LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การพัฒนากิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

usericon

แผนการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย เป็นแนวทางการจัดประสบการณ์ที่สนองต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนิน การจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ ขั้นนำสู่มโนทัศน์ ขั้นพัฒนาด้วยกิจกรรมศิลปะ และขั้นสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้
จุดมุ่งหมาย
    เพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ 4 ด้าน ดังนี้
    1. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือ ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    2. ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่าย ๆ ไม่ซ้ำกับใคร
    3. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) คือ เป็นความคิดในเรื่องเดียวกันที่ไม่ซ้ำกัน ในด้านต่าง ๆ เช่น การเลือกใช้ถ้อยคำ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ เป็นต้น
    4. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) คือ ประเภทหรือแบบของความคิดที่อาจนำเสนอเรื่องราวเดียวกันในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ตายตัว ความพยายามคิดได้หลายอย่างต่าง ๆ กัน เช่น ประโยชน์ของก้อนหินมีอะไรบ้าง หรือความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
เนื้อหา
    เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ ระดับชั้นอนุบาล 3 ประยุกต์ใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมการวาดภาพระบายสี กิจกรรมการพิมพ์ภาพ กิจกรรมการปั้น กิจกรรมปะติดภาพ กิจกรรมการร้อย กิจกรรมการสาน และกิจกรรมการประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานจากวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก มีความหลากหลาย โดยเด็กปฐมวัยเป็นผู้เลือกและสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง
หลักการจัดกิจกรรม
    1. ใช้แผนการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 50 นาที จัดในช่วงกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตั้งแต่เวลา 9.40–10.30 น.
    2. ขั้นตอนการใช้แผนการจัดประสบการณ์มีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
     2.1 ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ หมายถึง การนำเข้าสู่กิจกรรม โดยมีสิ่งเร้ากระตุ้นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระที่ต้องการให้เด็กนักเรียนเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ นิทาน ของจริง ของจำลอง ภาพ กิจกรรม เกม ละคร งานศิลปะ จูงใจให้เด็กคิดและติดตาม โดยใช้คำถามหรือสนทนา หรือการอภิปราย การสังเกต การค้นหา
     2.2 ขั้นนำสู่มโนทัศน์ หมายถึง การกระตุ้นให้เด็กสะท้อนคิดด้วยการโยงข้อความรู้ที่เด็กเคยเรียนมากับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ เพื่อให้เด็กขยายความรู้ ความเข้าใจให้มากขึ้น ใช้คำถามให้เด็กตอบคำถามจากมโนทัศน์ของเด็กที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กเอง
     2.3 ขั้นพัฒนาด้วยกิจกรรมศิลปะ หมายถึง การมอบหมายให้เด็กถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจ หรือสาระที่เรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามรูปแบบศิลปะที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
     2.4 ขั้นสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้ หมายถึง ขั้นตอนการสรุปความรู้ อาจใช้การถามให้เด็กได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจสาระที่เรียนจากงานศิลปะที่ทำโดยครูกับเด็ก สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
     3. ให้เด็กมีอิสระในการปฏิบัติจากวัสดุอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนมีบทบาทในการคอยช่วยกระตุ้นให้เกิดการคิด และแสดงความชื่นชมในผลงานที่เด็กสร้างขึ้น
การประเมินผล
    1. ประเมินผลจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
    2. ประเมินผลจากผลงานเด็ก
pichadaRJ 01 เม.ย. 2566 เวลา 19:11 น. 0 330
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^