LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่าฯ

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวมนทิรา ทัลวรรณ์
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา    วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเโรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยใช้รูปแบบซิปป์เ(CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเ2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สื่อและวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์เการดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 108 คน ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 52 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 43 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 55 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเจำนวนเ5 ฉบับ ได้แก่เแบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบท (ประเมินก่อนดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ด้านปัจจัย (ประเมินก่อนดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเแบบสอบถามฉบับที่เ2เประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ3เประเมินด้านผลผลิตเเกี่ยวกับด้านผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) ข้อคำถาม จำนวน 70 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ4 ประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อคำถาม จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
         1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษาและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
            2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
         3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ มีความเหมาะสม มากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินงานตามแผน การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา และการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
             4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมมีผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัดเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
                4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 8 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสุขภาพจิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการรับรู้เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านอารมณ์ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านความรู้และทักษะ ด้านสังคม ด้านทักษะชีวิต ตามลำดับ
         4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^