LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้รายงาน     นุตประวีณ์ ภัครวัฒน์อังxxx
ปี พ.ศ.     2563

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการนิเทศภายในโรงเรียน (2) แบบสังเกตและบันทึกการจัดกลุ่มสนทนาประเด็นเฉพาะ (Focus Group) (3) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (4) แบบสอบถามการประเมินโครงร่างรูปแบบการนิเทศภายในแบบสอนงาน (5) แบบประเมินคุณลักษณะพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (6) แบบประเมินสภาพการณ์ดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (7) แบบบันทึกความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณลักษณะพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (8) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (9) แบบประเมินสภาพการมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาและใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบสอนงานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและ (10) แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบ ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบ ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 3 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบ ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
ขั้นตอนที่ 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบ ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์
โดยทุกขั้นตอนมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดการร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการนิเทศภายในแต่ละระยะอย่างต่อเนื่องในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการที่มีลักษณะการดำเนินงานเป็นวงจรสะท้อนกลับ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวางแผน (Plan) (2) การดำเนินงานและตรวจสอบวิธีปฏิบัติ (Act & Observe) เป็นการนำแผนไปปฏิบัติจริง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดจนประเมินการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วยเทคนิควิธีที่เหมาะสม และ (3) สะท้อนกลับผลการปฏิบัติ (Reflect) เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติและผลลัพธ์จากกการปฏิบัติตามแผน โดยกิจกรรมข้างต้นจะดำเนินด้วยรูปแบบ ผสมผสานที่ส่งผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ (1) ขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ (Study and Analysis) (2) ขั้นการออกแบบวางแผน (Planning Design) (3) ขั้นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน (Internal Supervision Process) (4) ขั้นการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) (5) ขั้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Evaluation for Development) และ (6) ขั้นสะท้อนผลและรายงานผล (Reflection and Reporting) เพื่อมุ่งหาคำตอบของแต่ละระยะของการปฏิบัติทั้งการร่างรูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบ และการประเมินผลรูปแบบ สามารถนำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์และขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการทางการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสรุปผลการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
    ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการทางการนิเทศภายในของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
    1.    สภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    1.1    ด้านสภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน พบว่า สภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นสรุปได้ดังนี้
        ประเด็นการศึกษาและการวิเคราะห์ พบว่า ภาพรวมประเด็นการศึกษาและการวิเคราะห์ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.93 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        ประเด็นการออกแบบวางแผน พบว่า ภาพรวมประเด็นการออกแบบวางแผน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.27 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        ประเด็นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน พบว่า ภาพรวมประเด็นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        ประเด็นดำเนินการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง พบว่า ภาพรวมประเด็นดำเนินการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.68 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        ประเด็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา พบว่า ภาพรวมประเด็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.73 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        ประเด็นสะท้อนผลและรายงานผล พบว่า ภาพรวมประเด็นสะท้อนผลและรายงานผล อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.86 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ
        1.2    ด้านการพัฒนาคุณภาพครู พบว่า สภาพปัจจุบันด้านการพัฒนาคุณภาพครู อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับน้อย 1 ข้อ ได้แก่ ข้อ 4 ความสามารถในการใช้และพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 2.43 ส่วนข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
    2.    ความต้องการในการนิเทศภายใน พบว่า ความต้องการในการนิเทศภายใน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.40
        2.1    ด้านความต้องการในการนิเทศภายใน พบว่า ความต้องการในการนิเทศภายใน อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 5.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นสรุปได้ดังนี้
    ประเด็นการศึกษาและการวิเคราะห์ พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศประเด็นการศึกษาและการวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
    ประเด็นการออกแบบวางแผน พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศประเด็นการออกแบบวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
    ประเด็นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศประเด็นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
    ประเด็นดำเนินการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศประเด็นดำเนินการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00 ประเด็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา ภาพรวมประเด็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
    ประเด็นสะท้อนผลและรายงานผล ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศประเด็นสะท้อนผลและรายงานผล อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
        2.2    ด้านการพัฒนาคุณภาพครู พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศด้านการพัฒนาคุณภาพครู อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 5.00
    ผลการศึกษาความต้องการด้านคุณภาพการศึกษา แนวคิดการพัฒนาคุณภาพครู บทบาทและลักษณะครูอันพึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
    ผลการศึกษาความต้องการด้านคุณภาพการศึกษา แนวคิดการพัฒนาคุณภาพครู บทบาทและลักษณะครูอันพึงประสงค์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน พบว่า ภาพรวมความต้องการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 14 สื่อและเครื่องมือการนิเทศมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.88 และข้อ 16 การวัดและประเมินผลของกระบวนการนิเทศภายในครอบคลุมกับสิ่งที่ต้องการวัด มีค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก
ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน สามารถอธิบายกระบวนการในแต่ละขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1     ขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ (Study and Analysis)
-    ศึกษาองค์ความรู้การนิเทศภายใน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนการดำเนินงาน
-    วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อหาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและความต้องการในการพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน
-    จัดลำดับความสำคัญ เหมาะสม ถูกต้องเชิงวิชาการ การจัดลำดับปัญหาและเลือกปัญหาที่เป็นความจำเป็น หรือต้องการในลำดับเร่งด่วนหรือลำดับที่เห็นว่าสำคัญที่สุด
    ขั้นที่ 2     ขั้นการออกแบบวางแผน (Planning Design)
-     กำหนดเป้าหมายการนิเทศภายใน เป็นการกำหนดแนวทาง/วิธีการพัฒนาที่หลากหลายตามปัญหาที่เกิดขึ้นตามความต้องการและจำเป็น มีการใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูและการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
-    เลือกแนวทาง/วิธีการในการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
-     จัดเตรียมทรัพยากร โดยการสร้างการรับรู้ร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุมสัมมนา เพื่อสร้างวิสัยทัศน์หรือสร้างเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงาน
-     การออกแบบระบุแนวทางการนิเทศภายใน เป็นการกำหนดวิธีการและแนวทางดำเนินการสำหรับการนิเทศภายใน โดยพิจารณาตามบริบทและลักษณะรายวิชาที่ดำเนินการนิเทศ
-    วางแผนการดำเนินงานพัฒนา ดำเนินการดังนี้
1)    การประชุมเตรียมการนิเทศ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
2)    สร้างคณะนิเทศ เป็นทีมงานในการนิเทศร่วมกัน
3)    กำหนดประเด็นการนิเทศ เป็นการกำหนดเนื้อหาที่จะนิเทศ
4)    กำหนดระยะเวลาในการนิเทศ โดยกำหนดระยะเวลาในการนิเทศที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการพัฒนา
5)    กำหนดวิธีการการนิเทศและกิจกรรมการนิเทศที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความต้องการ เช่น การประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสังเกตชั้นเรียน การสาธิตการบันทึกวิดีโอและการถ่ายภาพ การสัมภาษณ์ การ Coaching & Mentoring ฯลฯ โดยเน้นการใช้ ICT ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ Line Application การใช้ Clip Video การ Conference Line YouTube Facebook live การใช้ Zoom เป็นต้น
ขั้นที่ 3     ขั้นกำหนดกระบวนการนิเทศภายใน (Internal Supervision Process)
    -    จัดทำแผนนิเทศ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนการดำเนินงานกิจกรรมสำคัญ ปฏิทินการปฏิบัติงาน ทรัพยากรที่ต้องการ เครื่องมือการนิเทศ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-     ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน เป็นการประชุมเพื่อทำการชี้แจงขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการนิเทศให้กับผู้รับการนิเทศภายในให้เข้าใจ และเตรียมความพร้อมรับการนเทศ
-     ประสานการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้อง เป็นขั้นตอนการประสานงานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการนิเทศ ได้แก่ ผู้รับการนิเทศ และผู้นิเทศ
    -    การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศสื่อและเครื่องมือนิเทศเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การนิเทศมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นสิ่งที่จะช่วยเก็บรายลละเอียดที่ผู้รับการนิเทศไม่สามารถแสดงออกมาได้ และสามารถเก็บข้อมูลนำมาเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และสิ่งที่ทำให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เช่น วิธีการนิเทศ ทักษะการนิเทศ เทคนิคการนิเทศ โดยเป็นสื่อที่สอดคล้องในยุคศตวรรษที่ 21 เน้นการใช้ ICT รูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ Line Application การใช้ Clip Video การ Conference Line YouTube Facebook live การใช้ Zoom เป็นต้น สร้างเครื่องมือการนิเทศเพื่อเก็บข้อมูลเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาตรวจสอบ ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ ใช้ง่าย สามารถเก็บข้อมูลที่ตอบประเด็นปัญหาความต้องการและเป็นประโยชน์ในการแกปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ขั้นที่ 4     ขั้นการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)
-     ดำเนินการนิเทศภายในตามปฏิทินนิเทศ ตามรูปแบบ วิธีการการนิเทศและกิจกรรมนิเทศที่กำหนด โดยเน้นการกำกับในขณะปฏิบัติการนิเทศ โดยการกำกับนั้นอาจโดยผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสายงาน หรือการกำกับตนเองของผู้รับการนิเทศ เช่น ประชุมเตรียมการ ก่อนการนิเทศ ให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้นิเทศ ให้การนิเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดำเนินนิเทศตามขั้นตอน ระยะเวลา และใช้เครื่องมือตามที่กำหนด การสะท้อนผลการนิเทศ ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน เป็นต้น
-     ชี้แนะ คอยแนะนำและอำนวยความสะดวก เสริมแรงแบบกัลยาณมิตร
-     เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินการนิเทศ ทั้งจากการสังเกต และการประเมินตามหัวข้อการประเมินการนิเทศภายใน
ขั้นที่ 5     ขั้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Evaluation for Development)
-     พิจารณารายละเอียดจากการนิเทศ และความเพียงพอของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ จากการนิเทศ
-    ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงาน เช่น การดำเนินงานของผู้รับการนิเทศ เพื่อนำผลไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน
-    ประเมินผลการนิเทศเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติการนิเทศตามระยะเวลาที่ต้องการในการนำผลไปใช้ในการพัฒนาหรือในแต่ละปีการศึกษา
-     วิเคราะห์ข้อมูลทั้งภาพรวมและด้านต่าง ๆ เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ จากการนิเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินการสรุปผลการนิเทศ
-     สรุป แปลผล จัดทำสารสนเทศเพื่อการพัฒนา เป็นการสรุปผลตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการแปลผลการประเมินเพื่อสรุปเป็นสารสนเทศเพื่อการพัฒนาต่อไป
ขั้นที่ 6     ขั้นสะท้อนผลและรายงานผล (Reflection and Reporting)
-     รายงานผลการนิเทศต่อผู้เกี่ยวข้อง
-    การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนา เป็นการนำผลจากการนิเทศภายในให้กับผู้บริหารโรงเรียนนำผลการนเทศไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
-     จัดทำ PLC ในระดับโรงเรียน โดยการนำผลสะท้อนจากการนิเทศภายในมากำหนดเป็นแนวทางการสร้างความร่วมแรงร่วมใจระหว่างครูและผู้บริหารของโรงเรียนในการพัฒนาโรงเรียน
-     จัดทำรายงาน และประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ผลการนิเทศภายในต่อสาธารณชนให้รับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ
-    นำผลการนิเทศที่เป็นปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะไปพัฒนาการนิเทศในครั้งต่อไปหรือในปีการศึกษาต่อไป
วิธีการดำเนินการนิเทศภายใน ในการดำเนินการนิเทศภายใน สามารถกำหนดวิธีการนิเทศออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
1.    การนิเทศตนเอง
2.    การนิเทศโดยหัวหน้าช่วงชั้น
3.    การนิเทศโดยคณะกรรมการนิเทศของโรงเรียน
เครื่องมือนิเทศภายใน โดยการนิเทศภายในสามารถจำแนกเครื่องมือออกเป็น 3 ส่วน และแต่ละส่วนมีเครื่องมือสำหรับการนิเทศภายใน ดังนี้
1.    เครื่องมือการนิเทศกิจกรรการนิเทศตามภารกิจหลักของโรงเรียน
1.1     แบบนิเทศการสอนการตรวจเยี่ยมชั้นเรียน
1.2    แบบนิเทศการสังเกตการสอนในชั้นเรียน
1.3    แบบนิเทศการเรียนการสอนของครู
2.    เครื่องมือการนิเทศกิจกรรมการนิเทศตามนโยบาย สพฐ.
2.1    แบบการนิเทศพัฒนาและการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา
2.2    แบบนิเทศการอ่านออกเขียนได้
2.3    แบบนิเทศการพัฒนาเชิงรุก Active Learning
2.4    แบบนิเทศการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
2.5    แบบนิเทศการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (O-NET,NT, RT)
2.6    แบบการนิเทศประกันคุณภาพภายใน
3.    เครื่องมือการนิเทศการบริหารงาน 4 ฝ่าย
3.1    แบบนิเทศการบริหารงานฝ่ายวิชาการ
3.2    แบบนิเทศการบริหารงานฝ่ายบุคคล
3.3    แบบนิเทศการบริหารงานฝ่ายงบประมาณ
3.4    แบบนิเทศการบริหารงานฝ่ายบริหารทั่วไป
    การกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผล
    โรงเรียนบ้านจัดสรร ได้ดำเนินการกำกับติดตาม ประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษารูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ดำเนินงานดังนี้
1.    ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีความเข้าใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายส่งผลให้การทำงานเป็นปัจจุบัน มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
2.    ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนเชิงรุกมากขึ้น
3.    ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานเป็นแบบเชิงรุก มีการทำงานเป็นทีมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
4.    ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นโดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงหาความรู้จากสื่อที่หลากหลาย
5.    ผลการนิเทศและติดตามงานฝ่ายต่าง ๆ ทั้ง 4 ฝ่าย เป็นปัจจุบันและต้องดำเนินการร้อยละ 100 เกิดประสิทธิภาพในงานทุกงาน
6.    การนิเทศและติดตามจะต้องส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถนะที่สำคัญ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
7.    นักเรียนมีคุณภาพ มีพัฒนาการทางร่างการและจิตใจที่ดีขึ้น
ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา โดยใช้กระบวนการการนิเทศภายใน ด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของครูของโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาโดยใช้กระบวนการการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูของโรงเรียนบ้านจัดสรร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.69 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ขั้นตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.64 เมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อสรุปได้ดังนี้
ด้านครูเตรียมความพร้อมก่อนสอน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.69 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ครูการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
สภาพห้องเรียนส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 1 ข้อ
ครูจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย 4.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ด้านการนำผลการประเมินการเรียนการสอนไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นราย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ผลการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเมินโดยคณะกรรมการนิเทศภายในแบบโรงเรียนบ้านจัดสรร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงลำดับจากด้านที่ได้ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
ด้านสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ และอุปกรณ์การสอน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.67 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยเรียงจากมากไปน้อย
ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนสอน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 1 ข้อ
ด้านการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 1 ข้อ
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 8 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 1 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 1 ข้อ
ด้านการนำผลการประเมินการเรียนการสอนไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
ขั้นตอนที่ 4 ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยศึกษาจากลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านจัดสรร จำนวน 6 คน คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านจัดสรร จำนวน 5 คน และผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน และเครือข่าย จำนวน 60 คนสามารถนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
1.    ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเมินโดยครูผู้สอนโรงเรียนบ้านจัดสรร ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมครูผู้สอนมีระดังความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.64
2.    ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเมินโดยคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านจัดสรร ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมคณะกรรมการนิเทศภายใน มีระดังความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63
3.    ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเมินโดยปกครองนักเรียน นักเรียน และเครือข่าย ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ในภาพรวมคณะกรรมการนิเทศภายใน มีระดังความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68
miss.ziiwa 12 ส.ค. 2565 เวลา 20:52 น. 0 600
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^