LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ผลประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2557

  • 26 ก.ย. 2557 เวลา 10:00 น.
  • 3,472
ผลประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2557

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 204/2557
ผลประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2557
 
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
 
>> เห็นชอบ (ร่าง) กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (พ.ศ.2557-2561)
 
รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (พ.ศ.2557-2561)  เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของคนในทุกช่วงอายุ และมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยทุกคน ทุกช่วงอายุ ได้รับการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ คุณลักษณะ และทักษะที่จำเป็นอย่างรอบด้าน ให้ทันกับโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งครอบคลุม 5 ช่วงอายุ ได้แก่
 
          1. ช่วงแรกเกิด – ปฐมวัย (0-5 ปี)  มีประเด็นปัญหาหลัก คือ เด็กแรกเกิด-ปฐมวัย มีภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลให้มีพัฒนาการไม่สมวัย การเรียนรู้ช้า ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามวัย อีกทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ได้มาตรฐานและทั่วถึง ครู/ผู้ดูแลเด็กขาดความรู้และทักษะ  โดยเป้าประสงค์สำหรับการพัฒนาเด็กในวัยนี้ คือ เพื่อให้เด็กทุกคนมีพัฒนาการรอบด้านตามวัยอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง พร้อมที่จะพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
 
          2. ช่วงวัยนักเรียน (5-14 ปี)  มีประเด็นปัญหาหลัก คือ เด็กนักเรียนมีการเรียนรู้และพัฒนาการค่อนข้างช้า มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ขาดคุณภาพ ขาดทักษะการดำรงชีวิต คุณภาพการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการแนะแนวการศึกษาต่อในสายสามัญและสายอาชีพที่เหมาะสม เป้าประสงค์สำหรับการพัฒนาผู้เรียนในวัยนี้ คือ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดรับกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีทักษะชีวิต มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องเหมาะสม มีภูมิคุ้มกัน และมีคุณธรรมจริยธรรม
 
          3. ช่วงวัยรุ่น/นักศึกษา (15-21 ปี)  มีประเด็นปัญหาหลัก คือ ผู้เรียนขาดทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน รวมถึงทักษะในการคัดกรองและการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม การเลือกเรียนในสาขาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ เป้าประสงค์สำหรับการพัฒนาผู้เรียนในวัยนี้ คือ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทั้งความรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
 
          4. ช่วงวัยแรงงาน (15-59 ปี)  มีประเด็นปัญหาหลัก คือ แรงงานเกือบร้อยละ 60 มีการศึกษาต่ำ และมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคต แรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะและความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง การขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ  เป้าประสงค์สำหรับการพัฒนาผู้เรียนในวัยนี้ คือ เพื่อให้แรงงานมีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 
          5. ช่วงผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป)  มีประเด็นปัญหาหลัก คือ ผู้สูงวัยขาดการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อการทำงานหลังเกษียณ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเอง  เป้าประสงค์สำหรับการพัฒนาผู้เรียนในวัยนี้ คือ ผู้สูงวัยได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ เพื่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสืบสานภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ
 
นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ความสนใจและได้ให้ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นไว้หลายประการ เช่น การพัฒนาเด็กควรจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ฯลฯ ซึ่งฝ่ายเลขานุการจะได้นำไปปรับแก้ไขต่อไป และเมื่อแผนได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์ มีเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ตลอดจนตอบสนองต่อแนวทางการศึกษาชาติแล้ว จะเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอต่อสภาการปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการศึกษา เพื่อนำไปศึกษาต่อยอด หรือเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของคนไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป

 
>> เห็นชอบ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่การปฏิบัติ
 
รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ  ซึ่งกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework) เป็นกรอบแนวทางการเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ของระดับคุณวุฒิการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษา โดยจำแนกตามสาขาวิชา วิชาชีพ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาระบบทวิภาคี กับระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ผ่านการทดสอบ วัดและประเมินผล และการเทียบโอนตามระดับคุณวุฒิแห่งชาติ
 
โดยได้กำหนด ยุทธศาสตร์ของแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ
 
1) การพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สมาคม/องค์กรวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพและ/หรือกลุ่มอาชีพ กับสถาบันการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นกรอบแนวทางในการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับคุณวุฒิ
          2) การพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ ให้สอดคล้องกับขอบเขตความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
            3) การพัฒนาระบบการทดสอบ วัดและประเมินผล การเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนประสบการณ์จากการทำงาน การสะสมหน่วยการเรียนและให้การรับรองผลการเรียนรู้ จำแนกตามระดับคุณวุฒิ
            4) การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

 
  
  
 
 
>> เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาเพื่อรองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
 
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ ปี 2555-2558  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและแนวปฏิบัติสำหรับบุคคลและหน่วยงานทางการศึกษาได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษา ซึ่งในปี 2557 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้มีแนวทางและกระบวนการขับเคลื่อน ดังนี้
 
          - จัดลำดับความสำคัญของกรอบทิศทาง ประเด็น และหัวข้อวิจัยตามกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องกับกรอบวิจัยทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
          - ระบุกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคคลและหน่วยงานที่มีบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบด้านการวิจัยทางการศึกษา ตลอดจนผู้ผลิตและผู้ใช้ผลงานวิจัยในทุกระดับและประเภทการศึกษา รวมถึงเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
          - สำรวจหัวข้อวิจัยทางการศึกษาที่ดำเนินการระหว่างปี 2555-2558 ของหน่วยงานกลุ่มเป้าหมาย ทั้งภาครัฐและเอกชนใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ และสรุปผลนำเสนอเป็นภาพรวมงานวิจัยทางการศึกษาของหน่วยงานที่สอดคล้องกับกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2555-2558)
          - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 4 ภูมิภาค และเชิญกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคคลและหน่วยงานที่มีบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบด้านการวิจัยทางการศึกษา เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ตรงกัน และสร้างความร่วมมือในการใช้กรอบและทิศทางการวิจัย ประเด็นวิจัย ตลอดจนหัวข้อวิจัยทางการศึกษา พร้อมทั้งมีการนำเสนอและให้ความคิดเห็นหัวข้อวิจัย
          - สรุปผลและจัดทำรายงานแนวทางการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยฯ และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา เพื่อให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พร้อมปรับแก้ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสภาการศึกษา

 
  
  
 
ส่วนแนวทางการดำเนินงานในปี 2558  สกศ.จะได้ดำเนินการเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา (Node) จำนวน 12 กลุ่ม ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยใช้แนวทางการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ สู่หน่วยงานทางการศึกษาในระดับพื้นที่ ใช้เป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การประชุมระดมความคิด การยกย่องแบบปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อื่นๆ ในระดับพื้นที่ต่อไป
 
 
  • 26 ก.ย. 2557 เวลา 10:00 น.
  • 3,472

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ผลประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2557

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^