LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยฯ

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

โดย    สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    
    
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยมีวัตถุประสงค์ เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงในปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 43 คน การศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ยกร่างรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น 12 คน และตรวจสอบร่างรูปแบบโดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบฯ จากผลการดำเนินงาน ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านผลกระทบ โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูล จากนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 144 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ด้านความเป็นประโยชน์ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบ โดยการสอบถาม คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 52 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า
จากสภาพบริบทโรงเรียนที่เป็นชุมชนเกษตรกรรมส่งผลให้นักเรียนได้รับผลกระทบด้านสารเคมีปนเปื้อนทางการเกษตร จึงควรส่งเสริมการเพาะปลูกและบริโภคผักปลอดภัยในโครงการอาหารกลางวันและครอบครัว โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมเจตคติ ความรู้ คุณธรรม ทักษะในการปฏิบัติการ
ทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า รูปแบบฯ ประกอบด้วย
3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการปฏิบัติการ 3) ผลการดำเนินงาน ผลการตรวจสอบ
ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุดทุกองค์ประกอบ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
    3.1 ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนทุกคนได้รับการเสริมสร้างความตระหนัก เจตคติ ความรู้ คุณธรรม ทักษะในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ผลการตรวจสารเคมมีปนเปื้อนทางการเกษตรในร่างกาย พบว่ามีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงลดลง ครูผู้สอนทุกคน ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
    3.2 ด้านผลลัพธ์ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.65) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านตามลำดับคือด้านผู้เรียน ( x-bar = 4.83)
ด้านสถานศึกษา ( x-bar = 4.82) ด้านครูผู้สอน ( x-bar = 4.74) ด้านผู้ปกครอง ( x-bar = 4.69) และ ด้านชุมชนและเครือข่ายทางการศึกษา ( x-bar = 4.68)
3.3 ด้านผลกระทบ ผลการประเมินโดยภาพรวม มีผลกระทบอยู่ในระดับมากที่สุด
( x-bar = 4.75) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับ คือ มิติด้านสังคม ( x-bar = 4.84) มิติ
ด้านเศรษฐกิจ ( x-bar = 4.77) มิติด้านสิ่งแวดล้อม ( x-bar = 4.72) และมิติด้านวัฒนธรรม ( x-bar = 4.68)
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
4.1 ผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวม เห็นว่ามีความเป็นประโชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.77) และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับคือ
( x-bar = 4.83) ด้านผู้เรียน ( x-bar = 4.80) ด้านครูผู้สอน ( x-bar = 4.77) และ ด้านผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งด้านเครือข่ายทางการศึกษา ( x-bar = 4.72)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบฯ พบว่า โดยภาพรวม
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.77) และมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับคือ ด้านกระบวนการปฏิบัติการ ( x-bar = 4.84) ด้านผลการดำเนินงาน ( x-bar = 4.81) และ ด้านปัจจัยนำเข้า ( x-bar = 4.65)

songklodd 06 ธ.ค. 2565 เวลา 09:35 น. 0 402
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^