LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวจิราพร นิลพันธ์
ปีที่ศึกษา     2565

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) รูปแบบการเรียน การสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ ทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t–test (Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน ซึ่งขั้นตอนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นและทบทวนมโนทัศน์ (M : Motivation & Concept review) (2) ขั้นสำรวจและค้นหา (I : Inquiry and Exploration) (3) ขั้นสร้างผลงาน (Create Project) และ (4) ขั้นประเมิน (Evaluation : E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.74/84.24
    2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
nidji5296 23 มี.ค. 2566 เวลา 19:14 น. 0 278
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^