LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปร

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญา
    ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์
ชื่อผู้จัดทำ    นางสาวกุลวณิช มีกุล
    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์” เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 3) เพื่อประเมินคู่มือการใช้ฯและผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน ประกอบด้วย ตำแหน่ง (ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้แทนศิษย์เก่า/ผู้แทนผู้ปกครอง) หัวหน้างานวิชาการ 1 คน ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 คน และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น (เศรษฐกิจพอเพียง) จำนวน 1 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน (สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นและสถานศึกษาพอเพียง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน (ตำแหน่งตัวแทนองค์กรชุมชน/ตัวแทนครู) ผู้ซึ่งมีความรู้ด้านปราชญ์ชาวบ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 คน ศึกษานิเทศ 1 คน และผู้วิจัยได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อตรวจสอบ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ที่มีต่อรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ และครูผู้สอน 17 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรูปแบบฯ และแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 3 ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .98 ประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ในการนำไปใช้การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผลการใช้รูปแบบฯกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูภมิปัญญา (ปราชญ์ชาวบ้าน) จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 คน และครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
(1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ พบว่ามี 6 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย ไม่มีการตัดสินใจร่วมกันในการทำกิจกรรมพัฒนาผูเรียนให้ชัดเจน 2) ด้านหลักสูตร ไม่มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ด้านบุคลากร ครูขาดวิธีการถ่ายทอดความรู้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ด้านผู้เรียนนักเรียนขาดความตระหนักในการวางแผนอย่างรอบคอบในการดำเนินชีวิต ขาดวินัยใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง 5) ด้านงบประมาณ ขาดการส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 6) ด้านการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ขาดการส่งเสริมให้มีการศึกษานอกสถานที่อย่างหลากหลาย และองค์ประกอบรูปแบบฯ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน มีการกำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ 2) ด้านการปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ วางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมิน ปรับปรุงและรายงาน ร่วมกันปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอน 3) ด้านการตรวจสอบ การตรวจสอบยึดเกณฑ์มาตรฐาน ตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 4) ด้านการปรับปรุงสะท้อนผล มีการนำผลประเมินการจัดกิจกรรมของผู้เรียน ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น 5) ด้านการพัฒนา มีการส่งเสริมจัดทำหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2) รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการพัฒนา 3) ด้านการปรับปรุงและสะท้อนผล 4) ด้านการปฏิบัติตามแผน และ 5) ด้านการตรวจสอบ
(3) ผลการประเมินคู่มือฯและผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์
3.1 ผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก และความมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯด้านหลักการและเหตุผล โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81) มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.48) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.82) ด้านวัตถุประสงค์ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.39) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.68) ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.58) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.42) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.61) ด้านการวางแผน โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.66) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.44) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.61) ด้านการปฏิบัติตามแผน โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.73) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.57) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.72) ด้านการตรวจสอบโดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.56) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.64) ด้านการปรับปรุงสะท้อนผล โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.76) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.58) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.77) ด้านการพัฒนา โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.51) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.68) ด้านแนวทางประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯ โดยรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.49) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81) ) ด้านเงื่อนไขความสำเร็จในการนำคู่มือการใช้รูปแบบไปใช้ โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ("x" ̅ = 4.75) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.49) และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.81)
3.2 ผลการใช้รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ พบว่า ผลการใช้รูปแบบฯ โดยรวม คิดเป็นร้อยละ 96.30 ซึ่งมีด้านที่สำคัญเรียงจากมากไปน้อย 5 ลำดับ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการพัฒนา 3) ด้านการตรวจสอบ 4) ด้านการปฏิบัติตามแผน และ 5) ด้านการปรับปรุงและสะท้อนผล ในแต่ละด้านปรากฏผลดังนี้
1. ด้านการวางแผน ผลปรากฏว่า มีกิจกรรมสำคัญทุกข้อ เช่น มีการกำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับสถานศึกษานำสู่การปฏิบัติ มีการเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และร่วมกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
2. ด้านการปฏิบัติตามแผน ผลปรากฏว่า มีการร่วมกันปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอน และ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการนิเทศ กำกับ ดูแล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
3. ด้านการตรวจสอบ ผลปรากฏว่า มีการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบตามความเหมาะสม
4. ด้านการปรับปรุงและสะท้องผล ผลปรากฏว่า นำผลประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนปรับปรุงปแก้ไขให้ดีขึ้น และประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรม
5. ด้านการพัฒนา ผลปรากฏว่า มีกิจกรรมที่สำคัญทุกข้อ คือมีการจัดทำหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีเป้าหมายเดียวกันทุกระดับ มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง มีการเชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้กับครู นักเรียน มีการจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เช่น แปลงผักสวนครัว โรงเพาะเห็ด มีการให้ผู้เรียนไปฝึกศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา และมีการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(4) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (xˉ=4.64, S.D.=0.48)
จากตาราง พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ ด้านผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนรู้วิธีการปลูกผักสวนครัว เพื่อนำไปสร้างเป็นคลังอาหาร และใช้ในครัวเรือนได้ (กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.30) ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดจากวิทยากร และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง (กิจกรรมการเพาะเห็ด) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.20) ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ (กิจกรรมการแปรรูปอาหาร กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์อบใบเตย) อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.40) ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ (กิจกรรมตลาดนัดโรงเรียน) อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.50) ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการอดออม (กิจกรรมออมไม่อด) และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.70) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมในโครงการฯ ผู้เรียนมีเงินออมมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.60) ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ และรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.80) นักเรียนสามาถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลครอบครัวของตนเองได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.10) และสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.00) โดยรวมผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานและปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก ("x" ̅ = 4.40)
pichetadmin1 07 มี.ค. 2566 เวลา 08:48 น. 0 166
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^