LASTEST NEWS

23 ก.ย. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลสอบ ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ภาค ก ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 22 ก.ย. 2566“ประวิต” แจงผลวิจัยประเมินเกณฑ์ PA ครูพอใจ หนุนก้าวหน้าวิชาชีพ 22 ก.ย. 2566ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2566 (เพิ่มเติม) 10 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต 4-10 ต.ค.2566 22 ก.ย. 2566“เพิ่มพูน”เข้ม! แก้หนี้ครูฯ หมายหัว"ผอ.สพท."หักเงินเดือนชำระเกิน 30% 22 ก.ย. 2566ก.ค.ศ.เผยผลวิจัยการใช้งานระบบ ว PA !!! ครูพึงพอใจสูงลิ่ว 21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน

ผลงานนวัตกรรม "lab วิทย์ คิดกับ PhET.colorado"

usericon

สามารถเข้าชมได้ที่เพจโรงเรียนบ้านโคกพนมดี
https://www.facebook.com/photo?fbid=807122607872971&set=pcb.807123201206245
หรือทางเว็บไซต์ www.kpd.ac.th
ชื่อผลงาน/นวัตกรรม    Lab วิทย์ คิดกับ PhET.colorado
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านโคกพนมดี จึงมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาความรู้แบบบูรณาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันในแต่ละสาระการเรียนรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ออกมาในรูปแบบต่างๆได้ ประกอบกับในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากขึ้น ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเสมอไป โดยเฉพาะการเรียนวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้ที่มีรายละเอียดมาก และต้องมีการฝึกปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงได้มีการจำลองห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงเกิดขึ้น โดยห้องปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงเป็นห้องปฏิบัติการทดลองที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็น และมีคุณภาพเช่นเดียวกับห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการทดลองจริงทุกประการอีกทั้งการทดลองบางประการมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และอันตรายที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำและการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้การทดลองวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานกับการเรียนผ่านแบบจำลองการเรียนรู้บทเรียนแบบ simulation ที่เว็บไซต์ https://phet.colorado.edu/th/ โดยข้าพเจ้านำไปใช้ในการเรียนการสอนและผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้ทบทวนด้วยตนเองช่วยเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้ ในเว็บไซต์จะมีแบบจำลองของบทเรียนออกมาเป็นลักษณะ visual animation graphic เพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ได้ชัดเจนขึ้น โดยในแบบจำลองการเรียนรู้แต่ละแบบ ผู้เรียนสามารถปรับแต่งค่าเพื่อทำการทดลองได้ด้วยตนเองและเห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงได้ทันที ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นบทเรียนบางอย่างมีข้อจำกัดไม่สามารถจำลองหรือทดสอบแบบจริงๆได้ หรือไม่สามารถทำซ้ำๆได้หลายครั้ง รวมถึงไม่มีภาพให้เห็นได้ชัดเจน ทั้งจากการทดลองภาคสนามจริง เช่น การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ข้าพเจ้าพบว่าแบบจำลองเพื่อช่วยในการเรียนการสอนดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งในการทดลอง ลดงบประมาณและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทดลองด้วย
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    2.1 จุดประสงค์
        2.1.1 เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
        2.1.2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดผ่านเว็บไซต์ https://phet.colorado.edu/th/
        2.1.3 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม
        2.1.4 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกและนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าเผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งภายในสถานศึกษาและชุมชนภายนอก
    2.2 เป้าหมาย
    เชิงปริมาณ
        นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน ได้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ โดยใช้เว็บไซต์ https://phet.colorado.edu/th/
    เชิงคุณภาพ
        นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <