LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เห็นชอบเกณฑ์การสอบคัดเลือก รองผอ.-ผอ.สถานศึกษา สอศ.

  • 29 มิ.ย. 2558 เวลา 08:51 น.
  • 4,502
เห็นชอบเกณฑ์การสอบคัดเลือก รองผอ.-ผอ.สถานศึกษา สอศ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 211/2558
 เห็นชอบเกณฑ์การสอบคัดเลือก รองผอ.-ผอ.สถานศึกษา สอศ.

 ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2558 ในส่วนของหลักเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้



- คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทั่วไป กำหนดตามมาตรฐานตำแหน่ง 2) กลุ่มประสบการณ์ กำหนดตามมาตรฐานตำแหน่งและเพิ่มประสบการณ์
- ให้ อ.ก.ค.ศ. สอศ.เป็นผู้กำหนดสัดส่วนในการประกาศรับสมัครทั้ง 2 กลุ่ม พร้อมทั้งกำหนดวัน-เวลาการคัดเลือก ออกข้อสอบ กำหนดตัวชี้วัด องค์ประกอบการประเมิน และคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์
- หลักสูตรการคัดเลือก
1) กลุ่มทั่วไป  คะแนนเต็ม 300 คะแนน แบ่งเป็น ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป 100 คะแนน ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ 100 คะแนน และภาค ข ความเหมาะสมกับตำแหน่ง  ประเมินผลการปฏิบัติงาน 50 คะแนน สัมภาษณ์ 50 คะแนน
2) กลุ่มประสบการณ์  คะแนนเต็ม 200 คะแนน แบ่งเป็น ภาค ก ประเมินผลการปฏิบัติงาน 150 คะแนน และภาค ข สัมภาษณ์ 50 คะแนน โดยได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ คือ การเพิ่มประสบการณ์ เช่น ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่จะสมัครสอบตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ต้องมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าระดับหัวหน้าแผนกวิชาไม่น้อยกว่า 2 ปี และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่จะสมัครสอบตำแหน่งผู้อำนวยการ ต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ฝ่าย และการเพิ่มวิทยฐานะและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งก่อนสมัครสอบ เช่น การสมัครสอบตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ต้องดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ การสมัครสอบตำแหน่งผู้อำนวยการ ต้องดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการชำนาญการ
- ผู้ผ่านการคัดเลือก ต้องได้คะแนนแต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยเรียงลำดับที่ ตามผลคะแนนจากมากไปหาน้อย เพื่อเข้ารับการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง โดยบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกมีอายุ 2 ปี
- ให้บรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกกลุ่มประสบการณ์ก่อน ตามสัดส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานตำแหน่งและผ่านการพัฒนาแล้ว
 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมครั้งนี้ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย เนื่องจากหลักเกณฑ์ฯ ของ สอศ.ได้มีการปรับปรุงในหลายส่วน อาทิ เพิ่มประสบการณ์ เพิ่มวิทยฐานะและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งก่อนสมัครสอบ เพิ่มตำแหน่งที่อาจมีขึ้นในสถาบันการอาชีวศึกษาที่ต้องเปลี่ยนสายงานไปเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ตลอดจนถึงปรับปรุงหลักสูตรการสอบคัดเลือกให้มีสาระเกี่ยวกับอาชีวศึกษามากขึ้น เช่น การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังมีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์ของ สพฐ. โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มประสบการณ์ที่จะไม่มีการสอบข้อเขียน แต่จะมีการสอบสัมภาษณ์และประเมินประวัติ/ผลงานที่เน้นประสบการณ์ทางการบริหารเป็นหลัก ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้บริหารของอาชีวศึกษาจะมีความเฉพาะทางและหลากหลายในวิชาชีพมากกว่า สพฐ. จึงต้องการเน้นประสบการณ์การทำงานของผู้บริหาร ดังนั้นการจะให้กลุ่มประสบการณ์ไปสอบข้อเขียนอาจจะไม่เอื้อหรือตอบสนองต่อการคัดเลือกบุคลากร

 ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสอบคัดเลือกรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษา สอศ. ครั้งต่อไปในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 โดยที่ประชุมย้ำให้ สอศ.ดำเนินการจัดสอบอย่างดีที่สุด เพื่อไม่ให้มีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นได้

ที่มาของข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 29 มิถุนายน 2558
  • 29 มิ.ย. 2558 เวลา 08:51 น.
  • 4,502

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^