LASTEST NEWS

16 เม.ย. 2567โรงเรียนบ้านลานช้าง รับสมัครนักการภารโรง วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 เมษายน 2567 15 เม.ย. 2567เปิดคุณสมบัติ ตำแหน่งนักการภารโรง สพฐ.จัดสรร 13,751 อัตรา วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000 บาท 15 เม.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) 15 เม.ย. 2567ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ห้ามผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งให้ครู-บุคลากร อยู่เวร 15 เม.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ แจ้งเรื่อง การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ. 2567  14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระแก้ว เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 1 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.เชียงราย เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงราย เขต 4 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 1

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย

usericon

วิจัยเรื่อง :    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย :    นางสาววรรณภา หล้าหิบ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ

    การวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ 2.2 ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2.3 ศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลพรเจริญ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีนักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ภายในชั้นเรียนเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ใช้เวลาดำเนินการ จำนวน 12 ชั่วโมง ไม่นับรวมทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยทดลองสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง รูปแบบที่ใช้ในการทดลอง คือ One Group Pre-test Post- test Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อทดสอบแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ( %) ค่าเฉลี่ย ( x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t - test แบบ Dependent
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.12/86.95 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
    2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    2.2 ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 91.66 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป
    2.3 ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก ( x-bar=4.06 S.D. = 0.66)


wannapalahip 26 ก.พ. 2564 เวลา 23:22 น. 0 331
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^