LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

"สมพงษ์"จวกร่างปฏิรูปศึกษาตีไม่ตรงจุด ประเด็นสำคัญถูกกลืน/ชี้อาจส่งผลขาดแรงผลักดันบรรลุเป้าหมาย

  • 07 ธ.ค. 2557 เวลา 11:26 น.
  • 1,278
"สมพงษ์"จวกร่างปฏิรูปศึกษาตีไม่ตรงจุด ประเด็นสำคัญถูกกลืน/ชี้อาจส่งผลขาดแรงผลักดันบรรลุเป้าหมาย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"สมพงษ์"จวกร่างปฏิรูปศึกษาตีไม่ตรงจุด ประเด็นสำคัญถูกกลืน/ชี้อาจส่งผลขาดแรงผลักดันบรรลุเป้าหมาย
 
"สมพงษ์" จวกยับ สปช.ร่างกฎหมายปฏิรูปการศึกษาแก้ปัญหาของประเทศไม่ตรงจุด กว้างเกินไปจนขาดความชัดเจน ประเด็นสำคัญถูกกลืนหายไม่เด่นชัด อาจส่งผลให้ไม่มีแรงผลักดันการปฏิรูปให้ประสบผลสำเร็จ ในทางกลับกัน ในบางข้อไม่ควรระบุแต่เขียนไว้ "อมรวิชช์" แจงแค่ก้าวแรก จะมี กม.ลูกที่กำหนดรายละเอียดตามมา  
 
    นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงร่างเนื้อหาด้านการศึกษาที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จัดทำขึ้นเพื่อบรรจุในรัฐธรรมนูญ ที่มีสาระสำคัญ 7 ข้อ ว่า จากข้อเสนอของ กมธ.ปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตนคิดว่าการเขียนกฎหมายที่สำคัญระดับประเทศ หากเขียนในความหมายที่กว้างเพื่อในครอบคลุมในทุกเรื่อง ตัวกฎหมายดังกล่าวจะออกมาในลักษณะการบอกเล่า ที่ทำหน้าที่บอกว่ารัฐควรจะทำอะไร รัฐจะมีอะไรเท่านั้น ไม่สามารถบังคับใช้ สร้างแรงผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา และอาจจะทำให้ตีความในด้านเนื้อหาแตกต่างกันออกไปได้ อีกทั้งวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องเขียนสั้น กระชับ เพื่อที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุดและชัดเจน  
 
    นายสมพงษ์กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าการร่างกฎหมายให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมจะส่งผลให้ประเด็นปัญหาที่สำคัญทางด้านการศึกษาของประเทศถูกกลืนและไม่เด่นชัด ทั้งยังไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างตัวร่างกฎหมายกับประเด็นปัญหาด้านการศึกษาของประเทศอีกด้วย และในร่างเนื้อหาดังกล่าวถือว่ามีการบรรจุคำสำคัญไว้ อย่างเช่น ความรับผิดชอบ ซึ่งตนคิดว่าในเรื่องของความรับผิดชอบนั้นไม่ควรจำกัดอยู่แค่ผู้บริหารและสถานศึกษา แต่ควรที่จะครอบคลุมไปถึงฝ่ายการเมือง, กระทรวงศึกษาธิการ, (ศธ.) คณะกรรมการที่จะเข้ามาดูแลการปฏิรูปให้มีความต่อเนื่อง และกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้ามาแทรกแซงในตัวนโยบาย ทำให้การศึกษาไม่เกิดการพัฒนา ทุกฝ่ายควรจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบร่วมกันหากการศึกษาที่จัดไปแล้วล้มเหลว และควรจะบัญญัติการสร้างให้คนในประเทศ ให้เป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรียนรู้ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ เพราะขณะนี้ประเทศไทยประสบกับปัญหาที่คนในประเทศมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของประเทศ และในอดีต ศธ.ก็ไม่เคยหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาดูแลเลย 
 
    นักวิชาการกล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีทั้งในชุมชนเมืองและชนบทนั้น ก็ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของรัฐอีกประการหนึ่งที่จะต้องจัดสรรให้มีความเท่าเทียมกัน และในบางข้อควรที่จะอยู่ในกฎหมายด้านการศึกษามากกว่าที่จะถูกบรรจุลงในรัฐธรรมนูญ 
 
    “ผมคิดว่าในบางข้อควรที่จะอยู่ในกฎหมายด้านการศึกษามากกว่าที่จะถูกบรรจุลงในรัฐธรรมนูญ เช่น ข้อ 6 รัฐต้องส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในสังคมไทย โดยให้มีแหล่งเรียนรู้และสื่อสาธารณะด้านการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม และศาสนา เพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกความเป็นพลเมืองไทยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น เพราะเนื้อหาในรัฐธรรมนูญควรที่จะเป็นหลักการที่สำคัญของรัฐ และในข้อดังกล่าว เนื้อหาเป็นไปในเรื่องของการศึกษามากเกินไป ควรใส่ไว้ในกฎหมายด้านการศึกษามากกว่า เพื่อที่จะให้เป็นตัวขับเคลื่อนเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ และจากสาระสำคัญทั้ง 7 ข้อนี้ ผมคิดว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังไม่ดีที่สุด” สมพงษ์กล่าว
 
    ด้านนายอมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า การร่างเนื้อหาด้านการศึกษาเพื่อบรรจุลงในรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะไม่ใช่การร่างกฎหมายจำนวน 200 หน้าเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 50 แต่จะลงรายละเอียดของเรื่องต่างๆ ในตัวกฎหมายลูก ที่ขณะนี้กำลังประสานกับ ศธ.เพื่อแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ กฎกระทรวงต่างๆ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดที่จะสร้างความชัดเจนในแต่ละเรื่องจะมีการดำเนินการต่อไป และนอกจากนี้มีความคิดเห็นจากหลายกระแส ว่าควรจะเพิ่มในหลายเรื่อง ซึ่งในเรื่องสื่อการเรียนการสอนก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อเป็นการบังคับรัฐไปในตัวให้มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) สร้างสื่อเพื่อการศึกษา ก่อนหน้านี้ใน กมธ.ปฏิรูปการศึกษาฯ ก็มีการถกเถียงกันว่าจะมีการบรรจุหรือไม่ จนได้ข้อสรุปว่าจะต้องบรรจุ เพราะเรื่องสื่อไอซีทีเป็นเรื่องที่สำคัญและอยู่ในแผนมหภาคของประเทศ และเมื่อร่างเนื้อหาด้านการศึกษาเข้าไปสู่กระบวนการของ กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะมีการเพิ่มเติมในเรื่องอื่นได้ เช่น ครู เป็นต้น
 
    นายอมรวิชช์กล่าวต่อว่า ตัวกฎหมายแม่บทที่จะร่างลงในรัฐธรรมนูญนี้เกี่ยวข้องกับแผนมหภาคของประเทศหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ ในส่วนของความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ตนไม่อยากให้มองว่าเป็นการโยนภาระไปที่สถานศึกษา เพราะจริงๆ แล้วความรับผิดชอบมีอยู่ในทุกระดับ ไล่เรียงกันลงไป แต่ในอุดมคติของการกระจายอำนาจคือกระจายไปยังโรงเรียน เพราะฉะนั้นโรงเรียนก็จะเป็นหลักให้การรับผิดชอบทั้งในเรื่องดีและไม่ดี แต่จะรับผิดชอบในด้านใดบ้างนั้นต้องกำหนดในกฎหมายลูกอีกครั้งหนึ่ง
 
    “ผมคิดว่าขณะนี้ขอให้มองร่างกฎหมาย 7 ข้อเสนอเป็นเรื่องของหลักการก่อน เพื่อให้กฎหมายลูกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีแนวปฏิบัติมาจากร่างดังกล่าว และในขั้นตอนการลงรายละเอียดของกฎหมายลูก จะมีกระบวนการการรับฟัง เชิญนักวิชาการ ประชาชน และเยาวชนมาช่วยระดมกันคิด เพราะกฎหมายลูกที่ต้องแก้ไขนั้นมีจำนวนมาก และจะทำ 7 ข้อเสนอดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ กมธ.ก็จะเดินหน้าลงรายละเอียดต่อไป นี่เป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น” โฆษก กมธ.ปฏิรูปการศึกษาฯ กล่าว และว่า สำหรับในส่วนของการสร้างคนให้เป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อนี้เป็นความเห็นที่ กมธ.ในทุกคณะแสดงออกอย่างตรงกัน จึงจัดอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญรวม เพื่อบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการศึกษาเท่านั้น.
 
ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 5 ธันวาคม 2557
 
  • 07 ธ.ค. 2557 เวลา 11:26 น.
  • 1,278

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "สมพงษ์"จวกร่างปฏิรูปศึกษาตีไม่ตรงจุด ประเด็นสำคัญถูกกลืน/ชี้อาจส่งผลขาดแรงผลักดันบรรลุเป้าหมาย

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^