LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ผอ.เขตพื้นที่ส่งไลน์ต้านถ่ายโอนรร.ให้อปท.

  • 07 พ.ค. 2558 เวลา 11:25 น.
  • 3,829
ผอ.เขตพื้นที่ส่งไลน์ต้านถ่ายโอนรร.ให้อปท.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.เผยผลวิจัย อปท. 172 แห่ง ไม่พร้อมรับโอนโรงเรียนไปอยู่ในความดูแล และพร้อมเพียงแค่ 95 แห่ง "กมล" ระบุ ผอ.เขตพื้นที่ฯ ส่งไลน์กันแซ่ด หวั่นองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดการศึกษาไม่ได้ ด้าน "อมรวิชช์" แจงย้ายถ่ายโอน รร.ไป อปท. ยังเป็นเพียงข้อเสนอ ไม่ใช่ข้อสรุป

นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้โอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่ายังเป็นเพียงข้อเสนอหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงมีกลุ่มบุคคลและผู้เกี่ยวมีข้อเสนอต่างๆ เข้ามา ซึ่ง กมธ.การศึกษาฯ ก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย แต่ยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจน จึงไม่อยากให้สังคมสับสน ในส่วนของ กมธ.การศึกษาฯ มองว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่เพียงการกระจายอำนาจจากส่วนกลางเท่านั้น แต่เป็นการกระจายอำนาจลงไปยังพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาคนเก่งทิ้งถิ่น และจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ แต่ยังคงมาตรฐานกลางไว้ ทั้งนี้ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน กมธ.การศึกษาฯ จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งที่ส่งมายัง สปช. และเวทีเสวนาตามจังหวัดต่างๆ และประมวล สรุป ทิศทางของข้อเสนอ เพื่อรวบรวมเป็นทิศทางการปฏิรูปการศึกษา

ด้านนายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสที่ลุกลามไปมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ก็มีการพูดคุยผ่านโปรแกรมไลน์ (Line) และเว็บไซต์ต่างๆ ของกลุ่มเรียกร้องและเคลื่อนไหว ว่าไม่ต้องการไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้ศึกษางานวิจัยเรื่องความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ 25 คน และสุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 388 คน และได้สรุปผลการวิจัยว่า อปท.ทั้งหมด 267 แห่ง พบว่ามีความพร้อมในการจัดการศึกษา 95 แห่ง และไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา 172 แห่ง ขณะที่ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็มีความเห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารบุคคล ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนการศึกษา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในแง่ผลการวิจัย อปท.ยังไม่มีความพร้อม และ สพฐ.มีความเห็นว่า สพฐ.น่าจะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาเหมาะสมกว่า เพราะเราเป็นองค์กรรัฐและทำงานบนความรับผิดชอบ ไม่ว่าการทำงานผลจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้คนอื่นจัดการศึกษาก็ไม่รู้เขาจะรับผิดชอบการศึกษาหรือไม่

"ในมิติของ สพฐ.มองว่าการโอนย้ายสถานศึกษาไปสังกัด อปท.ยังไงก็ไม่มีความพร้อม เมื่อมีกระแสออกมาอีก กลุ่ม ผอ.จึงมีความห่วงใยและออกมาเคลื่อนไหว อีกทั้งกลุ่มนี้เคยมีประสบการณ์ทำงานกับ อปท. เมื่อครั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) มาก่อน จึงรู้ปัญหาหลายด้าน อาทิ การเปลี่ยนผู้บริหารมีผลต่อนโยบายการทำงาน ความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งที่สุดแล้วความรู้ที่ท้องถิ่นมียังสู้หน่วยงานราชการไม่ได้ และปัญหาที่ในอดีตท้องถิ่นให้ครูทำกิจกรรมที่ไม่ใช้การเรียนการสอน ซึ่งครูรู้สึกไม่สบายใจ อีกประเด็นคือ ครูที่อยู่สังกัดท้องถิ่นไม่สามารถขอโอนย้ายได้ เหมือนกรณีการเป็นครูในส่วนราชการเดียวกัน" เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2558
 
  • 07 พ.ค. 2558 เวลา 11:25 น.
  • 3,829

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^