LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการอ่าน

usericon

ชื่อเรื่อง การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
ผู้จัดทำ นางสาวกวินนา หอมหวล
โรงเรียน ห้วยทับทันวิทยาคม
ปี พ.ศ. 2562
ประเภทนวัตกรรม ด้านจัดการเรียนรู้

การอ่านถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับสังคมไทย คุณภาพการอ่านของบุคคลในสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญถ้าประชาชนส่วนใหญ่ในชาติมีปัญหาในการอ่าน ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ (สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์, 2548) ดังนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 จึงได้เน้นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เน้นกระบวนการคิดของนักเรียน การได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงเน้นรักการอ่าน และต้องฝึกให้นักเรียนทำได้ คิดเป็นและทำเป็น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เน้นทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ การอ่าน การเขียน การฟังการดูและการพูด หลักการใช้ภาษาวรรณคดีและวรรณกรรม รวมทั้งสมรรถนะสำคัญของนักเรียนด้านความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งเป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และ ทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง สังคมรวมทั้งการเจรจา ต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อพัฒนา นักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจมีความสามารถในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการอ่านนับว่าเป็นหัวใจในการเรียนรู้ ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการอ่านได้จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ กล่าวคือ มีความพร้อมในการอ่าน สามารถใช้สติปัญญาแปลความหมายสิ่งที่อ่านและเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนกับสิ่งที่อ่านได้ ดังนั้น การอ่านจึงมีความจำเป็นและมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ ทำให้ได้รับความรู้ ความคิด ตลอดจนแนวทางในการดำรงชีวิตทุกแง่ทุกมุม ทางอ้อม คือ ทำให้เขียนหนังสือไม่ผิด ช่วยให้อ่านหนังสือได้คล่องแคล่ว และมีนิสัยรักการอ่าน (กรมวิชาการ, 2545 : 7) การอ่านเป็นทักษะสำคัญ เพราะสามารถช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้อง สำหรับนักเรียนวิชาต่าง ๆ ทุกสาขานักเรียนจะใช้ทักษะการอ่าน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่ง ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีรุดหน้าไปเรื่อย ๆ มีการวิจัยสิ่งที่แปลกใหม่ตลอดเวลา การอ่านจะทำให้ผู้อ่านรู้ข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของ โลก ตลอดทั้งทำให้การดำรงชีวิตประจำวันเป็นปรกติสุขและมีคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรที่กำหนดนั้นสถานศึกษาจะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิดการเผชิญสถานการณ์ การจัดกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานการเรียนรู้ต่าง ๆ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งการใช้วิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลจัดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่(กระทรวงศึกษาธิการ,2553)
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีนโยบายที่สำคัญเพื่อเร่งแก้ปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทยเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนต่อเนื่องจากปี 2550 เนื่องจากปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้สาระอื่นพร้อมทั้งเร่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในปีงบประมาณ 2551 ให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่2 อ่านคล่องเขียนคล่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2553)
การส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนตลอดจนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสามารถดำเนินการประสบผลสำเร็จเพียงใดต้องอาศัยผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์และสนใจงานด้านการอ่านอย่างจริงจังทั้งในแง่การเป็นคนรักการอ่านและเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน เพราะการอ่านและเข้าใจความสำคัญของการอ่านจะทำให้ผู้บริหารวางนโยบายเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีทิศทางชัดเจนรวมทั้งช่วยหนุนให้บุคลากรคนทำงานมีกำลังใจในการทำงานพร้อมที่จะผ่านอุปสรรคในการทำงานให้ลุล่วงไปสู่ผลสำเร็จ การอ่านนั้นมีหลายระดับ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจเนื้อหาและสามารถรู้ เข้าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านนั้น ๆ ได้ การแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการอ่านเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการอ่านให้มีความภาคภูมิใจในตนเองมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรียนรู้กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอีกทางหนึ่ง
งานวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการอ่านมักอ้างถึงทฤษฎีการกำหนดการกระทำด้วยตนเอง (Self-determination theory) ของ Ryan และ Deci (2000) ซึ่งอธิบายแนวโน้มพัฒนาการและความต้องการภายในทางจิตวิทยาซึ่งเป็นพื้นฐานของแรงจูงใจและบุคลิกภาพของบุคคล รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการเสริมสร้างกระบวนการ การอ่านของนักเรียนเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก นักเรียนที่มีแรงจูงใจภายในจะสำรวจโลกการอ่านเพื่อค้นหาหัวข้อที่ตนเองสนใจและมีแนวโน้มจะเป็นนักอ่าน มีความเพียรในการอ่าน แม้เนื้อหาที่อ่านจะมีความยาก และพยายามเสริมสร้างทักษะในการอ่านต่าง ๆ เพื่อการทำความเข้าใจ ความต้องการในการเอาชนะในความท้าทายของการอ่านทำในเกิดความเพลิดเพลินและความก้าวหน้าในทักษะการอ่าน สิ่งที่ได้รับจากการอ่านทั้งในด้านความรู้และความรู้สึกพึงพอใจ ทำให้ผู้อ่านใช้เวลามากขึ้น ผู้อ่านเหล่านี้จัดได้ว่ามีแรงจูงใจในการอ่านและกลายเป็นผู้กำหนดการทำกิจกรรมการอ่านด้วยตนเอง (Wang and Guthrie,2004) ส่วนแรงจูงใจภายนอกซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการหรือค่านิยมที่มาจากภายนอก (Ryan and Deci,2000) เช่น นักเรียนทำกิจกรรมการอ่านเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษหรือต้องการทำตามความคาดหวังของผู้ปกครองและครู การกระทำดังกล่าวมาจากแรงจูงใจภายนอกเพราะความต้องการที่จะอ่านถูกควบคุมโดยปัจจัยที่มาจากภายนอก นอกจากนี้การอ่านที่เกิดจากแรงจูงใจภายนอกจะไม่ได้เกิดจากความสนใจของตนเองแต่เกิดจากความต้องการที่จะได้รับผลลัพธ์ที่เป็นค่านิยมทางสังคม เช่น เพื่อให้ได้เกรดสูง การได้รับการยอมรับจากผู้อื่นหรือเพื่อให้ได้ทักษะที่ต้องการ ผู้อ่านเหล่านี้จะอ่านเพราะการอ่านเป็นวิถีทางของการแสดงถึงความเป็นเลิศและเพื่อพิสูจน์ความรู้สึกเกี่ยวกับความมีคุณค่าในตนเองซึ่งในที่สุดผู้อ่านอาจจะมีพฤติกรรมที่เกิดจากค่านิยมทางสังคมภายในตนเองและการอ่านจะถูกบูรณาการเข้ากับความรู้สึกความเป็นตัวตนของเขา
จากผลการวิจัยดังกล่าวการอ่านของนักเรียนเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก นักเรียนที่มีแรงจูงใจจะมีความเพียรในการอ่าน แม้เนื้อหาที่อ่านจะมีความยาก แต่จะพยายามเสริมสร้างทักษะในการอ่านต่าง ๆ เพื่อการทำความเข้าใจ ความต้องการในการเอาชนะในความท้าทายของการอ่านทำในเกิดความก้าวหน้าในทักษะการอ่าน กลายเป็นผู้กำหนดการทำกิจกรรมการอ่านด้วยตนเอง
กาญจนา ทันอินท์อาจ (2550) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อนิสัยการอ่านของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อศึกษานิสัยการอ่าน ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อนิสัยการอ่านและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์นิสัยการอ่านจากคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดนิสัยการอ่าน แบบทดสอบบุคลิกภาพ การปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศ (STRI) แบบวัดความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง แบบวัดระดับการคิดที่แท้จริง และแบบสำรวจการเรียนรู้ ผลการศึกษาเมื่อทำการเปรียบเทียบนิสัยการอ่านโดยใช้สถิติทดสอบ Kruskal Wallis พบว่า การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางโรงเรียน บุคลิกการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเนื่องจากสิ่งแวดล้อม ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง และระดับการคิดที่แท้จริงต่างกันส่งผลให้มีนิสัยการอ่านที่แตกต่างกัน ส่วน เพศ บุคลิกภาพ การปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว และรูปแบบการเรียนที่ต่างกันมีนิสัยการอ่านไม่แตกต่างกัน การได้รับการส่งเสริมการอ่านจากทางบ้านและจากโรงเรียน บุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเนื่องจากสิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อความเป็นเลิศจากลักษณะนิสัยเฉพาะตัว ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองการคิดแท้จริงระดับร่วมพัฒนา รูปแบบการเรียนแบบ Sensor thinker , Sensor feeler, intuitive thinker และแบบ intuitive feeler มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรนิสัยการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่เพศ และการคิดแท้จริงระดับอิสระ มีความสัมพันธ์กับนิสัยการอ่านอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทำนายที่ดีที่สุดของนิสัยการอ่าน ได้แก่ รูปแบบการเรียนแบบ intuitive thinker การส่งเสริมการอ่านจากทางบ้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง การส่งเสริมการอ่านจากโรงเรียน และรูปแบบการเรียนแบบ Sensor thinker โดยตัวแปรทำนายทั้ง 5 ตัวเมื่อสร้างเป็นสมการทำนายมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .59 และสามารถร่วมกันทำนายนิสัยการอ่านได้ร้อยละ 35.1
จากผลการวิจัยดังกล่าวรูปแบบการเรียนที่ใช้กระบวนการในการคิดมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อนิสัยการรักการอ่าน
ปัจจุบันนี้การสอนอ่านยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนมีชั่วโมงสอนมาก มีภาระอื่น ๆ ต้องรับผิดชอบ ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ครูขาดเทคนิควิธีสอน ไม่รู้จิตวิทยาสำหรับเด็ก เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ไม่มีความพยายามในการแสวงหาความรู้หรือพัฒนาตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ให้ความสำคัญในการเรียน ทำให้ขาดทักษะที่จำเป็นในการหาความรู้ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีการกำหนดและวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครูผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยกำหนดค่าเป้าหมายการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนต้องได้ 3.75 ขึ้นไป และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.57 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากการรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวทำให้ผู้สอนทราบว่านักเรียนขาดทักษะการอ่านที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ แต่ผลการประเมินการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม มีผลการประเมินสูงกว่าระดับประเทศต่อเนื่อง 3 ปี (รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปี 2562 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม , 2562) โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มบริหารที่ให้ความสำคัญกับนักเรียน ส่งเสริมให้มีการติวเข้มเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นแนวทางการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน โดยอิงจากรูปแบบและวิธีการติวเข้ม ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จัดกลุ่มผู้เรียนเพื่อระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา ให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และเพิ่มความท้าทายด้วยปัญหาที่ต้องอาศัยทักษะการอ่าน อ่านคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และความรู้รวบยอด การแข่งขันที่หลากหลาย และการสะท้อนผลอย่างทันท่วงที จึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
จากความสำคัญของปัญหาและแนวคิดในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนดังกล่าวผู้วิจัยได้ศึกษาและสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ทฤษฎี แนวคิด เอกสารต่าง ๆ เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่จะช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านของนักเรียน ได้แก่ 1. เอกสารการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,2557) 2. ทฤษฎีแรงจูงใจในการอ่าน (Motivational theory) 3.ทฤษฎีการกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ของ Bloom เป็นแนวคิดในการสอนอ่าน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสอนอ่านจับใจความได้เป็นอย่างดี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบที่เน้นกระบวนการคิด (Thinking Skills) จนได้เป็นแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบในการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน “TABLE MODEL” ส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดประสิทธิผลทางการเรียนภาษาไทยต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^