LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลสอบรับใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อผลงาน        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางขนิษฐา จันทรศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชะแล้
ปีที่รายงาน     ปีการศึกษา 2563

บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย1)ระดับคุณภาพของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 2)การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน วัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 3)ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 4)ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 79 คน ครู จำนวน 12 คน ผู้ปกครอง จำนวน 79 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 แบบสอบถามที่ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ฉบับที่ 7 แบบสอบด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะที่ 2 แบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 แบบสอบถามทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .090-.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
    ผลการประเมินรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.28, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.30, S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.26, S.D. = 0.79) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.23, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่มีค่าเฉลี่ย ( = 4.36, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ความพอเพียงของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.21, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.17 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( = 3.92, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
3.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.04 , S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.01, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.13, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.99, S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ ( = 4.06 , S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.97 , S.D.= 0.58) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.24, S.D.= 0.65) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 3.98, S.D.= 0.68) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.2 การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.13 , S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.26 , S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.16 , S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 3.97 , S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.3 ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 24.34 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม มีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 14.91 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ลดลงทุกรายการ คิดเป็นร้อยละ 9.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ( = 4.11, S.D.= 0.71) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.02 ,S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.15 , S.D.= 0.69) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.03 , S.D. = 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดชะแล้ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) จำแนกตามกลุ่มประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ทั้ง 4 ด้าน ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        สรุปผลข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด (ข้อเสนอแนะ, ปัญหาอุปสรรค) จากความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
         ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อนประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
         ด้านปัจจัยนำเข้า ควรประสานงานให้ฝ่ายประมาณหรือผู้เกี่ยวข้อง ให้เกิดการคล่องตัว และเห็นความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
         ด้านกระบวนการ ควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน เพื่อการวางแผนหรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศติดตามการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกัน
         ด้านผลผลิต ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรที่ดูแลนักเรียน เช่น นักเรียนได้รับรางวัลดีเด่น จากการแข่งขัน ในด้านคุณธรรมหรือ ทักษะกีฬา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง ส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ทั้งใน เรื่องเพศวิถี วินัยจราจรและความปลอดภัย
ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1    โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบก่อน
ประเมินสภาพแวดล้อม พร้อมวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา
1.2    โรงเรียนควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อการวางแผน
หรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3    ผู้บริหารโรงเรียนควรเสริมแรงเชิงบวกสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู บุคลากร นักเรียน
และผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
1.4    โรงเรียนควรส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น
1.5    โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้
2.    ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1    โรงเรียนควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
    2.2    โรงเรียนควรมีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน
thungpaeng12 06 มิ.ย. 2565 เวลา 17:12 น. 0 312
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^