LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสต

usericon

หัวข้อการประเมิน    โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐาน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา        2563
ชื่อผู้ประเมิน        นางเพ็ชชรี อ้นทองทิม
    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ
การประเมินในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐาน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPPIEST Model ตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ด้านผลกระทบ (Impact) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ด้านความยั่งยืน (Sustainability) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 485 คน จำแนกเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครู จำนวน 46 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 229 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดทำหลักสูตรของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 5) แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจ ระดับความสามารถ ระดับทักษะ และระดับเจตคติ และการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ และแบบสัมภาษณ์
    

ผลการประเมิน พบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบทโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของกิจกรรมในโครงการที่สามารถดำเนินการได้จริง เหมาะสมต่อการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เนื่องจากห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและสภาพบริเวณโดยรอบ ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีการประชุมจัดทำแผนงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการกำหนดภารกิจของผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า คุณภาพของผู้เรียนมีผลออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากเห็นผลชัดเจนในด้านผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีขึ้น ดังนี้ 4.1) ความสามารถในการจัดทำหลักสูตรของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2) นักเรียนมีระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3) นักเรียนมีระดับเจตคติทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.4) นักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐาน โรงเรียนพนมมาศพิทยากร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลการประเมินด้านผลกระทบ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนพนมมาศพิทยากรได้รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ในระยะที่ 4 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีการศึกษา อันเกิดจากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา 6) ผลการประเมินด้านประสิทธิผล โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการดำเนินงานโครงการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม และครูมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมมากขึ้น 7) ผลการประเมินด้านความยั่งยืนโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โครงการควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินโครงการต่อไป และ 8) ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โครงการสามารถเป็นแบบอย่างขยายผลให้กับโรงเรียนอื่นได้




doreing 17 ม.ค. 2566 เวลา 13:34 น. 0 342
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^