LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง        การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
ผู้วิจัย        นายอรรถพล ชุมพู
หน่วยงาน    โรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้และความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนขุนยวม ก่อนและหลังได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัย
2) ประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม ที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัย 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
    เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 4) แบบประเมินความพึงพอใจ
    ผลการศึกษาพบว่า
        1. ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครูก่อนได้รับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ย 9.36 หลังจากได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.03 เมื่อวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้เท่ากับ 75.92 อยู่ในระดับมาก แสดงว่าครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มที่เหลืออยู่ สามารถทำเพิ่มขึ้นได้เท่ากับ 75.92 คะแนน จาก 100 คะแนน
        2. การประเมินตนเองด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม จำนวน 30 คน ซึ่งคะแนนเต็ม 100 คะแนน พบว่า ก่อนได้รับการนิเทศครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู มีคะแนนเฉลี่ย 48.03 หลังจากได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยครูมีความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 81.76 เมื่อวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้เท่ากับ 64.90 อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่าครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มที่เหลืออยู่ สามารถทำเพิ่มขึ้นได้เท่ากับ 64.90 คะแนน จาก 100 คะแนน
    3. การประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขุนยวม ที่ได้รับการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยจำนวน 30 คน พบว่า หลังจากครูได้รับการนิเทศติดตามด้วยกระบวนการวิจัยครูสามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูได้ทุกคนเมื่อประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้พบว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูมีคุณภาพระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.31 มีคุณภาพระดับดี โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรมครบทุกขั้นตอนมีคะแนนสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.40 คุณภาพระดับดีมาก รองลงมาคือด้านคุณค่านวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 คุณภาพระดับดี ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ย 2.43 ระดับดีมาก ส่วนด้านความเป็นนวัตกรรม
มีคุณภาพน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.16 อยู่ในระดับดี
    4. ความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยของครูโรงเรียนขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ การนิเทศช่วยให้ครูพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ การนิเทศช่วยให้ครูสามารถหานวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหา และการนิเทศช่วยให้ครูแก้ปัญหาได้ตรงตามสภาพ ส่วนข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การนิเทศช่วยให้ครูได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
ttkit22 28 มิ.ย. 2565 เวลา 20:02 น. 0 331
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^