LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

MONPIT MODEL : รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรีย

usericon

ชื่อผลงาน MONPIT MODEL : รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายอายุ คิดดี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
1. ความสำคัญของนวัตกรรมหรือผลงานที่จัดทำ
สภาพของสังคมไทยในในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การ
สื่อสารและความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม การหล่อหลอมความคิดและความเชื่อ
ของกลุ่มคนหรือบุคคลในสังคม จะต้องมีวิถีชีวิตยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง เมื่อสังคมมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เด็กและเยาวชนในวัยเรียนได้รับผลกระทบในการดำเนิน ชีวิต
ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีที่ล้าสมัย การพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการดำเนินชีวิต อย่างมี
ทักษะการแก้ไขปัญหาของชีวิต และทักษะการทำงานให้อยู่ในสังคมอย่างเหมาะสมนั้นเป็น การเตรียม
ความพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคในอนาคต การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้อง ตอบสนองต่อ
ความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ในศตวรรษที่ ๒๑ สถานศึกษาต้องหาเทคนิค วิธีการหรือ รูปแบบการเรียน
การสอนที่จะพัฒนานักเรียนให้มีพัฒนาการด้านทักษะการทำงานให้กับนักเรียน ครูผู้สอนต้องปรับการ
เรียนเปลี่ยนการสอนจากการสอนแบบเดิมๆ ที่ล้าสมัยและเคยใช้กับนักเรียน มาเป็นเวลานาน ให้
นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะด้านการดำรงชีวิตไปทุกๆ ด้าน ดังที่ วิจารณ์ พานิช (๒๕๕๕) ซึ่งกล่าวว่าการ
จัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ “เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง”
ครูต้องมีทักษะในการจุดไฟในใจของศิษย์ให้ศิษย์รักการเรียนรู้มีเรียนรู้ ที่สนุกและกระตุ้นให้อยาก
เรียนรู้ไปตลอดชีวิตให้ศิษย์ได้เรียนรู้ที่หลากหลายต้อง “ก้าวข้ามและเชื่อมโยงสาระวิชาอื่นด้วย” จะ
นำไปสู่การเรียนรู้ทักษะในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” (๒๑st Century Skills) ครูต้องออกแบบ
การเรียนรู้และอำนวยความสะดวก (Facilitate) การเรียนรู้ต้อง เป็นการลงมือทำและปฏิบัติจริง การ
เรียนรู้ก็จะเกิดภายในใจและสมองของนักเรียน ดังที่ พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข
(๒๕๕๗) ได้ให้แนวทางของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ไว้ว่า การเรียนการสอนในยุคของการ
เปลี่ยนแปลงนั้นต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน โดยครูผู้สอนทำ หน้าที่ดูแลให้นักเรียนเป็นผู้แสดง
หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีการ แข่งขันทักษะการทำงานและฝีมือ
แรงงานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและ โชติมาพร ไชยสิทธิ์ (๒๕๕๕) ได้ให้ความเห็นว่า นักเรียน
ในอนาคตจะต้องมีคุณลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่ วิถีทางของ การคิด วิถีทางการทำงาน วิถีทางการ
เรียนรู้เครื่องมือสำหรับการทำงาน และมีทักษะการดำรงชีวิต ในโลกปัจจุบัน ดังผลการศึกษาของ
สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (๒๕๕๕) พบว่าปัจจุบันภาคธุรกิจส่วนใหญ่ขาดแคลนแรงงานสูง
ถึงร้อยละ ๗๖.๓๐ อันเนื่องมาจากแรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะ การทำงานช่างพื้นฐาน ในยุคใหม่ที่ทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แนวทางแก้ไขจึงต้อง ส่งเสริมความร่วมมือ โดยให้สถานศึกษา
พัฒนานักเรียนให้มีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติทักษะงานช่างพื้นฐาน ให้สอดคล้องในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อ
ส่งเสริมให้เยาวชนได้มีความรู้ มีทักษะอย่างจริงจัง และต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีการเรียนรู้ทักษะอย่าง
กว้างขวาง ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ ทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการสัมภาษณ์2
สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐาน
ในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับใช้จัดการเรียนการ สอนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จึงพบว่านักเรียนชั้น
มัธยมศึกษายังขาดการฝึกปฏิบัติด้านทักษะงานช่างอยู่ใน ระดับปานกลาง และมีความต้องการพัฒนา
ตนเองด้านทักษะงานช่างพื้นฐานอยู่ในระดับมาก ทักษะ ที่นักเรียนต้องการพัฒนาตนเอง ได้แก่ ทักษะ
การวัด ทักษะการตัด ทักษะการเจาะ ทักษะการเย็บ และทักษะการออกแบบ กิจกรรมการเรียนการ
สอนงานช่างพื้นฐานขาดการเชื่อมโยงกับรายวิชา อื่นๆ การแสวงหาความรู้ แหล่งเรียนรู้ระบบ
เครือข่ายยังมีน้อย และจากผลการทดสอบระดับชาติ (O-net) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานระดับชาติ
โดยเฉพาะมาตรฐานที่ ๔.๑ ที่กำหนดไว้ว่า “นักเรียนเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็นในงานอาชีพ มี
ประสบการณ์การทำงาน เห็นแนวทางในการ ประกอบอาชีพที่สุจริต ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มี
คุณธรรมและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ” ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จึงได้ศึกษาพัฒนา
รูปแบบการพัฒนางานอาชีพ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้นักเรียนมี ทักษะ
การทำงานดีขึ้นทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพใน อนาคตได้
อย่างยั่งยืน
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงได้จัดการสอนอาชีพอย่างหลากหลายให้นักเรียนได้เลือกศึกษาตาม
ความถนัดและความสนใจ ซึ่งการศึกษาเพื่ออาชีพเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีนักเรียนให้ความสนใจโดยได้เปิด
กิจกรรมชุมนุมการศึกษาเพื่ออาชีพขึ้นในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนที่มีความถนัดและความสนใจร่วม
เป็นตัวแทนการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียนไปแข่งขันในระดับประเทศรวมทั้งได้จัดหาผู้ฝึกสอนที่มี
ความสามารถเฉพาะทางมาสอนและฝึกซ้อมนักเรียน ที่มีความถนัดและสนใจการศึกษาเพื่ออาชีพทั้ง
ชายและหญิง
ดังนั้นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ศิษย์เก่าโรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม จึงมี
ความเห็นและร่วมกำหนดเป้าหมายว่า การศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมจะต้องมี
ความเป็นเลิศในระดับประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากโรงเรียนยังมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น
งบประมาณ สถานที่ในการฝึกซ้อม บุคลากรครูไม่เพียงพอ นักเรียนยังให้ความสนใจในการศึกษาเพื่อ
อาชีพน้อยมาก และที่สำคัญยังขาดรูปแบบในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพอย่างเป็นระบบ
หากโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมมีรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพอย่างชัดเจน จะทำ
ให้การศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมประสบความสำเร็จได้สูงสุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
จากสภาพดังกล่าวในฐานะเป็นฝ่ายบริหารโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามา
จากหลายสาเหตุ จึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้
ไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ในระดับที่สูงขึ้น
ต่อไป
2. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม3
2.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
(๑) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
(๒) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
2.2 ขอบเขตของการดำเนินการ
(๑) ขอบเขตด้านเนื้อหา
(๑.๑) รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนขนาด
มอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ โดยใช้แนวความคิดของอีแวนส์
(Evans. ๑๙๙๖ : ๒๗) ในการทำ Benchmarking ประกอบด้วย การบริหารจัดการ (Management)
การสร้างโอกาส (Opportunity) การสร้างเครือข่ายอาชีพ (Network) การบูรณาการ (Integration)
และการจัดการคุณภาพ (Total Quality Management ))
(๑.๒) ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
(๒) ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก
(๒.๑) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive)
จากผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนขนาดมอญ
พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ประกอบด้วย ชมนุมอาชีพในท้องถิ่น
จำนวน ๘๔ คน
ชุมชนตำบลตาตุม จำนวน ๒ คน บุคลากรด้านอาชีพ จำนวน ๒ คน และครูผู้ฝึกสอน งาน
อาชีพ จำนวน ๑ คน ประจำปี ๒๕๖๑ รวมจำนวน ๘๙ คน
(๒.๒) กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง
(Purposive) จากผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญ
พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ประกอบด้วย คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๔ คน ฝ่ายบริหารและหัวหน้าฝ่ายบริหาร จำนวน ๖ คน ครูผู้สอน
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพจำนวน ๒ คน ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ รวมจำนวน ๒๒ คน
(๓) ขอบเขตด้านพื้นที่ที่จะศึกษา พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ โรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
2.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(๑) ได้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓4
(๒) เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรและการมุ่งพัฒนาการดำเนินงานอย่าง
ต่อเนื่อง
(๓) นักเรียนมีศักยภาพในด้าน ร่างกายแข็งแรง สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี และ
มีคุณธรรม จริยธรรมมากยิ่งขึ้น
(๔) ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และ
ชุมชน มีความภาคภูมิใจในรางวัลที่ได้รับจาการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาด
มอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
3. กรอบแนวคิดการออกแบบนวัตกรรม
นวัตกรรม MONPIT MODEL : รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยนำกระบวนการ Benchmarking ตามแนวความคิดของอี
แวนส์ (Evans. ๑๙๙๖ : ๒๗) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อ
การมีงานทำโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ให้
สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
ขั้นตอน การดำเนินการ ผลที่ได้รับ
ขั้นตอนที่ 1
ศึกษา วิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูล
ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจาก
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
กรอบแนวคิดในการ
บริหารจัดการ
การศึกษาเพื่ออาชีพ
ขั้นตอนที่ 2
สัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิ
สัมภาษณ์ เพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการ
ก า ร ศ ึ ก ษ า เพ ื ่ ออา ช ี พ ต า ม ก ร ะ บ ว น การทำ
Benchmarking ประกอบด้วย การบริหารจัดการ
(Management) การสร้างโอกาส (Opportunity)
การสร้างเครือข่ายอาชีพ (Network) การบูรณาการ
(Integration) การจัดการคุณภาพ (Total Quality
Management )
รูปแบบการบริหาร
จัดการศึกษาเพื่ออาชีพ
ในเชิงบูรณาการ5
4. การดำเนินการพัฒนานวัตกรรม
กระบวนการสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ มีวิธีการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและ
งานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนด
รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพในเชิงหลักการ
๑) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อ
อาชีพ
ตามแนวทาง Benchmarking
๒) นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการ
บริหาร
จัดการการศึกษาเพื่ออาชีพตามแนวทาง Benchmarking
๓) สร้างแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ตามโครงสร้างรูปแบบการบริหารจัดการ
การศึกษาเพื่ออาชีพตามแนวทาง Benchmarking แล้วนำฉบับร่างให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความ
ถูกต้องและเที่ยงตรงของเนื้อหาของแต่ละข้อคำถาม เพื่อพิจารณาตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงให้
ถูกต้องเหมาะสม ในการใช้ภาษาและตรงตามจุดมุ่งหมาย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕ ท่าน มีรายชื่อ
ดังนี้
๓.๑)นายสมชัย นามสว่าง ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ขั้นตอนที่ 3
การตรวจสอบ
ความเป็นไปได้
ของรูปแบบ
การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหาร
จัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ ตามแนวทางการทำ
Benchmarking ในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้
เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ
โดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group
Discussion) กับ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน ฝ่ายบริหาร หัวหน้าฝ่ายบริหาร ครูผู้สอนใน
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
รูปแบบการบริหาร
จัดการศึกษาเพื่อ
อาชีพสู่ความยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 4
รายงานผลการใช้
รูปแบบ
รายงานผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ปีการศึกษา 25616
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสังขะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๓.๒)นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
๓๓
๓.๓)ว่าที่ร้อยตรีอภินันท์ จันทเขต ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทย
ฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๓๓
๓.๔)นางจารุวรรณ บุญโต ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแตลศิริวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๓.๕) นายขันติ จารัตน์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมศรีสำเภาลูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
ทำการปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ได้แบบสัมภาษณ์เป็นฉบับที่สมบูรณ์
๔) สร้างแนวคำถามการสนทนากลุ่ม โดยประมวลผลจากแบบสัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิ
มาจัดทำเป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่มตามหัวข้อรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
ตามแนวทาง Benchmarking แล้วนำแนวคำถามในการสนทนากลุ่มฉบับร่างให้ผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบความถูกต้องและเที่ยงตรงของเนื้อหาของแต่ละข้อคำถาม เพื่อพิจารณาตรวจสอบ แก้ไข
ปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมในการใช้ภาษาและตรงตามจุดมุ่งหมาย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๕
ท่าน มีรายชื่อดังนี้
๔.๑) นายสมชัย นามสว่าง ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสังขะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๔.๒) นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุรวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
๓๓
๔.๓)ว่าที่ร้อยตรีอภินันท์ จันทเขต ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทย
ฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๓๓
๔.๔) นางจารุวรรณ บุญโต ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแตลศิริวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๔.๕) นายขันติ จารัตน์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ
ผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนมัธยมศรีสำเภาลูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓7
ทำการปรับปรุงแก้ไขแนวคำถามในการสนทนากลุ่มตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ได้แนวคำถามในการสนทนากลุ่มเป็นฉบับที่สมบูรณ์
ขั้นตอนที่ ๒ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการ
การศึกษา เพื่ออาชีพ ตามกระบวนการทำ Benchmarking ในเชิงบูรณาการเข้ากับแนวทาง
ปฏิบัติจริง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ มาจัดทำกรอบในการ
สัมภาษณ์และนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวคือ เป็นการศึกษาการบริหารจัดการ
การศึกษาเพื่ออาชีพตามกระบวนการทำ Benchmarking และพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติในการ
พัฒนาฝึกซ้อมการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยจะทราบได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้แนว
คำถาม (Interview Guide) ที่ถามถึงภูมิหลัง ความรู้ ความเชื่อ ความคิดเห็น เจตคติ
ประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างเป็น
ระบบ โดยไม่ชี้นำทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผู้ทรงคุณวุฒิตอบไปในแนวทางที่ต้องการ แต่อาจมีการ
ขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลเพิ่มเติมในบางประเด็นที่ต้องการรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อ
เชื่อมโยงการสัมภาษณ์ให้เข้าสู่ประเด็นที่ต้องการอย่างลึกซึ้งได้และตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกัน
ระหว่างผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นการตรวจสอบและสรุปประเด็นที่เกิดจากการสัมภาษณ์เป็น
ระยะเพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม โดย
สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๙ คน จนได้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพในเชิงบูรณาการ
เข้ากับแนวทางในการปฏิบัติจริง ดังภาพที่ ๒
การบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
กระบวนการ Benchmarking
ผู้ทรงคุณวุฒิ
การทำ Benchmarking
การบริหารจัดการ (Management)
การสร้างโอกาส (Opportunity)
การสร้างเครือข่ายอาชีพ (Network)
การบูรณาการ (Integration)
การจัดการคุณภาพ (Total Quality
Management )
รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพในเชิงบูรณาการ
ภาพที่ ๒ รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพในเชิงบูรณาการ8
ขั้นตอนที่ ๓ การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อ
อาชีพตาม
แนวทาง การทำ Benchmarking ในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจน
ประสบความสำเร็จ โดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) เพื่อนำเสนอรูปแบบการ
บริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม โดยจัดสนทนากลุ่ม ๓ กลุ่ม
ประกอบด้วย
กลุ่มที่ ๑ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๔ คน จัดในวันที่ ๑๔
สิงหาคม
๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. สถานที่ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
กลุ่มที่ ๒ ฝ่ายบริหารและหัวหน้าฝ่ายบริหาร จำนวน ๖ คน จัดในวันที่ ๒๑ สิงหาคม
๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. สถานที่ห้องห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนขนาดมอญพิทยา
คม
กลุ่มที่ ๓ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน ๒ คน จัดใน
วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. สถานที่ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียน
ขนาดมอญพิทยาคม และได้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ดังภาพที่ ๓
ภาพที่ ๓ แสดงรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
MONPIT MODEL
รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33MONPIT MODEL : รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
มี ๖ ประการ ๑๘ แนวทางปฏิบัติ
ประการที่ ๑ การบริหารจัดการ (Management) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
1.1) การระบุกลยุทธ์ที่ตั้งใจ การระบุกลยุทธ์ในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
ของโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการกำหนดทิศทางพัฒนาซึ่งจะเป็นแนวทางในการทำให้องค์กร
ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ
1.2) การเลือกกระบวนการที่จะเทียบวัด สิ่งสำคัญหลักอยู่ที่ว่าจะเทียบวัดกับองค์กรใดเพื่อบริหาร
จัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ ให้ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ
1.3) การเลือกองค์ประกอบที่วิเคราะห์แล้วว่าประสบผลสำเร็จ สิ่งสำคัญที่จะผลักดันการบริหาร
จัดการการศึกษาเพื่ออาชีพให้ไปถึงจุดหมายได้ เช่น ทีมผู้บริหาร ทีมครู ผู้ฝึกสอน งบประมาณ การได้รับ
การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความร่วมมือ ผู้ปกครอง
และชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนอย่างจริงจังใน การบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียน
๑.๔) การระบุโครงร่างที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพให้
ประสบความสำเร็จตามต้องการ ต้องเกิดจากการกำหนดทิศทาง ที่ชัดเจนจากทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมและ
ร่วมกันบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
ประการที่ ๒ การสร้างโอกาส (Opportunity) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
๒.๑) การแสวงหาโอกาสทางอาชีพ ทีมงานภูมิปัญญาด้านการสร้างอาชีพของโรงเรียน มีความ
จำเป็นต้องเลือกจากผู้ที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ มีความสนใจและอยู่ในภาระงานอาชีพที่ชัดเจน
ซึ่งหลักในการคัดเลือกสมาชิกในทีมคือ การได้บุคคลที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับตำแหน่งนั้น
๒.๒) การฝึกอบรมด้านอาชีพ โดยเลือกจากอาชีพในท้องถิ่น เช่น กลุ่มจักสาน กลุ่มดาวเรือง ต้อง
เป็นทีมเวิร์คแล้วต้องรู้จักแสวงหาความรู้พัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ สิ่ง
สำคัญจะต้องอบรมให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มีคุณธรรมจริยธรรมและมีการฝึกกิริยามารยาท ใช้เวลาให้เป็น
ประโยชน์
ประการที่ ๓ การสร้างเครือข่ายอาชีพ (Network) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
๓.๑) แนวการปฏิบัติของโรงเรียน รวบรวมข้อมูลด้านอาชีพ เครือข่ายการตลาดและการค้าส่ง
ความพร้อม เทคนิค วิธีการปฏิบัติของโรงเรียนสิ่งใดดีให้ดำรงรักษาไว้ ส่วนข้อบกพร่องให้นำมาปรับปรุง
และปรับเปลี่ยนในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียน
๓.๒) แนวการปฏิบัติขององค์กรที่เทียบวัด จากการศึกษาดูงานและ พาไปศึกษาดูงานในแหล่ง
วิทยาการต่างๆ ควรศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีแล้วนำมาปรับปรุงเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการการศึกษา
เพื่ออาชีพของโรงเรียน
ประการที่ ๔ การปฏิบัติ (Practice) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
๔.๑) การทบทวนนโยบายและการนำสู่การปฏิบัติ จากการที่ได้ไปศึกษาดูงาน และสอบถามกับ
องค์กรชั้นนำในด้านการศึกษาเพื่ออาชีพแล้วนำวิธีที่ดีมาบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
5410
๔.๒) การค้นหาช่องว่างของโรงเรียนกับองค์กรที่เทียบวัด การเทียบวัดวิธีการปฏิบัติหรือความ
พร้อมด้านอื่นๆ การค้นพบช่องว่างในการปฏิบัติระหว่างขององค์กรที่เทียบวัดและของโรงเรียนแล้วนำมา
เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
๔.๓) การค้นหาสิ่งที่เทียบวัด เป็นการเปรียบเทียบการปฏิบัติปัจจุบันกับส่วนที่เทียบวัดกับ
หน่วยงานในด้านการศึกษาเพื่ออาชีพ แล้วนำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพ
ประการที่ ๕ การบูรณาการ (Integration) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
๕.๑) การจัดกิจกรรมที่ใช้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และ
อารมณ์ บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ การเรียนรู้ที่ดีนั้นนักเรียนต้องมีความอยากรู้อยาก
เรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่นักเรียนในการ
แสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี สร้าง
ความพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีและมีคุณค่า ต่อสังคม ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งหรือ ส่วนรวม
มากกว่าส่วนตน
๕.๒) การบูรณาการวิชา โดยการบูรณาการทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือระหว่าง วิชาเชื่อมโยงหรือ
บูรณาการเข้าด้วยกันให้เป็นความรู้แบบองค์รวม
๕.3) การค้นพบด้วยตนเองเป็นสำคัญ บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของ
นักเรียนอย่างแท้จริง
๕.4) การสร้างกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานโดยการส่งเสริมให้นักเรียนวิเคราะห์ถึง กระบวนการ
ต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิผลของงาน โดยให้นักเรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม
ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกันเรียนรู้อย่างมีความสุขและมี
ความหมาย
๕.5) การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและการติดตามผล
การปฏิบัติของนักเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติจริง สามารถนำความรู้ไป
แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
5.6) การจัดการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย เป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนภารกิจหลักใน
การศึกษาเพื่ออาชีพให้บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งต้องจัดระบบการสื่อสาร การกระจายสินค้าสู่การตลาด
ในช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook Line เป็นต้น
ประการที่ ๖ การจัดการคุณภาพ (Total Quality Management ) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ
6.1) การติดตามการประเมินผล การสื่อสารในระบบและเครือข่ายองค์กรอื่น การติดตามผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้น การแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
6.2) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจะต้องมีการ
ปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่เสมอ มีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานโดยมีการวางแผนดำเนิน
การแก้ปัญหา ตรวจสอบผลการแก้ปัญหาและนำวิธีการแก้ปัญหาที่ ได้ผลไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ
6.3) การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ในงานที่ เป็นภาระหน้าที่ ของทุกคนต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับ
มอบหมาย และรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานโดยรวมของทั้งหน่วยงานและขององค์การร่วมกัน11
ขั้นตอนที่ ๔ รายงานผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญ
พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ๓๑
ตุลาคม ๒๕๖2
จากการพัฒนา MONPIT MODEL : รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพและนำรูปแบบที่
ได้มาใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ๓๓ ที่เกิดจากการร่วมกัน
พัฒนาจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
ส่งผลให้นักเรียนชุมนุมการศึกษาเพื่ออาชีพทีมโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม มีทักษะความสามารถและทักษะ
การศึกษาเพื่ออาชีพได้เป็นอย่างดี ภายในทีมมีความรักความสามัคคี นักเรียนชุมนุมการศึกษาเพื่ออาชีพ
มีระเบียบวินัย มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาเพื่ออาชีพมากยิ่งขึ้น นักเรียนโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมให้ความ
สนใจในชุมนุมการศึกษาเพื่ออาชีพมากขึ้น สังเกตได้จากจำนวนนักเรียนที่สมัครเป็นนักการศึกษาเพื่ออาชีพ
ของโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคมมีจำนวนเพิ่มขึ้น อีกทั้งคณะครู บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ชุมชน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความภาคภูมิใจกับผลงานที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการพัฒนา
การศึกษาเพื่ออาชีพและนำรูปแบบที่ได้มาใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพของโรงเรียนขนาด
มอญพิทยาคม ตั้งแต่การวางแผน การสร้างทีม การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการลงมือ
ปฏิบัติแก้ไข ส่งผลให้ทีมการศึกษาเพื่ออาชีพโรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม ได้นำผลงานเข้าร่วมประกวด
แข่งขันต่างๆ ได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค ระดับประเทศดังต่อไปนี้
- นางสาวณิชารีย์ คงสนอง ได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันจักสาน ไม้ไผ่
ระดับชั้น ม.๔-ม.๖ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๘ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
- สถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อ
ประกันคุณภาพ ระดับดีเด่น ประเภทสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี ๒๕๖๑
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ชนะเลิศระดับผลงานดีเยี่ยม การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
ของสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๖๑ ประเภทโรงเรียนที่จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ จากสำนักง
panu 05 เม.ย. 2564 เวลา 21:04 น. 0 610
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^