LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5 18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567

ศธ.มีนอกมีในเยอะ ยงยุทธชี้เหตุคำสั่งล้างบาง/ภตช.ยุสังคายนาศึกษาทั้งระบบ

  • 19 เม.ย. 2558 เวลา 11:00 น.
  • 3,621
ศธ.มีนอกมีในเยอะ ยงยุทธชี้เหตุคำสั่งล้างบาง/ภตช.ยุสังคายนาศึกษาทั้งระบบ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ยงยุทธ" แจงคำสั่งหัวหน้า คสช.ล้างบาง ศธ.เพราะ สกสค.มีนอกมีในมานานจึงต้องสอบสวน เด้งปลัดไม่เกี่ยวกับความผิดแต่เพื่อความเหมาะสม ระบุใครเกี่ยวข้องทุจริตต้องจัดการ "เสธ.ไก่อู" โวใช้ ม.44 อย่างสร้างสรรค์ไม่หวั่นเสียงวิจารณ์ ลั่นกระทรวงใดติดขัดต้องปรับย้าย เลขาฯภตช.หน้าบาน 3 บอร์ดที่เคยยื่นให้ตรวจสอบโดนโละทิ้งหมด แฉมีทุจริตอีกเพียบ ชม "บิ๊กตู่" มาถูกทางยุสังคายนาให้หมด "ชินวรณ์-สิงห์ชัย-สังศิต" หนุนใช้ ม.44 ปฏิรูปการศึกษาแก้ปัญหาทุจริต รมว.ศธ.ยุค "ปู" ปิดปากเรื่องโกงห่วง ขรก.ฟ้องร้องไม่ได้

มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 สั่งโยกย้ายนางสุทธศรี วงษ์สมาน พ้นจากตําแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา รวมทั้งโยกย้ายผู้บริหารในสังกัดศธ.อีก 5 คน และให้คณะกรรมการคุรุสภา, คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (บอร์ด สกสค.) และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของ สกสค.พ้นจากตำแหน่งไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ตรวจสอบความถูกต้องและโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารการเงิน ทรัพย์สิน และผลประโยชน์อื่นใดของคุรุสภา สกสค. และองค์การค้าของ สกสค. และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินโครงการที่สำคัญ แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้า คสช.ทราบโดยเร็ว

โดยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงคำสั่งดังกล่าวว่า ต้องแยกคนละส่วน เรื่อง สกสค.เป็นเรื่องที่คุยกันมานานแล้วในวงการศึกษาว่า ใน สกสค.มีนอกมีในอะไรหรือเปล่า ซึ่งสังคมข้องใจ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้มีการสืบออกมาให้ประชาชนได้ทราบความจริงว่า ตกลงแล้วคืออะไรกันแน่ จะได้สืบสวนสอบสวนกัน

รองนายกฯ กล่าวว่า ส่วนการโยกย้ายปลัด ศธ.เป็นเรื่องของความเหมาะสม ไม่มีข้อแย้งอะไร ไม่มีเกี่ยวกับความผิด ตัวปลัดเองก็บอกไม่ติดใจอะไร จะได้ไปทำงานเดิม เพราะท่านโตมาในสภาการศึกษา มีความรู้ความสามารถด้านการวางแผนอย่างดี คล้ายกลับมาอำลาชีวิตราชการตรงนั้น ซึ่งเรื่องของ 3 บอร์ดกับเรื่องปลัด ศธ.เป็นคนละเรื่อง เพียงแต่บังเอิญเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันเท่านั้นเอง

"ที่จริงปีหนึ่งๆ จะมีการโยกย้ายข้าราชการ 2 ฤดู คือช่วงเดือน เม.ย.กับเดือน ต.ค. ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ข้างล่างเสนอข้างบนพิจารณา แต่ในปัจจุบันผู้วางนโยบายจะเป็นผู้พิจารณาเอง ต้องอย่าลืมว่า คสช.และรัฐบาลมีเวลาไม่มาก ต้องทำงานให้ได้ผลมากสุดและต้องเหมาะสม"

ใช้ ม.44 อย่างสร้างสรรค์


ผู้สื่อข่าวถามว่า จะส่งผลให้ข้าราชการไม่กล้าที่จะทำอะไร เพราะเกรงจะถูกตรวจสอบหรือไม่ นายยงยุทธกล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ได้บอกชัดว่าใครติดในข่ายทุจริตบ้าง เพียงแต่มีข้อมูล อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ ตรงนี้นายกฯ ใช้มาตรา 44 เป็นในแนวที่ดีตามที่ประกาศไว้ ที่ต้องการปรับปรุงการทำงานให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิผลที่ดี และยึดหลักธรรมาภิบาล รวมถึงสะท้อนว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉย เวลามีคนร้องเรียนทุจริตตรงนั้นตรงนี้ที่ในอดีตเรื่องมักจะเงียบหาย เราไม่อยู่นิ่งเฉย และใครมีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องจัดการ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นไปเพื่อการปฏิรูปการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันว่า คสช.ใช้อำนาจในทางที่สร้างสรรค์และมีเหตุผลรองรับ จึงไม่หวั่นเกรงต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่จะตามมา ทั้งนี้ เป็นการปรับย้ายข้าราชการที่มีตำแหน่งอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่ได้เป็นการลงโทษ เพราะได้ใช้เวลาดูการทำงานของแต่ละคน ไม่ใช่อยู่ๆ อยากจะย้ายก็ย้าย แต่เป็นการปรับย้ายคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและเติบโตในกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง ให้ได้ดำรงตำแหน่งตามความเหมาะสม

"นายกรัฐมนตรีต้องการให้คนที่มีความชำนาญ และเติบโตในกระทรวงได้ทำงานตรงสายงานด้านนั้นๆ จริงๆ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษามีมาตรฐานต่อไป ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาบางตำแหน่งของกระทรวงถูกการเมืองแทรกแซง และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ คสช.ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ"

เมื่อถามว่า มีแนวโน้มจะปรับย้ายข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ เพื่อปฏิรูปงานอีกหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่สามารถตอบได้ แต่เห็นว่านายกรัฐมนตรีต้องการปฏิรูปการทำงานทุกกระทรวง หากกระทรวงใดที่สามารถทำงานขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพได้ก็ไม่ปรับย้าย แต่หากกระทรวงใดติดขัด ไม่สามารถขับเคลื่อนตามเป้าหมายได้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับย้ายตามความเหมาะสมต่อไป

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกแปลกใจอยู่บ้าง เพราะในส่วนของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, คณะกรรมการคุรุสภา ก็ได้แยกขาดออกมาจาก สกสค.นานแล้ว แต่ในคำสั่งก็ปรากฏรวมทั้งคุรุสภาและ สกสค. ซึ่งส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจอะไรและพร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ ในเรื่องดังกล่าวเพราะไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัด

นายพินิติ รตะนานุกูล กล่าวถึงการถูกโยกย้ายจากตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ให้ไปดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ว่า ไม่เคยทราบจากใครมาก่อน เป็นเรื่องที่กะทันหันมาก เพิ่งทราบตอนประมาณ 16.00 น.ของวันที่ 17 เม.ย. ก็รู้สึกตกใจ แต่เป็นหน่วยงานที่เคยอยู่มาถึง 35 ปี ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง เดาไม่ถูกกับคำสั่งครั้งนี้ว่าเพราะเหตุผลใด อาจจะให้ตนกลับมาเกษียณที่เดิม เพราะอีก 5 เดือนก็จะเกษียณอายุราชการแล้ว

รายชื่อบอร์ดโดนโละ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อบอร์ด 3 แห่งที่ถูกปรับออกจากตำแหน่งตามคำสั่ง คสช.ที่ 7/2558 ประกอบด้วย คณะกรรมการคุรุสภา ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 12 (1) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เป็นประธาน, (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน คือ 1.นายวรศักดิ์ แก่นมีผล 2.นายเจริญ ไชยสมคุณ 3.นายสุกิจ เดชโภชน์ 4.รอง ศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ 5.ดร.นิวัตร นาคะเวช 6.ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง 7.นายธีระพันธ์ พุทธิสวัสดิ์, (4) กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาฯ ได้แก่ 1.ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 2.ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ 3.รศ.ดร.สำราญ มีแจ้ง และ 4 รศ.ดร.อมรชัย ตันติเมธ, (5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ 1.นายชยพล จันทร์เกิดทรัพย์ 2.นายเสวก วันรักชาติ 3.นายวินัย แขนสุภา 4.นายไพฑูร สีสง่า 5.นายวัฒนา ไตรยราช 6.นายบุญมี เวชกุล 7.นายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญา 8.นายเสรี แสงทองเขียว 9.นายพงษ์ศักดิ์ ธีระวรรณสาร 10.นายโอกาส กลับแป้น 11.นายเรือ สิงห์โสภา 12.ดร.สุวิทย์ มุลคำ 13.นายธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์ 14.นายเพิ่มสิน เฉยศิริ 15.ดร.รัชนี ชังชู 16.นายวิรัช จั
นทร์เกิด 17.นายณรงค์ โภชนจันทร์ และ18.นายสมศักดิ์ บุญทิม


ส่วนกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 64 (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญด้านละ 1 คน รวม 3 คน คือ นายบัวเรียน อโรคยนันท์, นายถวิล น้อยเขียว และ ผศ.ชวลิต สันถวะโกมล (4) กรรมการที่ได้รับเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบัน อาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 คน ได้แก่ 1.นายวาสนา ไชยศึก 2.นายสมศักดิ์ ทองแก้ว 3.นายไพโรจน์ เนตรแสง 4.นายนเรศ แสนมูล 5.นายนิวัต เชื้อนาค 6.ว่าที่ร้อยตรีเทพสุจินต์ พงษ์สวัสดิ์ 7.นายประวิทย์ บึงไสย์ 8.นายจอมขวัญ สุนทรศารทูล 9.นายอุดม รูปดี 10.นายสำเริง รัชตเศรษฐ์ 11.นางปิยธิดา พลน้ำเที่ยง และ 12.นายประโยน วิไลลักษณ์

นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้บุคคลหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือ 1. เลขาธิการคุรุสภา (ดร.อำนาจ สุนทรธรรม) 2.เลขาธิการ สกสค.(นายสมศักดิ์ ตาไชย) 3. ผู้อำนวยการองค์การค้าของ สกสค.(นายสมมาตย์ มีศิลป์)

ด้านนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) กล่าวว่า หน่วยงานเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่ ภตช.เคยยื่นร้องเรียนและให้ตรวจสอบเอาไว้ทั้งหมด อาทิ เรื่องการเช่าแท่นพิมพ์ที่สูงกว่าราคากลาง 3.5 เท่า, การทุจริตการจัดพิมพ์ตำราเรียนจนทำให้มีการจัดส่งล่าช้า, การสรรหานายสมมาตร มีศิลป์ ไปเป็น ผอ.องค์การค้าฯ ทั้งที่มีคุณสมบัติต้องห้าม, การทุจริตการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มูลค่า 360 ล้านบาท โดยเฉพาะองค์การค้าฯ ที่แม้แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบงบดุลได้เลยว่า มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไร เอาเงินไปใช้จ่ายตรงไหนบ้าง ซึ่งเหล่านี้เป็นแค่จุดหนึ่งที่มีปัญหาใน ศธ. เพราะยังมีอีกหลายจุดที่ต้องใช้มาตรา 44 เข้าไปแก้ปัญหา

แฉ ศธ.ทุจริตเพียบ

"สำหรับบุคคลที่มีปัญหาใน สกสค. องค์การค้าฯ หลายคนผมเคยเตือนและบอกผ่านคนสนิทของคนเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนมีการยึดอำนาจ 22 พ.ค.57 แล้วว่าควรจะลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่ตอนนั้น เพราะทำให้เกิดความเสียหายกับทางราชการ ซึ่งหากเราแก้ไขตอนนั้นอาจผิดแค่ครึ่ง ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเตือนแล้วยังไม่หยุด ภตช.จะรวบรวมพยานหลักฐานและเดินหน้าปราบคนทุจริต เพราะจะไม่ลดราวาศอกให้กับเรื่องพวกนี้"

เลขาธิการ ภตช.กล่าวว่า ที่ผ่านมาที่คดีล่าช้าเพราะมันหน่วงกันอยู่ระหว่างคนในบอร์ดเองเป็นพวกเดียวกันหมด นายกฯ เองรู้เรื่องมาตลอดตั้งแต่ต้น ไม่อย่างนั้นไม่ส่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6 มาร่วมกับ ภตช.ในการตรวจสอบ สกสค.เมื่อปีที่แล้ว ตนเห็นด้วยที่นายกฯ ใช้วิธีนี้แก้ปัญหา เพราะจะทำให้ข้าราชการใน ศธ.กลัวความผิดมากขึ้น จะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อะไรที่ผิดจะทำให้ถูก เพราะที่ผ่านมามีข้าราชการครูบางคนยังไม่รู้จักว่าอะไรผิดอะไรถูก บางคนขาดความรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง

"ดังนั้นเราต้องสังคายนาสังคมไทยและวัฒนธรรมใน ศธ.ใหม่ทั้งหมด ไม่อย่างนั้นประเทศจะติดหล่มอยู่อย่างนี้ ถือเป็นการทำเพื่อให้เป็นที่หลาบจำ นายกฯ มาถูกทางแล้วในการปราบคอร์รัปชัน หลังจากนี้ ภตช.จะเดินหน้าขอให้อายัดทรัพย์ของข้าราชการทุกคนที่ทุจริต เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง ต้องนำมาติดคุก ต่อให้หนีไปต่างประเทศเราจะทำทุกอย่างในการติดตามตัวกลับมารับโทษ" นายมงคลกิตติ์กล่าว

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต รมว.ศึกษาธิการในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 กล่าวว่า ขอพูดในมุมมองของการใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ซึ่งมีศักดิ์เหนือกว่าพระราชบัญญัติ พอมีการดำเนินการแบบนี้ ในอนาคตก็เท่ากับฝ่ายบริหารจะย้ายข้าราชการอย่างไรก็ได้โดยไม่มีความผิด เพราะมาตรา 44 ดูแล้วอำนาจใหญ่กว่าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และใหญ่กว่าคำพิพากษาศาลฎีกาอีก ดังนั้น มาตรา 44 ควรใช้เป็นครั้งคราว การใช้มาตรานี้ต้องมีความระมัดระวัง ถ้าใช้พร่ำเพรื่ออาจเกิดปัญหาในอนาคตได้

เมื่อถามว่า การใช้มาตรา 44 ครั้งนี้ให้น้ำหนักไปยังเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ การใช้นโยบาย และความโปร่งใสภายในกระทรวง นายวรวัจน์กล่าวว่า อันนั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นอำนาจตัดสินใจจากฝ่ายบริหาร แต่กรณีนี้อาจเป็นการวางรูปแบบการใช้กฎหมายที่น่าก่อให้เกิดปัญหาภายในอนาคต ที่หากเกิดกรณีแบบนี้อีกข้าราชการจะไม่สามารถฟ้องร้องอะไรได้เลย ยอมรับว่าสมัยเป็น รมว.ศึกษาธิการรู้จักกับนางสุทธศรี วงษ์สมาน ซึ่งตอนนั้นยังเป็นผู้ตรวจราชการ ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะช่วงนั้นท่านก็ไม่ได้แสดงบทบาททางการทำงานอะไรมาก

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีต รมช.ศึกษาธิการ หรือ พระชินวรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ถือว่าเป็นก้าวย่างที่น่าจับตามองการบริหารประเทศภายใต้ คสช.และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์เป็นอย่างยิ่งว่า จะใช้มาตรา 44 เพื่อสร้างสรรค์และปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง ให้สมกับได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ ภายใต้การเรียกร้องของประชาชนให้ปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษา คสช.และรัฐบาลไม่จำเป็นต้องรอข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะไม่ทันการณ์ แต่ควรให้เป็นผลงานของรัฐบาลบ้าง ควรชูธงในการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง อย่าให้การออกคำสั่งครั้งนี้เป็นเพียงวังวนตัวบุคคลเหมือนที่ผ่านมา

ขณะที่นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า ไม่คิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจมากเกินไป ซึ่งไม่ได้ไล่ออกแต่เป็นการโยกย้าย คงมีข้อมูลใกล้ชิดส่วนหนึ่งไม่มั่ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน หากเข้ากระบวนการยุติธรรมตามปกติคงดำเนินไม่ได้ผล เป็นความกล้าหาญของนายกฯ จึงสนับสนุนกับการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองที่มีมากเกินกว่าที่ขั้นตอนปกติจะจัดการได้ แต่จะต้องจัดบาลานซ์ อย่าเลือกปฏิบัติ ไม่เอียงข้างเข้าฝั่งใดฝั่งหนึ่งโดยเฉพาะประเด็นการเมือง

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีคณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และในฐานะสมาชิก สปช.กล่าวว่า ในครั้งนี้เป็นเพียงการลงโทษทางวินัย ซึ่งยังไม่ถึงขั้นคดีอาญา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการภายในกระทรวงศึกษาธิการ และทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ซึ่งการกระทำของหัวหน้า คสช.เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนพอใจในการทำงานของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งรัฐบาลทั่วไปที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีใครกล้าแตะเรื่องนี้ เนื่องจากบางส่วนก็มีผลประโยชน์เชื่อมโยงกันระหว่างข้าราชการและนักการเมือง ถือเป็นการดีที่รัฐบาลชุดนี้ลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมซักที

นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ขอตอบและไม่ทราบรายละเอียดกรณีคำสั่งโยกย้ายบอร์ดบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ และบอร์ด 3 แห่งเกี่ยวข้องกับ 100 รายชื่อข้าราชการทุจริตหรือไม่ ทั้งนี้ พล.อไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม และตนตกลงกันไว้แล้วว่าจะไม่ขอพูด เพราะเรื่องดังกล่าวถึงมือพล.อ.ประยุทธ์แล้ว ขอให้สังคมรับฟังจากคำให้สัมภาษณ์ของท่านนายกฯ เพียงคนเดียว

มีรายงานข่าวจาก ป.ป.ช.แจ้งว่า สำหรับรายชื่อข้าราชการที่พัวพันการทุจริตที่ ป.ป.ช.ส่งให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) มอบแก่นายกฯ เพื่อพิจารณานั้น เป็นคดีที่มีการชี้มูลความผิดแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 5-6 คน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดินอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีในส่วนของกระทรวงศธ.ที่ คสช.เพิ่งมีคำสั่งโยกย้ายปลัด ศธ.และบอร์ด 3 แห่ง.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 19 เมษายน 2558
  • 19 เม.ย. 2558 เวลา 11:00 น.
  • 3,621

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^