LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาเกาหลี เงินเดือน 15,000 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ – 25 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนบัวใหญ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 18,000 บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 17 – 26 เมษายน พ.ศ.2567

เผยผลสำรวจพบไอคิวเด็กไทยลดต่ำลง

  • 24 เม.ย. 2558 เวลา 08:51 น.
  • 898
เผยผลสำรวจพบไอคิวเด็กไทยลดต่ำลง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สถาบันราชานุกูลเผยผลสำรวจไอคิวอีคิว เด็กไทยปี57 พบค่าเฉลี่ยต่ำลงจากปี54 เหตุสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ ทั้งพ่อแม่ไม่มีความรู้การเลี้ยงดู รวมถึงปัญหาขาดแคลนครูปฐมวัย กระตุ้นรัฐลงทุนพัฒนาโครงสร้างที่เอื้อต่อการทำงานในพื้นที่ ชี้ลำพังภาครัฐไม่สามารถพัฒนาประชากรของประเทศได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากพื้นที่เป็นสำคัญ

วันนี้(23เม.ย.)ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) พร้อมด้วยสถาบันรามจิตติ และสถาบันราชานุกูล ได้ร่วมจัดสัมมนาและแถลงข่าวผลการดำเนินงานเสริมสร้างพัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็ก(ไอคิว อีคิว) ที่มีระบบสารสนเทศในการส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพของภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่โดยพ.ญ.นพวรรณ ศรีวงศ์พานิช รองผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เปิดเผยว่าจากการที่สถาบันราชานุกูลได้นำร่องสำรวจไอคิว อีคิว เด็กทุกช่วงวัย ปี2557 ในพื้นที่4จังหวัด ได้แก่ เชียงราย สุรินทร์ พระนครศรีอยุธยาและภูเก็ต พบว่า ระดับไอคิว อีคิวของเด็กระดับประถมศึกษาปีที่1 อยู่ที่ 93.1ลดลงจากการสำรวจเมื่อปี2554 ซึ่งอยู่ที่ 94.5 โดยเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กไม่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเช่น พ่อแม่ผู้ปกครองขาดความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวครูปฐมวัยขาดแคลน เป็นต้น

“จากการดำเนินโครงการพบว่าระบบส่งต่อข้อมูลของเด็กแต่ละคนจะมีประโยชน์ต่อตัวเด็กและผู้ปกครองเป็นอย่างมากเพราะจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ชี้ให้เห็นว่าบุคคลแวดล้อมรอบตัวเด็กต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กซึ่งจะมีผลต่อไอคิวของเด็กแต่ละคนเป็นอย่างมาก”พ.ญ.นพวรรณ กล่าว

ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสถาบันราชานุกูล ในการขยายผลการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถค้นหาเด็กที่ต้องได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที โดยการสื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ

ด้านดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษา สสค. และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ช่วงปฐมวัยถือเป็นการลงทุนที่คุ่มค่าเพราะจะได้ผลตอบแทนกลับคืนมามากถึง7 เท่า เมื่อเทียบกับการที่จะต้องมาแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงเมื่อเด็กโตแล้วดังนั้นทิศทางการจัดการราชการแผ่นดินส่วนกลางจะต้องเปลี่ยนไปสู่การลงทุนพัฒนาโครงสร้างที่จะช่วยเอื้อต่อการทำงานระดับพื้นที่เช่น การมีระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประชากร การมีกองทุนเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยสำหรับครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบากและการแก้ไขกฏระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำงานของหน่วยงานต่างๆในการพัฒนาเด็กและประชากรของประเทศเป็นต้น เพราะภาครัฐแต่เพียงลำพังคงไม่สามารถพัฒนาประชากรของประเทศได้ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ในการลงมือปฏิบัติ

"ผมมองว่าเรื่องของการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากที่สุด เพราะหากเด็กวัยนี้ไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีก็จะส่งผลให้การศึกษาเซไปทั้งระบบแต่ผมไม่มองว่าไอคิวเด็กไทยต่ำลง เพียงแค่ไม่กระเตื้องขึ้นเท่านั้น “ ดร.อมรวิชช์ กล่าว

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 23 เมษายน 2558 เวลา 16:27 น.
 
  • 24 เม.ย. 2558 เวลา 08:51 น.
  • 898

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^