LASTEST NEWS

05 มิ.ย. 2566สพป.กรุงเทพมหานคร ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 05 มิ.ย. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 ทั่วประเทศ 05 มิ.ย. 2566โรงเรียนอุดมดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 9,960.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ –13 มิถุนายน 2566 04 มิ.ย. 2566กรมพลศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท (ไม่ต้องผ่านภาค ก สมัครออนไลน์) 04 มิ.ย. 2566มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รับสมัครพนักงานราชการ สายวิชาการ 100 อัตรา เงินเดือน 26,250-31,500 บาท 04 มิ.ย. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 ทั่วประเทศ 04 มิ.ย. 2566คุรุสภาเตือน “ครู-บุคลากรการศึกษา” อย่าริทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ  04 มิ.ย. 2566โรงเรียนวัดลำน้ำ (กัลยาณราษฎร์บำรุง) รับสมัครครูเอกวิทยาศาสตร์ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.-บาท 04 มิ.ย. 2566โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาอำเภอปาย รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 5,800.-บาท 04 มิ.ย. 2566ก.ค.ศ.กำหนด หลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอน ที่ใช้สมัครสอบครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องแสงและการมองเห็น

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิด                    สร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย                    นายกวินวัชช์ ธีรฤทธิ์เฉลิม
ตำแหน่ง                ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด                    โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง
ปีที่พิมพ์                2565

    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทและความต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ประยุกต์เอากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอน มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .30-.80 มีค่าอำนาจจำแนก .27 ถึง .73 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 (4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1.    โดยภาพรวมผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองเห็นว่า โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง มีความพร้อมด้านบริบทที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าสะเต็มศึกษาจะเป็นประโยชน์กับนักเรียน นักเรียนต้องการให้ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องการเรียน และความต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
    2.    รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและความต้องการจำเป็นของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ประยุกต์เอากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอน มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อทดลองภาคสนาม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง จำนวน 22 คน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.50/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และเมื่อนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่องแสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดเกาะกลาง จำนวน 20 คน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/82.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการจัดการเรียนการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 4 แผน พบว่า
        3.1        ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความกระตือรือร้น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนด้วยกัน มีการร่วมมือกันในการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างดี และมีคะแนนการทดสอบย่อยหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ในทุกกิจกรรม
        3.2        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาสะเต็มศึกษา ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
        3.3        ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
    4.    ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสงและการมองเห็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
niramol1979 22 มี.ค. 2566 เวลา 10:36 น. 0 72
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <