LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รู้มั้ยว่า MRT สถานีสีลม สร้างยากที่สุด!!

usericon

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่บริเวณสี่แยกศาลาแดง ซึ่งเป็นทำเลใจกลางเมืองในย่านธุรกิจของถนนสีลม แต่จะมีใครรู้บ้างว่ากว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมได้นั้นต้องเจอกับอะไรบ้าง?

ปัญหาที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมต้องพบเจอก็คือ การเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ายกระดับ มาเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะบริเวณสี่แยกศาลาแดงนั้นมีทั้ง สะพานข้ามแยกศาลาแดง และตึกสูงรายล้อมมากมาย ทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมต้องสร้างภายใต้โจทย์ที่ว่า จะสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมอย่างไรโดยไม่ต้องรื้อสะพาน และไม่ต้องปิดการจราจรบนสะพาน

และสุดท้ายการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม จึงต้องสร้างโดยการ “ตัดเสาเข็มสะพานข้ามแยก” โดยที่ไม่ต้องรื้อสะพาน และไม่ต้องปิดการจราจรบนสะพาน ตามหลักการง่ายๆ ดังนี้

1. สร้างกำแพงกันดินขึ้นมา นั่นก็คือกำแพงของรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม
2. ขุดดินในกำแพงออกจนถึงฐานรากของสะพานข้ามแยก
3. สร้างพื้นหลังคาสถานี
4. ติดตั้ง Hydraulic ที่ใต้ฐานรากของสะพานข้ามแยก
5. ขุดลงไปใต้หลังคาสถานี โดยตัดเสาเข็มสะพานข้ามแยกในขณะที่บนสะพานก็ยังมีรถวิ่งอยู่ ดังนั้นน้ำหนักของสะพานจะถ่ายเทมาบนหลังคาสถานีโดยมี Hydraulic รองรับไว้
6. สร้างพื้นชั้นขายตั๋วสถานี
7. ขุดลงไปใต้พื้นชั้นขายตั๋ว แล้วตัดเสาสะพานข้ามแยกออก
8. ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ไปจนถึงชั้นชานชาลาล่างสุด
9. ตัวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นก็มีเสาใหญ่มารองรับน้ำหนักหลังคาสถานีอีกที นั่นก็เสาใหญ่ที่เห็นในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั่นเอง

จากขั้นตอนการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมที่กล่าวมาทั้งหมด จึงทำให้รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมสร้างยากที่สุด!! มีความลึกที่สุดถึง 30 เมตร!! และมีบันไดเลื่อนที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกด้วย


สรุปสถานี รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานนียกระดับสายสีส้ม

ที่มา Facebook ชมรมคนรักรถไฟฟ้า , pantip.com กระทู้โดย Chuthaphong
tiracha 16 ก.พ. 2559 เวลา 14:23 น. 0 993
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^