LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.สตูล ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สตูล

รายงานการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

usericon

รายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนบ้านกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3
ปีการศึกษา 2563
ปรีดา อุปอินทร์
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเมืองปาน (บ้านทุ่งกว๋าว)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3

บทสรุปผู้บริหาร
    โรงเรียนบ้านกล้วยได้ดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผู้รายงานในฐานะผู้บริหารโรงเรียนบ้านกล้วย ณ ขณะนั้นเล็งเห็นความสำคัญ จึงทำการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ของ การรายงานครั้งนี้ 1. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน (ไม่รวม ผู้แทนครู และผู้บริหารสถานศึกษา) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 27 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 27 คน
รวมทั้งสิ้น 68 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ คือแบบสอบถามซึ่งผู้รายงานสร้างขึ้น
โดยยึดวัตถุประสงค์ในการรายงาน แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ชุด คือชุดที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สำหรับสอบถามครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ชุดที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ สำหรับสอบถามครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ชุดที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ สำหรับสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ชุดที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ สำหรับนักเรียน ในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
     ผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม ด้านการดำเนินงาน (Do) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 อยู่ในระดับมาก ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 อยู่ในระดับมาก และด้านการปรับปรุงพัฒนา (Action) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) พบว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ประชุมคณะครูและบุคลากรชี้แจงการเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การเสนอเพื่ออนุมัติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 อยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินงาน (Do) พบว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีการจัดสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ปฏิบัติงานในกิจกรรมตามโครงการได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.79 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 อยู่ในระดับมากที่สุด มีการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการอย่างหมาะสมเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) พบว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อมีการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาทุกระยะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มีการประเมินผลการดำเนินงานที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ทบทวนเพื่อแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 อยู่ในระดับมาก ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Action) พบว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มีการจัดทำสารสนเทศที่สะท้อนผลการดำเนินโครงการครอบคลุมจุดประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.76 อยู่ในระดับมาก
    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ปีการศึกษา 2563
    ด้านการวางแผนการปฏิบัติ (Plan) ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เข้าใจในบทบาทหน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจน ข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ย้อนหลัง 3 ปี ไม่ถูกน้ำมาวิเคราะห์ในการวางแผนในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหา และขาดความอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ คือ มอบหมายบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานผ่านรูปแบบคำสั่งแต่งตั้ง ผ่านการประชุมชี้แจง ให้ผู้บริหารสถานศึกษา และครูได้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน สร้างความตระหนักในการน้ำข้อมูลสารสนเทศย้อนหลัง 3 ปี มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำมาวางแผนควบคู่การกำหนดเป้าหมาย นโยบาย ในการพัฒนาด้านวิชาการของโรงเรียนในปีการศึกษาถัดไปอย่างต่อเนื่อง ด้านการดำเนินงาน (Do) ปัญหาอุปสรรค คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม ขาดความต่อเนื่อง กิจกรรมบางกิจกรรมไม่มีการวัดประเมินผล ทำให้เกิดประสิทธิผลด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนน้อย ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานไม่ครอบคลุม ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ เพื่อจะได้รับทราบ และเห็นปัญหา ตลอดจนแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบด้าน ส่งเสริมการวัดประเมินผลแบบบูรณาการตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เที่ยงตรง และเกิดประสิทธิ์ผลกับนักเรียน ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) ปัญหาอุปสรรค คือ กระบวนการนิเทศติดตามของทีมนิเทศไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากมีภาระงานที่หลากหลาย การติดตามประเมินผล และสรุปกิจกรรมมีความล่าช้าคลาดเคลื่อนไปจากปฏิทินการดำเนินงานเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ข้อเสนอแนะ คือ คณะกรรมการนิเทศควรดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง และนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Action) ปัญหาอุปสรรค คือ การประชุมอภิปรายติดตามผลขาดความเป็นระบบและต่อเนื่อง การสรุปผลการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุมกระบวนการ และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ คือ ประชุมสรุปผลดำเนินงานโครงการ และร่วมกันอภิปรายเพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านกระบวนการ PLC. โดยนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมทุกประเด็น ผ่านการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและประเมินโครงการในระดับที่สูงขึ้น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต้นสังกัดทราบผ่านรูปแบบต่างๆ ทั้งเอกสารประชาสัมพันธ์ การประชุม และสื่อออนไลน์ Facebook ของโรงเรียน และกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง
    ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านกล้วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ปีการศึกษา 2563 ของครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 อยู่ในระดับมาก ของผู้ปกครอง และนักเรียน นั้น มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 2.83 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 อยู่ในระดับมาก


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^