LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ปัตตานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปัตตานี เขต 3 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้แหล่งการเรียนรู้
            ห้องสมุดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา
            สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ผู้ประเมิน    นพดล ธรรมใจอุด
ปีที่ประเมิน     2564

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ2. เพื่อศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินทั้งสิ้น จำนวน 1,252 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ฉบับที่ 1 – 4 จำนวนทั้งหมด 973 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 81 คน และผู้ปกครอง จำนวน 875 คน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ฉบับที่ 5 จำนวนทั้งหมด 279 คน ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างมาจากตารางของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 5 ฉบับ 2) แบบบันทึกข้อมูล จำนวน 5 ชุด 3) แบบประเมินมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามเกฑณ์การประเมินต่อไป
        ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
        1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกด้าน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงที่สุด ส่วนด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมน้อยที่สุด ซึ่งมีรายละเอียดผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้ ดังต่อไปนี้
            1.1 ด้านบริบทโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีความเหมาะสมกับ สภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมรักการอ่านที่ชัดเจน
            1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์ในห้องสมุดหอนอน มีเพียงพอต่อความต้องการอ่านของนักเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ งบประมาณเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมและจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
            1.3 ด้านกระบวนการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ห้องสมุดมีกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ด้วยกิจกรรมกระตุกสนใจ กระตุ้นให้อ่าน กระจายให้รู้ สู่ความยั่งยืน มีความหลากหลายน่าสนใจ ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้รับผิดชอบมีการรายงานผลการดําเนินงานโครงการอย่างเหมาะสม
            1.4 ด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติจากการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาระดับ ดี ขึ้นไปสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดความสามารถด้านการอ่าน สูงกว่า ระดับประเทศ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ รายวิชาภาษาไทย สูงกว่าระดับประเทศ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน สาระการอ่าน รายวิชาภาษาไทย สูงกว่าระดับประเทศ ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนของผู้เรียนระดับ ระดับ ดี ขึ้นไป สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และห้องสมุดโรงเรียนมีมาตรฐาน ระดับ ดีเยี่ยม
            1.5 ด้านผลกระทบโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนและนักเรียนได้รับรางวัลหรือเกียรติยศในระดับชุมชน เขตพื้นที่ อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนและนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน อำเภอ จังหวัด
            1.6 ด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีนิสัยรักการอ่าน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติสูงขึ้น
            1.7 ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนเกิดแนวคิดการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุดทำให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่านและมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูเกิดแนวคิดในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพด้านการอ่าน
            1.8 ด้านถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมี ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูสามารถปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการร่วมโครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผ่านชุมชนวิชาชีพ
        2. นิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงที่สุด 3 อันดับคือ นักเรียนอ่านหนังสือเมื่อมีเวลาว่างในแต่ละวัน รองลงมา คือ นักเรียนเข้าใช้บริการห้องสมุดหรือแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และนักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ ในการอ่านและแสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนอ่านหนังสือเมื่อใกล้สอบเท่านั้น

คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, แหล่งการเรียนรู้ห้องสมุด
noppadon086 21 ก.ค. 2565 เวลา 17:12 น. 0 253
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^