LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

เผยแพร่ผลงานวิจัย

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
        ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพ
        ตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
        เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน     อุษณา ป้อมลิขิตกุล
ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน พร้อมชุดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)

    ผลการวิจัยพบว่า
            1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
            หลักการของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง
            วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริม
การคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มุ่งเน้นเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะอาชีพโดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน    เนื้อหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความรู้ 2) ขั้นขยายความรู้ 3) ขั้นปรับสมดุลทางปัญญา 4) ขั้นพัฒนาโดยใช้การคิดสร้างสรรค์ และ 5) ขั้นการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
            การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และในระหว่างการดำเนินกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้แบบประเมินโครงงาน การสังเกตการณ์แสดงออกเป็นรายบุคคล การนำเสนอผลงาน เพื่อประเมินการเกิดหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางปัญญา แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
             2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.89 และ 26.54 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียนพบว่า คะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
         3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เพียรเพิ่มอาชีพตามวิถีพอเพียง (CEEDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ข้อ 6 รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถทำให้นักเรียน คิดริเริ่มสิ่งแปลกใหม่ได้ และข้อ 13 รูปแบบการเรียนการสอนนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
( = 4.64, S.D. = 0.49) รองลงมาคือ ข้อ 12 กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ( = 4.61, S.D. = 0.50) และรายการที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ข้อ 9 รูปแบบการเรียนการสอนนี้ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ( = 4.36, S.D. = 0.49)
poyrenu61 24 มี.ค. 2564 เวลา 12:34 น. 0 419
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^