นการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรียนอ่อน หรือสอนการบ้าน เป็นต้น

"ในส่วนของการเรียนการสอนช่วงเช้า นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างแน่นอน ส่วนช่วงบ่ายจะเน้นไปในเชิงปฏิบัติและบูรณาการ การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะไม่มีการเก็บเงินแม้แต่บาทเดียว และทุกกิจกรรมจะออกแบบให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ไม่ได้ปล่อยให้เด็กมีอิสระ โดยมีครูดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด แนวทางนี้จะเป็นการพลิกโฉมการศึกษาอย่างชัดเจน ขณะที่นักเรียนและผู้ปกครองจะมีความสุขเพิ่มขึ้น ส่วนครูอาจจะต้องเหนื่อยในช่วงแรก ผมขอยืนยันว่าเด็กนักเรียนทุกคนยังคงมาเรียนและกลับบ้านเวลาเดิม" เลขาฯ กพฐ.กล่าว

นายกมลกล่าวต่อว่า ส่วนแผนการดำเนินงานดังกล่าวจะหารือกับ รมว.ศธ. และ สพฐ.ได้ตั้งคณะทำงานพร้อมจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเรื่องการลดเวลาเรียนให้แก่สถานศึกษาได้นำไปเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ รวมถึงตารางกิจกรรมการเรียนการสอนให้ครูได้นำไปประยุกต์ใช้ ขณะเดียวจะเปิดเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนด้วยว่าอยากได้กิจกรรมรูปแบบไหน อย่างไรก็ตาม ตนจะเรียกประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต และโรงเรียนประถมศึกษาที่นำร่องในเรื่องดังกล่าวมารับฟังแนวปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จในอนาคต

ด้านนายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า กรณีนโยบายลดเวลาเรียนวิชาหลักลง และเพิ่มกิจกรรม ทำให้เด็กได้เปลี่ยนบรรยากาศ ควรจะมีทั้งวิชาชีพและวิชาที่เด็กชอบ ส่วนกลางจะต้องออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ โรงเรียนสังกัด สพฐ.กว่า 38,000 โรงเรียน จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กถึงกว่า 20,000 โรงเรียน และมีครูไม่ครบชั้น โรงเรียนหนึ่งมีครูต่ำกว่า 6 คน ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. โดยโรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่รัฐควรจะเข้ามาดูแลและพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องอบรมพัฒนาครู ที่ผ่านมาโรงเรียนนี้แก้ปัญหาโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และจัดกิจกรรมหรือจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น ทำให้ส่วนใหญ่ค่อยๆ พัฒนาและผ่านการประเมินจาก สมศ.แล้ว

"บริบทของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เวลาเราไปดูการจัดการสอนของแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน อย่างประเทศฟินแลนด์ เด็กเรียนวิชาการน้อย แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่าเด็กไทยที่เรียนวิชาการเยอะ แต่ต้องเข้าใจว่าฟินแลนด์มีขนาดพื้นที่เล็ก และมีจำนวนเด็กและโรงเรียนน้อยกว่าเรามาก นำมาเปรียบเทียบกับของประเทศไทยไม่ได้ อีกทั้งวัฒนธรรมของเราต้องกำกับดูแล เด็กต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ดังนั้น การจะปรับเปลี่ยนอะไรจึงต้องค่อยๆ ผ่อนคลาย ไม่ใช่เข้มงวดอยู่แล้วปล่อยอิสระทันที จะทำให้เด็กเสีย โดยเริ่มจากจุดคิดก่อน ไม่ใช่สอนให้เด็กเรียนแบบไม่เครียด แต่ควรสอนให้เด็กรู้จักรับมือกับความเครียด และฝึกบริหารความคิดให้ได้ ไม่ใช่ทำเหมือนพ่อแม่สมัยนี้ที่ปกป้องลูกจนเปราะบาง รับมือกับปัญหาในอนาคตไม่ได้" ผอ.สมศ.กล่าว

ด้านนายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาฯ กช.) กล่าวว่า ในส่วนโรงเรียนเอกชนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ศึกษาและมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดทักษะ การคิด การวิเคราะห์ และการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย นอกเหนือจากวิชาการที่ต้องเรียนในชั้นเรียน เน้นเรื่องพหุปัญญา 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านภาษา โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ 2.ด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ โดยส่งเสริมให้จัดกิจกรรมหรือเกมการแก้ปัญหา 3.ด้านดนตรี ส่งเสริมการเล่นดนตรี ร้องเพลง การเต้น 4.ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมกีฬา ศิลปะและงานฝีมือ ให้มีความสนุกสนานและพัฒนาความว่องไว 5.ด้านมิติสัมพันธ์ เน้นการจัดกิจกรรมรูปแบบการคิดและสื่อสารด้วยภาพ 6.ด้านมนุษยสัมพันธ์ จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 7.ด้านเข้าใจตนเอง ส่งเสริมกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน และ 8.ด้านรู้จักธรรมชาติ โดยส่งเสริมให้นักเรียนรักธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์

"ทั้งนี้ โรงเรียนเอกชนจะต้องให้ความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ 1.ให้นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมตามความถนัดของตัวเอง 2.โรงเรียนต้องสามารถคัดกรองนักเรียนให้เหมาะสมในแต่ละด้าน 3.โรงเรียนต้องจัดรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสอดรับกับตัวนักเรียนแต่ละคน และ 4.ให้มีเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เพื่อความครอบคลุมและปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมได้" เลขาฯ กช.กล่าว.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 2 กันยายน 2558
 
  • 02 ก.ย. 2558 เวลา 06:39 น.
  • 3,486

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^