LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.ตรัง กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน     นายพงษ์ธร วชิระปราการพงษ์
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของการดำเนินโครงการ 2. เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของการดำเนินโครงการ 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการของการดำเนินโครงการ 4. เพื่อประเมินความเหมาะสมของผลผลิตของการดำเนินโครงการ
    ในการประเมินครั้งนี้กลุ่มประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลรวมจำนวนทั้งสิ้น 779 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 103 คน นักเรียน จำนวน 338 คน ผู้ปกครอง จำนวน 338 คน การกำหนดขนาดประชากรของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie; & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1. แบบสอบถามสำหรับ ครู ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) 2. แบบสอบถามสำหรับ ผู้ปกครองและครู ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 ด้านผลผลิต (Product) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
    ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต ตามลำดับ
    1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า โครงการมีเป้าหมายเพื่อช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า การบริหารจัดการงบประมาณมีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมทุกกิจกรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า กิจกรรมครูประจำชั้นมืออาชีพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนและกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
    3.1 กิจกรรมครุประจำชั้นมืออาชีพ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า การวางแผนดำเนินกิจกรรมครูที่ปรึกษาประจำชั้นมืออาชีพและการดำเนินการในการให้ความรู้แก่บุคลากร เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    3.2 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า การดำเนินการการเยี่ยมบ้านนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    3.3 กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า การรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า กลุ่มครูผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผู้ปกครองและนักเรียน ตามลำดับ
    4.1 กลุ่มครูผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า นักเรียนได้รับการเยี่ยมบ้านนักเรียน และโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    4.2 กลุ่มผู้ปกครองผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า นักเรียนได้รับการเยี่ยมบ้านนักเรียน มาตรฐาน และนักเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
4.3 กลุ่มนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า นักเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
    สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผู้ปกครองและนักเรียน ตามลำดับ โดยกลุ่มครู มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้ปกครองเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีความสามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้

pt_deng 10 ม.ค. 2566 เวลา 15:47 น. 0 356
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^