LASTEST NEWS

12 ก.ย. 2567สพม.สระแก้ว แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง ครูผู้สอน  12 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 ก.ย. 2567ประกาศแล้ว รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567 11 ก.ย. 2567สพฐ.เชิงรุกลดภาระครูต่อเนื่อง เน้นย้ำ “ประเมินเลื่อนเงินเดือนครู” งดจัดนิทรรศการ งดทำรูปเล่มเอกสาร ใช้เทคโนโลยีช่วย 11 ก.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5581 ลงวันที่ 10 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 11 ก.ย. 2567ด่วน! ก.ค.ศ.อนุมัติจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้ สพฐ. จำนวน 12,502 อัตรา เฉพาะตำแหน่งครูผู้ช่วย 10,303 อัตรา 11 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ก.ย. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลครูผู้ช่วยอาชีวะ ปี 2567 หลัง 17.00 น. วันที่ 10 ก.ย.67 10 ก.ย. 2567ศูนย์สอบธรรมศาสตร์ แจ้งร้อยละผู้สอบผ่าน ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวะ 2567 แยกกตามสาขาวิชา 10 ก.ย. 2567นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล “นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี”

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active
Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ผู้วิจัย        นางสาวจินตนา ศุภกรธนสาร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปีที่ทำการวิจัย    ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓

บทคัดย่อ

    ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๕) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ระยะที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ จำนวน ๔ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๗ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบ ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๒ จำนวน ๓๗ คน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ ๐.๘๐–๑.๐๐ ค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๓๒–๐.๗๖ และมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๓๒–๐.๗๗ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓ แบบแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ ๐.๖๐ – ๑.๐๐ ระยะที่ ๔กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จำนวน ๙ คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความคิดเห็น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ ๐.๘๐-๑.๐๐ ตั้งแต่ ๐.๔๙ – ๐.๗๙ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๑ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
    
ผลการวิจัยพบว่า
๑.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนยังเน้นการอธิบาย ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วนักเรียนปฏิบัติตาม จึงไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงไปสู่การคิดสร้างสรรค์ให้บรรลุเป้าหมายได้ ครูยังให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอน แล้วนักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่ครูอธิบายเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ถูกต้อง ไม่ได้สนับสนุนและเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหาแนวทาง แบบแผนการปฏิบัติที่แตกต่างหลากหลายด้วยวิธีการแบบใหม่ อีกทั้งนักเรียนจดจำวิธีการปฏิบัติวิธีตามขั้นตอนที่ครูอธิบายแนะนำไว้เท่านั้น ขาดการฝึกคิดค้นหาวิธีการตามแนวทางใหม่ จึงส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติที่ดี
๒. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) สิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Reviewing : R) ขั้นที่ ๒ การแสวงหาความรู้ใหม่ (Seeking New Knowledge) ขั้นที่ ๓
ฝึกทักษะและการนำไปใช้ (Practice and applying : P) ขั้นที่ ๔ สื่อสารและนำเสนอ (Communication and presentation : C) และ ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้ (Concluding and applying principles : C) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓
๓. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๔.๕๓/๘๔.๓๐ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๕) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
๔. ผลการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนรายวิชาการงานอาชีพต่อการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (RSPCC Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^