LASTEST NEWS

16 เม.ย. 2567โรงเรียนบ้านลานช้าง รับสมัครนักการภารโรง วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 เมษายน 2567 15 เม.ย. 2567เปิดคุณสมบัติ ตำแหน่งนักการภารโรง สพฐ.จัดสรร 13,751 อัตรา วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000 บาท 15 เม.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) 15 เม.ย. 2567ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ห้ามผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งให้ครู-บุคลากร อยู่เวร 15 เม.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ แจ้งเรื่อง การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ. 2567  14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระแก้ว เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 1 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.เชียงราย เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงราย เขต 4 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 1

กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู

usericon

หัวข้อการวิจัย    กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา        2564
ชื่อผู้วิจัย        นางเพ็ชชรี อ้นทองทิม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู และแนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐานพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์โดยดำเนินการวิจัย ใน 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู และแนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 451 คน ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วจึงสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบายเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) พบว่า 1) ระดับการดำเนินงานส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (1) ด้านนโยบาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.32, S.D. = 0.66) และการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์หรือแผนงาน มีความสำคัญมากต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.30, S.D. = 0.58) และหน่วยงานต้นสังกัดและผู้บริหารสถานศึกษาต้องสนับสนุน ทั้งงบประมาณและระบบที่จะเอื้ออำนวยให้ครูมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยอาจใช้เครือข่ายความร่วมมือจากภายนอก ทั้งในรูปแบบของความร่วมมือด้านวิชาการและการเปิดโอกาสให้ครูแสดง ผลงานเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนให้ดียิ่งขึ้น (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.39, S.D. = 0.68) และควรมีการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเร่งด่วน ในด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ (4) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.47, S.D. = 0.64) และผลคะแนนการทดสอบระดับชาติด้านการคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกรายการ 2) สภาพปัจจุบันในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู (1) ด้านนโยบาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.41, σ = 0.63) และโรงเรียนมีการกำหนดเป้าหมาย ในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูได้อย่างเหมาะสม (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.44, σ = 0.56) และรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัดต้องสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสมรรถนะครู (3) ด้านกระบวนการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.41, σ = 0.62) และครูได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนในการพัฒนาตนเอง และ (4) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.45, σ = 0.65) และครูนําผลการวิจัยมาใช้และแก้ไขปรับปรุงพัฒนาด้านการเรียนการสอน 3) สภาพปัญหา การดำเนินการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ข้อมูลดังนี้ (1) ด้านนโยบาย พบว่า รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด และโรงเรียน ล้วนกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม แต่ขาดความชัดเจนในแนวการดำเนินการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน พบว่า ครูขาดโอกาสการอบรม ทบทวน เพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์หลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน เน้นให้นักเรียนท่องจำ มิได้ปลูกฝังให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (4) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4) สภาพปัญหาการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู ของโรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ข้อมูลดังนี้ (1) ด้านนโยบาย พบว่า การพัฒนาครูในปัจจุบัน ยังไม่มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานที่ชัดเจน แม้ว่าหน่วยงานต่าง ๆ จะจัดโครงการพัฒนาครูเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังซ้ำซ้อน ไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพและขาดความต่อเนื่อง (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน พบว่า ขาดงบประมาณในการสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน (3) ด้านกระบวนการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู พบว่า กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูขาดความต่อเนื่อง และขาดความจริงจัง ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน (4) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู พบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 5) แนวทางในการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ควรพัฒนาสมรรถนะครูในด้านความรู้ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นครู และด้านการพัฒนาตนเอง โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูควบคู่กันไปด้วย

ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ดำเนินการออกแบบและพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู ตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการบริหาร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติมีประสบการณ์เกี่ยวกับบริหารสถานศึกษา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามและเทคนิคเดลฟาย พบว่า 1) กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านความรู้ สมรรถนะด้านทักษะในการปฏิบัติงาน สมรรถนะด้านความเป็นครู และสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (Exploring Needs) ขั้นที่ 2 วางแผนการพัฒนา (Designing Program) ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผนพัฒนา (Taking Action) และขั้นที่ 4 ติดตาม และประเมินผลการพัฒนา (Evaluate Program) องค์ประกอบที่ 3 ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนา (Goal setting) (2) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม (Lesson planning) (3) วิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม (Debate) (4) การปฏิบัติ (Learning activities) (5) สะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนา (Reflection) และ (6) สร้างเครือข่าย ขยายผล (Network) องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการจำแนก ทักษะการจัดหมวดหมู่ ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการสรุปความ และทักษะการประยุกต์ 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน ว่าองค์ประกอบของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูที่กำหนด สมควรใช้เป็นองค์ประกอบของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐานและมีความถูกต้องครอบคลุมมากที่สุด ทุกองค์ประกอบ

ระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู และวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรค ของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยการสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง พบว่า 1) ระดับ การดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.62, σ = 0.51) 2) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงานตามกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู มีดังนี้ (1) ครูได้รับการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ขณะปฏิบัติงาน การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการจัดการความรู้ คิดเป็นร้อยละ 100 (2) ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมมีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.63, S.D. = 0.47) (3) ครูทุกคนจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียนจากกระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (4) ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 อยู่ในระดับมีทักษะมากที่สุด (5) ผลคะแนนการทดสอบระดับชาติด้านการคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกรายการ 3) จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและอุปสรรค ของกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู (1) จุดเด่น คือ มีกระบวนการในพัฒนาสมรรถนะครูด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นไปตามความต้องการจำเป็นของครูจากการสอบถามความเห็นของครู อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ขณะปฏิบัติงาน การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการความรู้ จึงเป็นกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครูที่ตรงตามความต้องการ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และบริบทของโรงเรียน (2) จุดด้อย คือ การที่พัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูให้ยั่งยืน ต้องอาศัยการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตนเอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทุกปีการศึกษา (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ สมรรถนะในการปฏิบัติงานและศักยภาพของครูและบุคลากรมีความหลากหลาย ทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นครู และด้านการพัฒนาตนเอง ที่มาจากพื้นฐานและบริบทที่หลากหลายและแตกต่างกัน เป็นปัจจัยที่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนการพัฒนาให้ตรงตามศักยภาพของครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะเท่าเทียมกัน

ระยะที่ 4 กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 283 คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วจึงสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ที่มีต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ พบว่า กระบวนทัศน์การพัฒนาสมรรถนะครู มีคุณภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
doreing 17 ม.ค. 2566 เวลา 13:40 น. 0 316
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^