LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย)
ผู้วิจัย     นางสาวปุณณัฎฐา ดำทอง
ปีที่ศึกษา 2563
                                            
บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย) โดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.60 – 1.00 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.16 – 059 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.13 - 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 สถิติที่นำมาใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
    ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
        1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 87.89/86.39 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้         
        2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar= 4.61 ,S.D. = 0.57)
    โดยสรุป แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^