LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารระบบประกันคุณภาพ

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้รูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประกอบด้วยการประเมินด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ประเมินบริบท (Context) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ประเมินกระบวนการ (Process) และ 4) ประเมินผลผลิต (Product) และเพื่อพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 คน กลุ่มที่ 3 ครูผู้สอนโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 84 คน กลุ่มที่ 4 กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,760 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของ Krejcie และ Morgan นำมาเทียบxxxส่วนร้อยละกับจำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้นและระดับห้องเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 315 คน กลุ่มที่ 5 ผู้ปกครองนักเรียน ได้มาจากผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้มีจำนวน 4 ฉบับ แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ดังนี้ ฉบับที่ 1 ประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) ฉบับที่ 2 ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ฉบับที่ 3 ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) ฉบับที่ 4 ประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
            ผลการประเมินโครงการในภาพรวมทุกด้าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่า เกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ใน ระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) กิจกรรมของโครงการช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาได้ดีขึ้น 2) สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ และ 3) โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาสถานศึกษาที่พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ 2) โรงเรียนมีอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมเพียงพอกับการดำเนินโครงการ และ 3) โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับท้องถิ่นและชุมชน ด้านกระบวนการดำเนินงาน ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) การประชุมวางแผนการแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานมีความชัดเจน 2) บุคลากรหรือผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงาน และ 3) การสะท้อนผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้ทราบอย่างทั่วถึง ด้านผลผลิต ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) ด้านครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงตามตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาอิงตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์การประเมิน 2) การดำเนินงานตามโครงการนี้ส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการระบบบริหาร และการประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมากสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน และ 3) สถานศึกษามีการจัดทำระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ถูกต้อง ครอบคลุม ทันสมัยและพร้อมใช้
suchada.s 26 ต.ค. 2565 เวลา 14:12 น. 0 271
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^