LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา

usericon

รายงาน        การประเมินโครงการพัฒนาการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา ของโรงเรียนวัดเขียนเขต
        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2    
ผู้รายงาน        นางสาววันวิสา ฉ่ำสมบูรณ์
ปีที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2564    
บทคัดย่อ
    การประเมินโครงการพัฒนาการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา ของโรงเรียนวัดเขียนเขต มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evalution) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evalution)ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) (Stufflebeam,1989) การประเมินโครงการในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) ด้านประชากร (ผู้ให้ข้อมูล) ที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานประจำที่โรงเรียนวัดเขียนเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 135 คน ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้น เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert) มีระดับในการประเมิน 5 ระดับ ตั้งแต่ น้อยที่สุด ไปจนถึงมากที่สุด จำนวน 4 ฉบับ รวม 82 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) โดยผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
    การประเมินด้านบริบท พบว่า ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มีความชัดเจนสอดคล้องกับวิธีดำเนินการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
    การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ ในการวางแผนการดำเนินงานและการบริหารโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการระดมทรัพยากรจากภายนอกมาใช้ในการดำเนินงานตามโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
    การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดโดยการประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนวิธีดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการพัฒนาการดำเนินงานด้านงบประมาณโดยยึดหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
    การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการดำเนินโครงการสนองนโยบายของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการบริหารจัดการงบประมาณ การตรวจสอบติดตามงบประมาณ การรายงานผลการใช้งบประมาณที่เป็นระบบมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^