LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาเกาหลี เงินเดือน 15,000 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ – 25 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนบัวใหญ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 18,000 บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 17 – 26 เมษายน พ.ศ.2567

การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางกายภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำ

usericon

โครงงานวิทยาศาสตร์     : ประเภททดลอง
ระดับ     :     ชั้นมัธยมศึกษา (ม.1-3)
ชื่อโครงงาน     : การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างทางกายภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ที่ปนเปื้อนในน้ำของไส้หญ้าปล้อง
ผู้จัดทำโครงงาน     :     1. เด็กหญิงมณีรัตนา จุลคง        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
        2. เด็กหญิงบุญยวีร์     ฟักสุวรรณ         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
        3. เด็กหญิงอัจฉรา     ขาวผ่อง     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ครูที่ปรึกษา    :     นายบารมี อ่ำขำ
         นายสุรพงษ์ แสงคำดี
สถานศึกษา    :     โรงเรียนวัดประชาบำรุง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปีการศึกษา    :     2563
บทคัดย่อ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตปัจจุบันประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหามลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและไขมัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งพืชน้ำสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย คณะผู้จัดทำได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความคิดที่จะทำการศึกษาวัสดุธรรมชาติที่สามารถดูดซับน้ำมันปนเปื้อนในน้ำ โดยการนำไส้หญ้าปล้องที่หาได้ง่ายและมีจำนวนมากในท้องถิ่น มาศึกษาโครงสร้างทางกายภาพของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้งและทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันชนิดต่างๆ ที่ปนเปื้อนในน้ำ เช่น น้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง และหาปริมาณไส้หญ้าปล้องที่ต้องใช้ในการดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดเพื่อช่วยแก้ปัญหาและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำมันปนเปื้อนในครัวเรือน การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 ศึกษาลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง โดยการย้อมสีและไม่ย้อมสี ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการทดลองพบว่าไส้หญ้าปล้องเป็นเนื้อเยื่อพืชที่มีน้ำหนักเบา เนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นเส้นใยเชื่อมกันคล้ายฟองน้ำมีรูพรุน แต่ไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้งมีลักษณะโครงสร้างทางกายภาพที่แตกต่างกัน คือ แบบสดเส้นใยเต่งตึง เห็นรูพรุนชัดเจนกว่า ส่วนแบบแห้งเส้นใยหย่อนมีรูพรุนขนาดใหญ่แต่อยู่ชิดกันแบบหลวมๆย้อมสีไม่ติด
ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ของไส้หญ้าปล้องแบบสดและแบบแห้ง โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำมันที่เหลือหลังการดูดซับด้วยไส้หญ้าปล้องและพิจารณาจากผลต่างของน้ำหนักไส้หญ้าปล้องก่อนและหลังแช่ในน้ำมันชนิดต่างๆ ผลการทดลองพบว่า
น้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบแห้ง เหลือน้อยกว่าน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบสดน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบสด ที่เหลือน้อยที่สุด คือ น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว รองลงมาคือ น้ำมันพืช และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ส่วนน้ำเหลือมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.43, 10.44, 11.46 และ 18.26 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันที่เหลือจากการดูดซับของไส้หญ้าปล้องแบบแห้ง ที่เหลือน้อยที่สุดคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว รองลงมาคือ น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำมันพืช ส่วนน้ำเหลือน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.21, 7.00, 7.25 และ 18.96 ตามลำดับ
ไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันแต่ละชนิดได้ดีกว่าไส้หญ้าปล้องแบบสด ไส้หญ้าปล้องแบบสดดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำมันพืชน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และน้ำเปล่าดูดซับได้น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.25, 7.88, 6.19 และ 9.25 ตามลำดับ ส่วนไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว น้ำมันพืช และดูดซับน้ำเปล่าได้น้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.23, 10.77, 9.72 และ 0.22 ตามลำดับ
ตอนที่ 3 หาปริมาณไส้หญ้าปล้องที่ต้องใช้ในการดูดซับน้ำมันพืช น้ำมันพืชที่ใช้แล้วและน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วที่ปนเปื้อนในน้ำ400 มิลลิลิตรชนิดล่ะ 20 กรัม ดูดซับจนกว่าน้ำมันบนผิวน้ำหมด พบว่า ไส้หญ้าปล้องแบบแห้งดูดซับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ได้ดีที่สุด โดยใช้ไส้หญ้าปล้อง 3 แผ่น 0.60 กรัม ใช้เวลา 15 นาที รองลงมาคือน้ำมันพืชที่ใช้แล้วใช้ไส้หญ้าปล้อง 4แผ่น 0.80 กรัมใช้เวลา20 นาที ส่วนน้ำมันพืชดูดซับได้ช้าที่สุดคือ ใช้ไส้หญ้าปล้อง 5 แผ่น 1.0 กรัม ใช้เวลา 25 นาที
    

surapong648 15 มี.ค. 2564 เวลา 10:04 น. 0 513
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^