LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์บ้านสามฝัน

usericon

ชื่อผลงาน    รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563

ผู้รายงาน    นางวารี แก้วเรือง    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ

ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

    รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2563 2) การพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ 5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการ 6) ความพึงพอใจของเบญจภาคีที่มีต่อการดำเนินโครงการ 7) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 7.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 (GPA) 7.2) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 7.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 121 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 95 คน ประชากรครู จำนวน 17 คน ประชากรเบญจภาคี จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 11 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 8 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88-.96 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง แบบบันทึกการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu,= 4.59,sigma=0.15) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54, S.D. = 0.19) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

     2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่าน เกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.57, sigma=0.11) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D.=0.10) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

     3. ผลการประเมินข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.57, sigma = 0.10) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการนำผลมาใช้ในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.60, sigma=0.31) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.56, sigma=0.20) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.55,sigma=0.40) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.54, sigma=0.28) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรมของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 กิจกรรม พบว่า การส่งต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.61, S.D.=0.33) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.60, S.D.=0.30) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน การส่งเสริมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.58, S.D.=0.24) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.57, S.D.=0.35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การคัดกรองนักเรียนนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.52, sigma=0.26) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
     4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.52, sigma=0.09) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า รายการฝ่ายบริหารมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนปัจจัยเอื้อ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.82, sigma=0.39) รองลงมา ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.76,sigma=0.43) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้ครูมีเวลาหรืออำนวยความสะดวกให้ครูได้พบปะเพื่อสะท้อนผลการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mu=4.17,sigma=0.63) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายตัวชี้วัด
     4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.59, sigma=0.14) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D=0.20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D.=0.20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็น
     4.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.55, sigma = 0.16) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการสนับสนุนให้ครูใช้ภาวะผู้นำหรือการปรับปรุงโรงเรียนและเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.82, sigma=0.39) รองลงมา คือ รายการการประสานความร่วมมือกับเบญจภาคีเครือข่ายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.70, sigma=0.48) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายการการแสวงหาและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( mu= 4.41, sigma=0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้
กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.53, S.D. = 0.21) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับผู้ปกครองนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.68, S.D.=0.46) รองลงมา คือ รายการนักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสิ่งเสพติดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.66, S.D.=0.55) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายการมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.39, S.D.=0.68) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.52, S.D = 0.22) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด
(x-bar = 4.61, S.D =0.58) รองลงมาคือ รายการการประสานความร่วมมือในเรื่องการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.60, S.D.=0.53) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.38, S.D.=0.65) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.6 ความพึงพอใจของเบญจภาคีที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu = 4.58, sigma=0.14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการจัดกิจกรรมประชุมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.86, sigma=0.35) รองลงมาคือ รายการนักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mu= 4.80, sigma=0.41) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านความประพฤติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mu= 4.33, sigma=0.81) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
     4.7 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
        4.7.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 2.70 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.7.2 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 92.71 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 8 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.7.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 93.32 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 9 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     สรุปผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิโดยใช้กลยุทธ์บ้านสามฝัน ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    2. ควรจัดให้มีโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นโครงการต่อเนื่อง และนำสารสนเทศที่ได้มาใช้วางแผนอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
    3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
    4. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีความเป็นอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ได้

ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
    3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
varee 29 พ.ค. 2565 เวลา 12:15 น. 0 291
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^