LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง         รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน
    โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ชื่อผู้รายงาน    นายพิทักษ์ เอ็นดู
ปีการศึกษา        2562
บทคัดย่อ
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 3) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีขั้นตอนการประเมินโครงการ
3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างาน จำนวนทั้งสิ้น 31 คน เครื่องมือในการประเมินเป็นแบบสอบถามประเมินด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครู จำนวน 113 คน โดยการเปิดตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือในการประเมินเป็นแบบสอบถามประเมิน ด้านกระบวนการ (Process) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครู
จำนวน 113 คน เครื่องมือในการประเมินเป็นแบบสอบถามด้านผลผลิต (Product) และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (t-Test)

ผลการประเมิน
    ผู้ประเมินสรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
ในชั้นเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) ผลการประเมินด้านบริบท 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ และ (4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
ในชั้นเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียน สถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลากรในการดำเนินงาน งบประมาณ เอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์
การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้น พบว่า ทุกขั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยในขั้นเตรียมการ รายการประเมินด้านกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม มีความเหมาะสมมากที่สุด ขั้นดำเนินการรายการประเมินด้านการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมเป็นไปตามปฏิทินปฏิบัติงานมีความเหมาะสมมากที่สุด ขั้นประเมินผล รายการประเมินด้านมีการประเมินผลระหว่างดำเนินการ มีความเหมาะสมมากที่สุด และขั้นปรับปรุงแก้ไข รายการประเมินด้านมีการนำผลการประเมินเสนอต่อคณะกรรมการ มีความเหมาะสมมากที่สุด
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า พบว่า
        4.1 ผลสรุปงานวิจัยในชั้นเรียนจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2562 พบว่า ครูมีงานวิจัยในชั้นเรียน จำนวนทั้งหมด 148 เรื่อง คิดเป็น
ร้อยละ 92.50 ผ่านตามเกณฑ์ประเมิน
        4.2 ผลการพัฒนาครูและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนก่อน และหลังการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ผลการพัฒนาครูและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนหลังการดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนการดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3 ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนการสอนของครูโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ในปีการศึกษา 2562 มีจำนวน 148 เรื่อง โดยในปีในแต่ละเรื่อง
มีการนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ พบว่า กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของครู สามารถพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และสามารถแก้ไขพฤติกรรมเชิงลบทางการเรียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

Title     An assessment of the teaching and learning development
project using a classroom research process, as completed at Debsirinromklao School.
Autor     Pitug Eandoo
Academic Year     2019
Abstract
    The objectives of this assessment were: (1) to evaluate the suitability and relevance of a classroom research process, (2) to determine whether classroom learning can be achieved successfully with appropriate personnel, budgeting, and resources, (3) to measure the level of success of each step of the process, and (4) to assess project productivity in terms of the quantity and quality of the output, project participants, and student satisfaction with the teachers’ implementation of the classroom research process using a self-assessment model. For this assessment, participants included one executive (including the deputy director), and nine members of the school department heads. The teaching and learning development project saw participation from 31 additional members of leadership as well as 113 teachers. Four questionnaires were used as evaluation tools. Data collected from the questionnaires was analyzed in SPSS for Windows and evaluated for percentages, means, and standard deviations. Statistical comparisons were assessed by t-Test.
    The results of the assessment of the teaching and learning development project were as follows:
     (1) The contextual assessment results, which evaluated suitability and relevance of the research process, were found to be consistent with the objectives of the National Education Act, the policy of the Ministry of Education / OBEC / NESA / School, and other school requirements and guidelines. These results support the quality and appropriateness of the research process. at the highest level and pass the assessment criteria.
    (2) The readiness, sufficiency, and support in terms of personnel, budget,
documents, media, materials, equipment, and overall project management were at the highest level.
(3) Process evaluation results showed that the evaluation and subsequent steps for improvement were executed appropriately, and that the overall suitability was at the highest level.
    (4) The results of the productivity assessment demonstrated:
        (4.1) There was a 98.62% increase in classroom research conducted following the implementation of the teaching and learning development project. All
the teachers who participated in the project successfully completed and applied classroom research.
        (4.2) T-test statistical comparison of the frequency of classroom
research before and after participation in the teaching and learning development project showed that there was a statistical difference, with significantly more classroom research performed after joining the project (α ≤ 0.05).
    (4.3) Students and teachers achieved higher performance levels after
completion of the teaching and learning development project.
(4.4) Teachers reported high levels of satisfaction with the teacher and classroom research process.
officedsr16 20 ส.ค. 2564 เวลา 14:39 น. 0 496
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^