LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     : นายฉัตรชัย ไชยราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย    : 2564

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีโดยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูคณิตศาสตร์ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูที่เป็นตัวแทนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม และระยะที่ 4 ประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) วิเคราะห์ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง () สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ใช้สื่อที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน ส่วนความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ จัดบรรยากาศภายในห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้การสอนให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่สนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) แนวคิดการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นจัดกลุ่ม ขั้นที่ 2 ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดแนวทางแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 5 ขั้นการสะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผลการเรียนรู้
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลและมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มพูนประสบการณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก
Chatchai 15 ม.ค. 2566 เวลา 23:48 น. 0 270
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^