LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียน
คำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์

ชื่อผู้วิจัย     นางสาวอัจฉราภรณ์ ทุมทน
         ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สังกัด         โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์
         เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ 3) แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนมีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำคล้องจอง คือทักษะการอ่าน การเขียน นักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านทักษะการอ่าน การเขียน ในรูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด คือ กิจกรรม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล มีภาพ เสียง มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และไม่จำกัดเวลาเรียน
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.90/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
     3. การศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น พบว่า
        3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง เท่ากับ 0.8051 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 80.51
     4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำคล้องจอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58
innova 02 มี.ค. 2564 เวลา 01:28 น. 0 379
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^