LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 256/2558 ผลประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4/2558

  • 05 ส.ค. 2558 เวลา 19:06 น.
  • 16,139
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 256/2558 ผลประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4/2558

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 256/2558
ผลประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4/2558


ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ใน กช. พร้อมทั้งขอให้ทุกท่านนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงานมาใช้ เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่อที่ประชุม เพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชนให้ก้าวหน้าต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของการศึกษาเอกชนเป็นอย่างมาก เพราะช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของภาครัฐได้เป็นอย่างมาก ยิ่งการศึกษาเอกชนเติบโตมากเท่าใด รัฐก็จะลดภาระได้มากเท่านั้น จึงจะพยายามให้การสนับสนุนการศึกษาเอกชนทุกทาง เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาเอกชนให้ดียิ่งขึ้น

ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญที่ได้ข้อสรุป ดังนี้

>> เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนในระบบ ไม่เกินเดือนละ 1,200 บาท

ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนในระบบ พ.ศ. .... เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 73 (1) ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ส่งเงินสะสมสำหรับตนเองในอัตราที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด โดยไม่เกินร้อยละ 3 ของเงินเดือนรายเดือนที่ได้รับ และต้องไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้กำหนดเพดานเงินสะสมเข้ากองทุน โดยคำนึงถึงภาระงบประมาณของรัฐบาลและให้มีความสอดคล้องกับเงินเดือนของครูโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

โดยให้ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ไม่เกินเดือนละ 1,200 บาท หากผู้ใดส่งเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์เกินกว่าจำนวนนี้ก่อนวันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ ให้ปรับลดเหลือไม่เกินเดือนละ 1,200 บาท นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ

ทั้งนี้ จะได้นำร่างกฎกระทรวงนี้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อไป
 

>> เห็นชอบร่างประกาศเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพและสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศ กช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการอุดหนุน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพและสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนในระบบและโรงเรียนนอกระบบที่สอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เสนอทบทวนมาตรการการอุดหนุน เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

โดยมีสาระสำคัญ คือ ปรับแก้ชื่อหน่วยงาน และปรับเพิ่มบทบาทหน้าที่ของ สช.จังหวัด และ สช.อำเภอ แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา (สบย.) เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฉบับปัจจุบัน

นอกจากนี้ ได้กำหนดพื้นที่การอุดหนุนให้ครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา (เฉพาะ 4 อำเภอ คือ อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 


>> รับทราบมาตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะเอกชน

ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลและมาตรการในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 458 แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 80 แห่ง และภูมิภาค 378 แห่ง มีนักเรียนที่ก่อเหตุวิวาทในสถานศึกษาต่างๆ จำนวน 25 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนสถานศึกษาอาชีวะเอกชนทั้งหมด และมีสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาของรัฐบาลที่พบว่าเป็นคู่ขัดแย้งจำนวน 19 แห่ง โดยจำแนกกลุ่มหรือบุคคลที่ก่อเหตุเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) นักเรียนนักศึกษาที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน 2) นักเรียนนักศึกษาที่ถูกให้พ้นสภาพไปแล้ว 3) รุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้ว

สถิติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ตามที่ได้รับรายงานในปีการศึกษา 2557 พบว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น 157 ครั้ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 75 คน และเสียชีวิต 10 คน

จากกรณีดังกล่าว สช.จึงได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยมีมาตรการดำเนินการทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับสถานศึกษา และระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยมาตรการ 4 ส่วน คือ

- มาตรการเร่งด่วน เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา เช่น การชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลาม การหาสาเหตุ/ตัวผู้กระทำผิด ตลอดจนการประสานให้มีการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาคู่กรณี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทราบโดยด่วนที่สุด ฯลฯ

- มาตรการเชิงรุก ให้สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จัดทำข้อมูลประวัติรายบุคคล จัดครูหรือเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตามจุดเสี่ยงอย่างเข้มงวด จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จัดช่องทางการสื่อสารระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย 4 ฝ่ายเพื่อช่วยเหลือ ประกอบด้วยนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง สถานศึกษา และภาคประชาสังคม มีการประสานงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ตรวจร่วมของครูตามจุดเสี่ยง ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป ฯลฯ

- มาตรการทางกฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่ป้องปรามและป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น การดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ในการสั่งให้สถานศึกษางดรับนักเรียนใหม่ หรือสั่งให้สถานศึกษาอยู่ในควบคุม หรือสั่งให้เพิกถอนในอนุญาต ฯลฯ

- มาตรการเพิ่มเติม เช่น การจัดกิจกรรม “ค่ายสานสัมพันธ์ อาชีวศึกษา” จำนวน 2 รุ่น มีนักเรียนเข้าร่วม 57 คน จากสถานศึกษาคู่ขัดแย้ง 5 แห่ง โครงการไปโรงเรียนปลอดภัย ซึ่งศูนย์เสมารักษ์จะออกตรวจความประพฤตินักเรียนตามจุดเสี่ยงต่างๆ และที่สำคัญคือการเร่งสร้างค่านิยมอาชีวศึกษาเอกชน โดยดำเนินกิจกรรม “อาชีวะเอกชน สร้างคน สร้างชาติ” เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา คณะครูและผู้บริหาร ทำกิจกรรมจิตอาสา โดยมีนักเรียนและครูเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 32,000 คน จาก 193 สถานศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งส่งนักเรียนอาชีวะเอกชนเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre.Voc.Ed) รุ่นที่ 2 จำนวน 16 คน เป็นต้น

ที่มาของข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 5 สิงหาคม 2558
  • 05 ส.ค. 2558 เวลา 19:06 น.
  • 16,139

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^