LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจร

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดบึงลำ
ชื่อผู้ประเมิน นายอัษฎาวุธ สอนง่าย
ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดบึงลำ ในองค์ประกอบ 4 ด้าน ต่อไปนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการและผลกระทบของโครงการ(ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ) ประชากรที่ใช้คือ ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบึงลำรวมทั้งสิ้น 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับบริบท ปัจจัยนำเข้า และกระบนการของโครงการ 2) ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน วัดบึงลำ เกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ และผลกระทบของโครงการ(ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานได้ส่งแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coeffcient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95 - 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดบึงลำ ดังต่อไปนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกิจกรรมของโครงการสามารถช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้ดีขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดมี 4 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือข้อโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมได้อย่างชัดเจน ข้อวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ข้อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการ และข้อกิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ ข้อเอกสารที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ ข้อเอกสารที่ใช้ในการดำเนินโครงการช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และข้อกิจกรรมของโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือข้อ มีป้ายนิเทศ ป้ายศีล 5 ป้ายคติธรรม คำขวัญ คุณธรรม จริยธรรม ติดตาห้องเรียน อาคาร และบริเวณโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ ข้อโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 มีการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน และข้อมีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรต่างๆในชุมชนให้มีส่วนร่วมกับโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มี 2 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือข้อมีดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในโครงการและข้อขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่องอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิตของโครงการ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินการนำศีลไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อการนำ(ศีลข้อที่ 5) ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อการนำ(ศีลข้อที่ 2) ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมากที่สุด และภาพรวมผลการประเมินของคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนที่แสดงออกผ่านการกระทำหรือพฤติกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อฺความยุติธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมอยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินผลด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อความคิดเห็นที่มีสภาพที่ปฏิบัติหรือมีความสอดคล้องโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 มีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือข้อโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ทำให้นักเรียน มีวินัยในตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการผลการประเมินผลด้านผลกระทบของโครงการ (ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดบึงลำ) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบย่อย พบว่า ข้อโครงการนี้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือข้อขั้นตอนการจัดกิจกรรมตามโครงการมีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อยู่ในระดับมาก

asdicino 14 ก.พ. 2566 เวลา 10:09 น. 0 235
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^