LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

ประเมินโครงการนิเทศภายใน โดยใช้ Professional Learning Community

usericon

ชื่อผลงาน        : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประภัสสรรังสิต โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC(Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน        : นางกฤติกา อินใหม่

บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประภัสสรรังสิต โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ ประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model ) มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับด้านความต้องการจำเป็น ด้านวัตถุประสงค์ ด้านกิจกรรมต่างๆ และด้านผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 2)เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) เกี่ยวกับด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชึพ PLC(Professional Learning Community) เกี่ยวกับ ขั้นเตรียมการ ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ในด้านผลการดำเนินงานตามโครงการ ด้านผลการปฏิบัติงานของครู ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความพึงพอใจของบุคลากรและนักเรียนที่ต่อการดำเนินการของโครงการ 5)เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการ ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น467 คน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน 2)บุคลากรประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 2คน และครูปฏิบัติการสอน จำนวน 30 คน 3) ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 210คน 4) ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 210 คน ตัวแทนนักเรียนและผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 2 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsoft Office Excel ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมินโครงการ
    ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัดประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมดคือ
    1. ประเด็นบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52,ó = 0.47) และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
        1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.58,ó = 0.41)
        1.2 ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65,ó = 0.48)
        1.3 ด้านกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ อยู่ในระดับมาก(µ =4.39,ó = 0.48)
        1.4 ด้านผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด(µ =4.57,ó = 0.49)
    2.ประเด็นปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.54,ó = 0.49) ตัวชี้วัด มีดังนี้
        2.1 ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.63,ó = 0.47)
        2.2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.55,ó = 0.50)
        2.3 ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก(µ = 4.39,ó = 0.52)
    3. ประเด็นกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.54,ó = 0.45) และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
        3.1 ขั้นเตรียมการ อยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.66,ó = 0.47)
        3.2 ขั้นวางแผน อยู่ในระดับมาก (µ = 4.48,ó = 0.48)
        3.3 ขั้นดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.71,ó = 0.44)
        3.4 ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน อยู่ในระดับมาก(µ = 4.43,ó = 0.44)
ตัวชี้วัด มีดังนี้
    4.ประเด็นผลผลิตอยู่ในระดับมาก และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวมีดังนี้
        4.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าการจัดกิจกรรมนิเทศภายในตามโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประภัสสรรังสิต ปีการศึกษา 2564 ได้ปฏิบัติกิจกรรมทุกกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
        4.2 ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.52,ó = 0.51)
         4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น โดยภาพรวม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2563ร้อยละ 3.34
        4.4 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
            4.4.1 ความพึงพอใจของครูอยู่ในระดับมากที่สุด(µ = 4.59,ó = 0.96)
            4.4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.52 ,S.D.=0.57)
    5. ความพึงพอใจของผู้ปกครองอยูในระดับมากที่สุด( = 4.54,S.D. = 0.82)

    จากผลการประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประภัสสรรังสิตในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 15 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 10 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ตัวชี้วัด
    ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.โรงเรียนควรนำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)อย่างต่อเนื่อง
2.โรงเรียนควรนำผลการประเมินที่เป็นผลสำเร็จทั้งในภาพรวมของโรงเรียน ครูและนักเรียนไปเผยแพร่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และชุมชน
3.โรงเรียนควรนำผลการประเมินไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไปให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
4.โรงเรียนควรนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อเป็นแนวทางในการนิเทศภายในในปีการศึกษาต่อไปให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2.ในปีการศึกษาต่อไปควรมีการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยในด้านผลผลิตนอกเหนือจาการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วควรมีการประเมินผลผลิตด้านสมรรถนะผู้เรียนและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.ควรมีการประเมินโครงการอื่นๆของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาโครงการต่างๆของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.ควรมีการพัฒนาโครงการนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพนักเรียนให้สูงขึ้น
5.ควรมีการทำงานวิจัยที่เปิดโอกาสให้ ผู้ปกครอง นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และชุมชนมีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้นเพื่อนำผลวิจัยมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6.ควรมีการนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)ไปใช้ในงานวิจัยอื่น หรือการประเมินโครงการอื่นของสถานศึกษา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^