LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองคาย เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การประเมินโครงการระบบดูแลนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”
ผู้วิจัย             นางอัจฉราพร นาคดิลก
สังกัด         โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”
         สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ปีการศึกษา     2564

บทสรุปผู้บริหาร

    การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” โดยใช้รูปแบบการประเมินของ D.L.Stufflebeam ที่เรียกว่า CIPP Model ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 529 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 32 คน ใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 242 คน และกลุ่มผู้ปกครอง 242 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้ α หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
    ผลการประเมินพบว่า
        1. ด้านบริบท (Context Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยูในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
            1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
            1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
        2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
            2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
            2.2 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
        3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
            3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
            3.2 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
        4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
            4.1 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า หลังจากดำเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับมาก
            4.2 นักเรียนมีทักษะชีวิต พบว่า หลังจากดำเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ในระดับมากที่สุด
            4.3 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
            4.4 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
            4.5 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
            4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก

khwan_pug 11 ก.ย. 2565 เวลา 10:30 น. 0 284
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^