LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรฯ

usericon

ชื่อผลงาน    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
ผู้ประเมิน    นางสาววันวิสาข์ พริ้มพราย
หน่วยงาน    โรงเรียนบ้านลาดวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
ปีที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2564


บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของการประเมินโครงการการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรในโรงเรียนบ้านลาดวิทยา อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 79 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี สรุปได้ดังนี้
1.    ผลการประเมินด้านบริบทของการประเมินโครงการในโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36,  = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อประเมินมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จำนวน 5 ข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ข้อ 1 โรงเรียนมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้จริง ( = 4.54,  = 0.57) รองลงมาคือ ข้อ 2 โรงเรียนบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ( = 4.50,  = 0.55) และข้อ 6 ครูและบุคลากรมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาตนเองตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ( = 4.38,  = 0.66) ส่วนหัวข้อประเมินมีความเหมาะสมในระดับมาก จำนวน 1 ข้อ ได้แก่ ข้อ 5 ผู้บริหารสถานศึกษาประสาน และแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน แหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา และภูมิปัญญาต่างๆ มาร่วมในการบริหารและการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ( = 4.20,  = 0.66)

2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการในโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16,  = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อประเมินมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ข้อ 9 ครูและบุคลากรมีแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ แหล่งเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ( = 4.29,  = 0.66) รองลงมาคือ ข้อ 11 ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม(ระหว่างเดือน พ.ค.64 - มี.ค.65) มีความเหมาะสม ( = 4.26,  = 0.59) และข้อ 8 ครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ( = 4.22,  = 0.55) ส่วนหัวข้อประเมินที่มีความเหมาะสมในระดับมาก มีจำนวน 2 ข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ข้อ 7 ผู้บริหารสถานศึกษาอำนวยความสะดวก ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยต่างๆ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติ ( = 4.16,  = 0.64) และข้อ 10 งบประมาณเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม ( = 3.88,  = 0.75)
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการของการประเมินโครงการในโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.35,  = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อประเมินมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ข้อ 15 การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ/กิจกรรมได้มีการจัดทำเป็นคำสั่งโรงเรียน ( = 4.48,  = 0.55) อยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ข้อ 18 โรงเรียนนิเทศ กำกับ ติดตาม อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ( = 4.40,  = 0.54) และข้อ 16 ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ( = 4.37,  = 0.58) ส่วนหัวข้อประเมินที่มีความเหมาะสมอยู่ในลำดับสุดท้าย ได้แก่ ข้อ 21 ครูร่วมกันเสวนา ทบทวนหลังปฏิบัติการสอน และนำผลการพัฒนามาจัดกิจกรรมอย่าง ( = 4.27,  = 0.63)
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
    4.1    ด้านผลกระทบ การประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของครูที่เข้าร่วมโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.30,  = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อประเมินที่มีความพึงพอใจสูงสุดคือ ข้อ 23 โครงการประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเวลาที่กำหนด ( = 4.37,  = 0.58) และหัวข้อประเมินที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ข้อ 24 โครงการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเป็นไปกรอบวงเงินตามที่กำหนด ( = 4.24,  = 0.66)
    4.2    ด้านประสิทธิผล การประเมินความสำเร็จของโครงการ โดยภาพรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.34,  = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อประเมินที่มีประสิทธิผลสูงสุดคือ ข้อ 28 ครูและบุคลากรมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ( = 4.40,  = 0.56) และหัวข้อประเมินที่มีประสิทธิผลน้อยที่สุดคือ ข้อ 29 ครูและบุคลากรมีความสามารถคิดแบบอิสระแบบเปิดกว้าง ( = 4.19,  = 0.73)

    4.3    ด้านความยั่งยืน การประเมินความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการและความคงอยู่ของผลที่ได้รับภายหลังจากที่ประเมินโครงการ โดยภาพรวมมีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.28,  = 0.60) หัวข้อประเมินที่มีความยั่งยืนสูงสุดคือ ข้อ 32 ครูและบุคลากรนำผลการประเมินไปพัฒนาตนเองหลังเสร็จสิ้นโครงการ ( = 4.39,  = 0.60) และหัวข้อประเมินที่มีความยั่งยืนน้อยที่สุดคือ ข้อ 33 ครูและบุคลากรมีความพึงพอใจและมีความสุขในการปฏิบัติงาน ( = 4.14,  = 0.95)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^