LASTEST NEWS

22 ก.ย. 2566“ประวิต” แจงผลวิจัยประเมินเกณฑ์ PA ครูพอใจ หนุนก้าวหน้าวิชาชีพ 22 ก.ย. 2566ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2566 (เพิ่มเติม) 10 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต 4-10 ต.ค.2566 22 ก.ย. 2566“เพิ่มพูน”เข้ม! แก้หนี้ครูฯ หมายหัว"ผอ.สพท."หักเงินเดือนชำระเกิน 30% 22 ก.ย. 2566ก.ค.ศ.เผยผลวิจัยการใช้งานระบบ ว PA !!! ครูพึงพอใจสูงลิ่ว 21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model)

usericon

ชื่อวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย     นางยุภา เทพพรหม
ปีที่วิจัย     2564 - 2565

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model)
    วิธีดำเนินการวิจัยนี้ แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยการยกร่างองค์ประกอบของรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยการนำรูปแบบที่ผ่านการหาคุณภาพและปรับปรุงแล้ว ไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านกะลาพอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบเป็นการประเมินผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์การคำนวณหาประสิทธิภาพ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านหลักการและวิธีดำเนินการเรียนรู้ มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือกโจทย์ปัญหาที่น่าสนใจมาให้นักเรียนฝึกฝนอย่างหลากหลาย รองลงมาคือ ด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และด้านการประเมินผล การเรียนรู้ ตามลำดับ จากการสอบถามความต้องการของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ในระดับมาก
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและการประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาประสิทธิภาพกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ในปีการศึกษา 2564 เท่ากับ 77.75/76.67 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
    3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบประเด็นสรุปได้ ดังนี้
    3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละการพัฒนา 32.16
    3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนผลการประเมินทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 80.98
    4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบประเด็นสรุปได้ ดังนี้
    4.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีมาตรฐานความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด
    4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไอพาวี (IPAV Model) เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <