LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู

usericon

โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู
โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง
ปีการศึกษา 2555
ผู้ศึกษา        :    นายประธาน หาญณรงค์
ตำแหน่ง    :    รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
……………......................…………………………………………………………………………………….

    การประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผู้ประเมินเลือกใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์(CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม(Daniel L.Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555
ขอบเขตเนื้อหาการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ครั้งนี้ใช้เทคนิคการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท(Context Evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสมก่อนเริ่มดำเนินโครงการ
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสมก่อนและระหว่างเริ่มดำเนินการ
     3. การประเมินกระบวนการ(Process Evaluation) เป็นการประเมินกระบวนการดำเนินงานระหว่างดำเนินโครงการ ได้แก่
- เกี่ยวกับการวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Plan)
- เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Do)
1) จัดทำห้องสมุดโรงเรียน ขนาด 30 x 6 เมตร จำนวน 1 ห้อง
2) พัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง
3) จัดทำห้องควบคุมและระบบสืบค้นอินเตอร์เน็ต จำนวน 1 ห้อง
4) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระบบครอบครัวจำลองตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 แห่ง
5) จัดทำธนาคารโรงเรียน ขนาด 4 x 4 เมตร จำนวน 1 ห้อง
- เกี่ยวกับการตรวจสอบ ประเมินผล (Check)
- เกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Act)
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ จำนวน 5 แหล่ง
ขอบเขตเนื้อหาการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ประกอบด้วย
1.โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างเพียงพอ มีคุณภาพและมีความเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้
2. การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
3. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและนักเรียนได้เรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง
4. ประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับจากการจัดทำห้องสมุดโรงเรียน
5. ประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับจากการพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
6. ประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับจากพัฒนาห้องควบคุมระบบอินเตอร์เน็ตพร้อมอุปกรณ์
7. ประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับจากพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระบบครอบครัวจำลองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8. ประโยชน์และความคุ้มค่าที่ได้รับจากพัฒนาธนาคารโรงเรียน
9. นักเรียนมีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบในการรักษาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
10. โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน     


                
    การประเมินโครงการครั้งนี้ ได้รับประโยชน์จากการประเมิน ดังนี้
     1. ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในการตัดสินใจพัฒนาโครงการต่อไปหรือปรับปรุงวางแผนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายและสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน
     2. ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมและรูปแบบของการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเมืองเชลียงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
     3. นำผลการประเมินใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของครูและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเมืองเชลียง เพื่อการใช้แหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     4. ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นแนวทางสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา นำไปใช้ประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ มีจำนวน 5 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ดังนี้
     1. แบบประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 โดยใช้เทคนิคการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งมี 4 ฉบับ ได้แก่
1.1 แบบประเมินบริบทของโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองเชลียง จำนวน 11 ข้อ
1.2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองเชลียง จำนวน 11 ข้อ
1.3 แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองเชลียง มี 4 ตอน คือ
- ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ( Plan) จำนวน 8 ข้อ
- ตอนที่ 2 เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Do)จำนวน8 ข้อ
- ตอนที่ 3 การตรวจสอบประเมินผลแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Check)จำนวน10 ข้อ
- ตอนที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Act) จำนวน 10 ข้อ
1.4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองเชลียง จำนวน 10 ข้อ
แบบประเมินทั้ง 4 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีเกณฑ์การแปลความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับมาก
3 หมายถึง มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับน้อย
1 หมายถึง มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับน้อยที่สุด
2. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จำนวน 10 ข้อ
แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีเกณฑ์การแปลความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก
3 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อย
     1 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
    การประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 จำนวน ใช้กลุ่มตัวอย่างและประชากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นแหล่งข้อมูล ดังนี้
1.การประเมินด้านบริบท(Context Evaluation) ใช้ประชากรครูผู้สอน จำนวน 78 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ใช้ประชากรครูผู้สอน จำนวน 78 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
3.ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ใช้ประชากรใช้ประชากรครูผู้สอน จำนวน 78 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
4.การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ใช้ประชากรครูผู้สอน จำนวน 78 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
5.การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ใช้ประชากรครูผู้สอน จำนวน 78 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 จำนวน 1,039 คน และนักเรียนม.1-ม.6จำนวน 1,039 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินดำเนินการโดย ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ของกลุ่มตัวอย่างและประชากร และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ของกลุ่มตัวอย่างและประชากรแล้วนำผลของการคำนวณมาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
สรุปผลการประเมิน
    จากการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ผู้ศึกษาสรุปผลการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ได้ 2 ข้อ ดังนี้
     1. ผลการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 สามารถจำแนกเป็นรายด้านตามแนวทางการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) ได้ผลสรุปดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.50 ; = 0.27)
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก(= 4.40 ; = 0.24)
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งผู้ศึกษาได้ประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการตามขั้นตอนการบริหารงานคุณภาพวงจรเดมมิ่ง จำนวน 4 ด้าน คือ การวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ( Plan) การปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Do) การตรวจสอบประเมินผลแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Check) การพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Act) ดังนี้
1.3.1 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้( Plan) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.44 ; = 0.32)
1.3.2 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Do) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.48 ; = 0.33)
1.3.3 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบประเมินผลแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Check) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.44 ; = 0.23)
1.3.4 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Act) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40 ; = 0.23 )
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.41;S.D.= 0.24)      2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555ภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.47 ; S.D.= 0.29 )    อภิปรายผล
    จากผลสรุปการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 ซึ่งผู้ศึกษาได้สรุปผลการประเมิน ได้ 2 ข้อ และได้อภิปรายผล ดังนี้
     1. ผลการประเมินโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 สามารถจำแนกเป็นรายด้านตามแนวทางการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) ได้ผลสรุปดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.50 ; = 0.27) เนื่องจากโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 เป็นโครงการที่ผู้บริหารสถานศึกษาได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนในการดำเนินการ โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สร้างคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา นอกจากนี้หลักการและเหตุผลของโครงการมีความเหมาะสมและมีความชัดเจน และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ที่กล่าวไว้ว่า การประเมินด้านบริบทหรือประเมินเนื้อความ (Context Evaluation ) เป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาตามเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับธนาวรรณ แสวงไวศยสุข(2551 : 71-72) ได้วิจัยเรื่องการศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดไร่ขิงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 2 1)จากการศึกษาการใช้แหล่งเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดไร่ขิง ใน 4 ประเภทพบว่าครูผู้สอนได้ใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนดังนี้ 1.1) ประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล : ครูส่วนใหญ่นิมนต์พระสงฆ์มาสอนมากที่สุดรองลงมาได้แก่ ใช้แหล่งเรียนรู้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีไทย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมการแทงหยวก ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมดินขาว ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์แผนโบราณ และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านช่างปั้นปูนลวดลาย ตามลำดับ 1.2) ประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สำคัญ : ครูส่วนใหญ่นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้วัดไร่ขิงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ โบราณสถานองค์พระปฐมเจดีย์ บริเวณพุทธมณฑลพระราชวังสนามจันทร์ และพระประโทนเจดีย์ 1.3) ประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ : ครูส่วนใหญ่นำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้แม่น้ำท่าจีนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แหล่งเรียนรู้เชิงอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน แหล่งอาชีพทางการเกษตร แหล่งอาชีพทางการประมง แหล่งเรียนรู้ตลาดน้ำวัดดอนหวาย และแหล่งเรียนรู้คลองมหาสวัสดิ์ 1.4) ประเภทแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ : ครูส่วนใหญ่ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าจากสื่อ สิ่งพิมพ์ วารสาร หนังสือ ตำราจากห้องสมุดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศึกษาความรู้จากวิดีทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ศึกษาค้นคว้าจากโทรทัศน์ทางการศึกษา สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตตามโครงการห้องสมุดมีชีวิต และให้นักเรียนศึกษาสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2) จากการรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะการใช้แหล่งการเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดไร่ขิงพบว่า 2.1) ปัญหา พบว่าการใช้แหล่งเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดไร่ขิงขาดการวางแผนที่ดีการติดต่อประสานงานเชิญครูภูมิปัญญาท้องถิ่นขาดการจูงใจที่ดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาที่ต้องการมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน รายวิชาที่ทำการสอน เวลาที่ใช้ในการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษามีน้อยเกินไป ในการใช้แหล่งเรียนรู้แต่ละครั้งใช้งบประมาณจำนวนมาก 2.2) ข้อเสนอแนะ ควรมีการวางแผนที่ดี ชัดเจน ควรสรรหาวิทยากรท้องถิ่น ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เพียงพอ เหมาะสมและตรงตามสาขาที่ต้องการ ควรมีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และควรมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น
1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40 ; = 0.24) เนื่องจากจำนวนบุคลากรในโรงเรียนมีเพียงพอในการปฏิบัติงาน บุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนักในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม บุคลากรเป็นผู้มีความสนใจ ความรู้และมีความสามารถเหมาะสมในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมและงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม เพียงพอและบุคลากรมีส่วนร่วมวางแผนทุกขั้นตอนในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ที่กล่าวไว้ว่า การประเมินปัจจัยตัวป้อน (Input Evaluation) เพื่อค้นหาประสิทธิภาพขององค์ประกอบที่นำมาเป็นปัจจัยป้อน ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวอาจจะจำแนกเป็นบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ศักยภาพการบริหารงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ยังจำแนกย่อยออกไปอีก เช่นบุคคล อาจพิจารณาเป็น เพศ อายุ มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพึงพอใจ ความคาดหวัง ทัศนคติ ศักยภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิทางการศึกษา ถิ่นที่อยู่และลักษณะกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับสุวิทย์ ซื่อตรง(2550 : 156-160) ได้ประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี ผลการประเมินพบว่า ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนกับนโยบายโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เห็นว่าการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน การเสริมสร้างความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนกับความต้องการของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เห็นว่าการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนมีความสอดคล้องกับความต้องการด้านการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้เพียงพอและมีคุณภาพ ความสอดคล้องกับความต้องการด้านการดูแลนักเรียนที่เป็นนักเรียนประจำ ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านจำนวนและคุณภาพ บุคลากรประจำแหล่งเรียนรู้ ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ทุกแหล่งเรียนรู้มีความเหมาะสมของจำนวนและคุณภาพบุคลากรประจำแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับดีขึ้นไป ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ความเหมาะสมด้านแหล่งเรียนรู้ ด้านสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านความพร้อมของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการให้บริการในแหล่งเรียนรู้ ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ทุกแหล่งเรียนรู้มีความพร้อมของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการให้บริการในแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านความเพียงพอของงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ทุกแหล่งเรียนรู้มีความเพียงพอของงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ทุกแหล่งเรียนรู้ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดีขึ้นไปความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านความร่วมมือระหว่างครูประจำแหล่งเรียนรู้กับครูผู้สอนและนักเรียน ตามความเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยเห็นว่า ทุกแหล่งเรียนรู้มีความร่วมมือระหว่างครูประจำแหล่งเรียนรู้กับครูผู้สอนและนักเรียน อยู่ในระดับดีขึ้นไป ด้านความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการ พบว่า นักเรียนขาดทักษะในการสืบค้นและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในแหล่งเรียนรู้ต่างๆมีไม่เพียงพอ นักเรียนเข้าใช้แหล่งเรียนรู้น้อย ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อพักผ่อนและนันทนาการ บุคลากรที่รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ขาดความรู้ ความชำนาญในการจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้และไม่เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนางาน พบว่า ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการค้นคว้าจากห้องสมุด จัดหางบประมาณในการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้เพียงพอ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งผู้ศึกษาได้ประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการตามขั้นตอนการบริหารงานคุณภาพวงจรเดมมิ่ง จำนวน 4 ด้าน คือ การวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ( Plan) การปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Do) การตรวจสอบประเมินผลแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Check) การพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Act) ดังนี้
1.3.1 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการวางแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้( Plan) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.44 ; = 0.32) เนื่องจาก สถานศึกษามีการประชุมและชี้แจงให้ครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการและบุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงแผนปฏิบัติงานประจำปีและคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้มีจำนวนเพียงพอ สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า การวางแผนเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อจะทำงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ในการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบงาน ระยะเวลา และทรัพยากรที่จะต้องใช้ เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ และควรวางแผนการประเมินผลไปพร้อมกันด้วยเพื่อใช้กำกับตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนเพียงใด โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะประเมินเรื่องใด ใช้วิธีการ รูปแบบอย่างไรในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แผนการประเมินผลที่ดีควรสอดคล้องเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานตามปกติในชีวิตประจำวันของผู้บริหาร ครูและผู้เรียน
1.3.2 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการปฏิบัติตามแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Do) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.48 ; = 0.33) เนื่องจากสถานศึกษามีการกำหนดนโยบายการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างชัดเจนและสถานศึกษากำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการดำเนินงานในการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้และมีวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับจำรัส นองมาก ที่กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติตามแผนเป็นการบริหารแผน แผนงาน หรือโครงการของแต่ละคนตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ บุคลากรในหน่วยงานต่างปฏิบัติภารกิจตามที่ได้เตรียมการ หรือวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วในงานของตนเองที่ต่างก็มุ่งเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ฝ่ายบริหารสถานศึกษาจะทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งการกำกับติดตามเพื่อให้บุคลากรฝ่ายปฏิบัติทั้งที่รับผิดชอบงานเฉพาะตัวหรืองานเป็นกลุ่มได้ปฏิบัติงานโดยราบรื่นมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน หากจำเป็นต้องมีผู้นิเทศ แนะนำ เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จดียิ่งขึ้น ก็เป็นหน้าที่ ที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องคอยสอดส่อง ดูแล และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
1.3.3 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการตรวจสอบประเมินผลแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Check) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.44 ; = 0.23) เนื่องจากมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างเหมาะสม มีการประมวลผลข้อมูลอย่างถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพและวิธีการเก็บข้อมูลมีความเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับจำรัส นองมาก ที่กล่าวไว้ว่า การตรวจสอบและประเมินผล เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการปฏิบัติในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานประสบผลสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานหรือปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์และเป้าหมายของงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ในหน่วยงาน การตรวจสอบและประเมินผล เป็นการหาข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนางาน กิจกรรมนี้จึงถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนางาน ถ้าทำงานโดยไม่มุ่งหวังที่จะทำให้ดีขึ้นต่อไปก็คงไม่ต้องตรวจสอบและประเมินผลให้เสียเวลาแต่ในวัฏจักรของการทำงานเราต้องการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้งานดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงต้องใช้ผลจากการตรวจสอบและประเมินเป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป
1.3.4 ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาและปรับปรุงแผนจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้(Act) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40 ; = 0.23) เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลมีการประชุมร่วมกันเพื่อวางกรอบในการประเมินเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลและคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลมีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล นอกจากนี้การตรวจสอบประเมินผลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง ซึ่งสอดคล้องกับจำรัส นองมาก ที่กล่าวไว้ว่า การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน เป็นการปรับแก้ตามผลการตรวจสอบ และประเมินในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ถ้าผลการประเมินพบว่างานยังไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ก็จะต้องเร่งรัด ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือใช้เวลาในการทำงานให้มากขึ้น เพื่อจะสามารถทำงานที่คาดหวังไว้แล้วให้สำเร็จ แต่ถ้าผลการประเมินพบว่างานสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ในการดำเนินงานต่อไปก็จะได้ปรับเปลี่ยนตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น จะได้เป็นการท้าทายผู้ปฏิบัติ จึงเห็นได้ว่าการปรับปรุงการปฏิบัติงานสามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่างานที่ทำมาแล้วประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ ผลจากการปฏิบัติในลักษณะนี้ก็จะเกิดผลดีต่อสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาได้เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในทางที่ดี ที่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.41 ; S.D. = 0.24) เนื่องจาก โรงเรียนมีห้องสมุดสำหรับนักเรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ห้องสมุดโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ไว้บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเพียงพอและห้องสมุดโรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ หนังสือประเภทต่างๆ โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งการดำเนินงานโครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้โรงเรียนเมืองเชลียง ปีการศึกษา 2555 มีการวางแผนดำเนินงานเป็นขั้นตอนด้วยการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน นักเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาศัยการบริหารงานคุณภาพตามวงจรเดมมิ่ง PDCA ซึ่งเป็นการบริหารงานที่สามารถตรวจสอบการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องได้ตลอดเวลา อีกทั้งการนำแนวทางการประเมินโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจสอบตลอดเวลาของการดำเนินโครงการจึงทำให้ผลผลิตของโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเป็นไปตามเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2546) ได้กล่าวถึง
19 ม.ค. 2557 เวลา 21:31 น. 0 1,543
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^