LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3

การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรี

usericon

ชื่องานวิจัย การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียน
มัธยมด่านขุนทด โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active
Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุนันทา ปิติทโน
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๑) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง
การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๑ ห้องเรียน ทั้งหมด ๓๕ คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน ๓๐ ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง ๐.๒๗– ๐.๖๔ ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง ๐.๒๗– ๐.๗๓ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๗๖ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์และใช้การทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    ผลจากการศึกษาพบว่า
    ๑. เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๘๖.๒๔/๘๓.๘๑ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
    ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
    ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม (X) เท่ากับ ๔.๗๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ ๐.๔๓
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^