LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย        นางจินตนา เงินสมบัติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา     ภาคเรียนที่ 1/2562

บทคัดย่อ
     การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและ ความต้องการในการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อประเมินผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาได้มาโดยการได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามครูผู้สอน 2) แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 3) เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) คู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 6) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน เรื่องAmazing Photharam 7) แบบประเมินคุณภาพอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบสมมุติฐานแบบ t-test dependent Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)





สรุปผลการวิจัย
1.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาจากการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สาระความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ด้านหลักการของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อสร้างความรู้จากการปฏิบัติด้วยการมีปฏิสัมพันธ์จากการร่วมมือกันเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบโดยมีรูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาความสามารถในการสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
1.2 ด้านกระบวนการเรียนการสอนเป็นการสอนแบบ Sakce Model มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulation : S) )2) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action Learning : A) (3) ขั้นถ่ายโยงความรู้(Knowledge transfer : K) (4) ขั้นสร้างความรู้ (Communication : C) (5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) การเรียนโดยการประเมินเป็นรายบุคคล และประเมินเป็นกลุ่มทำให้เกิดความเข้าใจได้สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน เป็นสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมและทักษะการปฏิบัติงานดี
     1.3 ด้านความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ดีควรมีเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก สามารถคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความแตกต่างของบุคคล
    2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่ามีค่าประสิทธิ์ภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เท่ากับ 83.00/84.14
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่อง Amazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
    4. ผลการประเมินการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เรื่องAmazing Photharam อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.86


jenety2009 26 ก.พ. 2564 เวลา 10:57 น. 0 318
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^